สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2542 และได้เปิดดำเนินมากว่า 23เกษตรกรกว่า 5 ล้านคน ขึ้นทะเบียนหนี้ 5 .29 แสนราย มีจำนวนองค์กรเกษตรกรกว่า 5 หมื่นองค์กร ช่วงที่ผ่านมาถึง ณ ปัจจุบัน กองทุนฯ สามารถชำระหนี้แทนเกษตรกรได้ 32,464 ราย 32,923 สัญญา จำนวนเงินกว่า 9,157 ล้านบาท รักษาที่ดินให้แก่สมาชิกได้ 25,212 แปลงรวม 174,219 ไร่ โอนหลักประกันคืนให้เกษตรกร 11,373 แปลง 84,636 ไร่ และเกษตรกรชำระหนี้คืนกองทุนฯแล้วกว่า 2,227 ล้านบาท
นายจารึก บุญพิมพ์ ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันสถานะทางการเงินของสำนักงานกองทุนฯ มีเงินอยู่ในบัญชี 129 ล้านบาท ซึ่งจะขออนุมัติจากคณะกรรมการ(บอร์ด) กฟก.ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ที่จะมีการประชุมหลังวันที่ 20 ธันวาคมนี้ เพื่อขออนุมัติใช้งบซื้อหนี้เกษตรกร 100 ล้านบาทก่อนในระหว่างที่กำลังรองบกลางปีงบประมาณ 2566 จำนวน 3,400 ล้านบาท
ทั้งนี้มีแผนการซื้อหนี้จากเกษตรกร 7,545 ราย 10,334 สัญญา จำนวนเงิน 3,602 ล้านบาท โดยจะของบใน 2 ไตรมาสแรกจากงบกลาง 2,900 ล้านบาท ซึ่งหากใช้หมด สำนักงบประมาณให้ตั้งงบเข้าไปใหม่เพราะมีกรอบวงเงินอยู่แล้ว
“ในปีงบประมาณ 2565 ทางกองทุนฯได้รับงบจากงบกลางที่ได้รับการจัดสรรมา 1,500 ล้านบาท ซึ่งใช้ซื้อหนี้เพียงอย่างเดียวก็หมดแล้ว โดยสามารถซื้อหนี้ได้ 1,367 ราย ส่วนใหญ่เป็นหนี้สหกรณ์ 87.9% ส่วนที่เหลือเป็นหนี้ธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคล”
นายจารึก กล่าวถึง ผลการดำเนินงานปรับโครงสร้างหนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธอส. และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยแนวทางการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ จะพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ50) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่เกิน 15 ปี
เมื่อเกษตรกรชำระหนี้คืนเสร็จสิ้นแล้ว เงินต้น (ร้อยละ 50 ที่พักไว้) และดอกเบี้ยที่พักไว้ จะยกให้เกษตรกรทั้งหมด โดยสถาบันเจ้าหนี้จะได้รับการชดเชยเงินต้นจากรัฐบาล ทั้งนี้มีผู้มารายงานตัวแล้ว ณ วันที่ 7 ธ.ค. 2565 จำนวน 21,045 ราย คิดเป็น 42.24% จากจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 50,621 ราย ส่วนผู้ที่ไม่มารายงานตัวอาจมาจากเสียชีวิตการย้ายถิ่นฐาน และอื่นๆ ทำให้หาคนกลุ่มนี้ไม่เจอ ขณะเดียวกัน 4 ธนาคารรัฐ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติผลการหารือโดยคณะกรรมการของแต่ละธนาคารจะให้ความเห็นชอบภายในเดือน ธันวาคมนี้ เพื่อกำหนดแนวทางเสนอ ครม. ผ่านสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อพิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง
“ธ.ก.ส.โดยส่วนตัวก็เป็นมิตรกัน เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ก็อยากให้เข้าใจอาชีพเกษตรกรว่า เป็นอาชีพที่ใช้แรงงาน ไม่มั่นคง บางปีเจอภัยแล้ง บางปีน้ำท่วม ทำให้ประสบปัญหาการขาดทุนและค้างชำระหนี้ ธนาคารก็จะฟ้องบังคับคดีอย่างเดียว ก็ขอให้เห็นใจ ขณะที่บางครั้งเจอภัยธรรมชาติก็กู้มาซ่อมแซมบ้าน เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ก็แนะนำให้มากู้เงิน บางคนไม่เข้าใจมองว่าทำไมกู้เงินมาซ่อมแซมบ้านได้ แต่ทำไมใช้หนี้ค้างชำระจากการทำเกษตรไม่ได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน”
อย่างไรก็ดีตามเงื่อนไขตามกฎหมายกองทุน กฟก.จะเข้าไปซื้อหนี้ได้ ต้องเป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ว่าจะเป็นด้านพืช หรือด้านปศุสัตว์ โดยอยากฝากเกษตรกรที่มีหนี้แล้วมาขึ้นทะเบียนรอการซื้อหนี้ของกองทุนฯ ขอให้มีความเชื่อมั่นต่อขบวนการฟื้นฟู อย่าไปหลงเชื่อและเป็นเบี้ยล่างให้มิจฉาชีพมาหลอกได้ เช่นมาพูดว่าจะซื้อหนี้ให้ แต่ต้องเอาเงินมาก่อน โดยแอบอ้างว่ารู้จักประธานหนี้ และจะช่วยเชียร์ให้ ทั้งนี้ขอให้มีความมั่นใจในกระบวนการซื้อหนี้จะมีคณะกรรมการตรวจสอบมีความโปร่งใส และมีที่มาที่ไปชัดเจ
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,844 วันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2565
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.