ภาษีที่ดินในสังคมไทย
เพราะเหตุใด สังคมไทยสมควรมีภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า
ที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ที่ดินจึงมีคุณค่าและมีความสำคัญมากสำหรับอาชีพเกษตรกร น่าเสียดายที่เกษตรกรไทยจำนวนมากยังขาดแคลนที่ดินทำกิน อันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญนี้ ถึงแม้ปัจจุบันสัดส่วนของประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะลดลง แต่สำหรับประเทศไทยสัดส่วนของประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในปี 2549 ยังมีอยู่ถึงร้อยละ 39 น่าตกใจที่พบว่า เกษตรกรไทยร้อยละ 40 ในจำนวนนี้ เป็นผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินทำกินน้อยกว่า 10 ไร่ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ตารางแสดงจำนวนการถือครองที่ดินของเกษตรกรในสังคมไทย
ภูมิภาค |
จำนวนครัวเรือน |
|||||||
ไม่มีที่ดินเลย |
น้อยกว่า 2 ไร่ |
ระหว่าง 2-4ไร่ |
ระหว่าง 5-9ไร่ |
ระหว่าง 10-19 ไร่ |
ระหว่าง 20-39 ไร่ |
มากกว่า 40 ไร่ |
รวม |
|
กรุงเทพฯ |
3,849 |
527 |
545 |
1,497 |
1,407 |
- |
1,015 |
8,840 |
กลาง |
185,367 |
31,510 |
31,195 |
60,982 |
91,528 |
92,425 |
79,586 |
572,593 |
เหนือ |
335,217 |
46,758 |
81,530 |
138,060 |
186,246 |
173,416 |
105,557 |
1,066,784 |
ตะวันออก เฉียงเหนือ |
197,962 |
37,358 |
95,543 |
261,442 |
563,516 |
529,485 |
162,587 |
1,847,893 |
ใต้ |
27,204 |
17,179 |
48,565 |
121,801 |
171,221 |
134,748 |
53,400 |
574,118 |
รวม |
749,599 |
133,332 |
257,378 |
583,782 |
1,013,918 |
930,074 |
402,145 |
4,070,228 |
ร้อยละของทั้งประเทศ |
18.42 |
3.28 |
6.32 |
14.34 |
24.91 |
22.85 |
9.88 |
100.00 |
ร้อยละของทั้งประเทศ |
42.36 |
24.91 |
22.85 |
9.88 |
100.00 |
ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน 2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ตารางที่ดินนักการเมือง
ตารางที่ดิน 50 รายแรก ใน 8 จังหวัด
จะเห็นว่า การกระจายการถือครองที่ดินในสังคมไทย มีความเหลื่อมล้ำสูง ระหว่างคนที่มีฐานะดี มีทรัพย์สินหรือถือครองที่ดินจำนวนมาก กับคนที่มีฐานะยากจน ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือผู้ที่มีทรัพย์สินหรือมีที่ดินถือครองจำนวนน้อยหรือไม่มีเลย ภาษีที่ดินจึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่สำคัญ ที่สมควรถูกนำมาใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ และกระจายผลประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศอย่างเป็นธรรม และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ภาษีที่ดินและภาษีทรัพย์สิน
การจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน มีการจัดเก็บใน 3 ลักษณะหรือ 3 ฐานด้วยกัน ฐานแรกเป็นฐานรายได้ ที่เรียกกันว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเก็บจากรายได้ ใครรายได้มาก จ่ายภาษีมาก ใครรายได้น้อย จ่ายภาษีน้อยหรืออาจไม่เสียเลย ฐานที่สองคือฐานภาษีที่เก็บจากการบริโภค ใครบริโภคมาก ซื้อของมาก จ่ายภาษีมาก เช่น ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าเหล้าสุราและบุหรี่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เก็บจากสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ที่เราเสียอยู่ปัจจุบัน 7 % ฐานที่สามเรียกว่าฐานภาษีทรัพย์สิน เก็บจากทรัพย์สิน ใครมีทรัพย์สิน ที่ดิน มรดกจำนวนมาก จ่ายภาษีมาก ใครมีทรัพย์สิน ที่ดิน มรดก จำนวนน้อย เสียภาษีน้อยหรือไม่เสียเลย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการจัดเก็บภาษีจากฐานทรัพย์สินนี้อย่างแท้จริง ภาษีที่ใกล้เคียงมากที่สุด คือภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.) เป็นภาษีที่ดิน ที่จัดเก็บในอัตราที่ต่ำและใช้ราคาประเมินย้อนหลังไปถึง 30 ปี
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ใช้ค่าเช่ารายปีจากทรัพย์สิน เป็นฐานจัดเก็บภาษี หากที่ผ่านมาจัดเก็บได้น้อย เพราะมีกรณีการยกเว้นลดหย่อนค่อนข้างมาก อีกทั้งปัญหาสำคัญคือไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานแน่ชัดว่าค่าเช่ารายปีของแต่ละพื้นที่ควรจะเป็นเท่าไร
ส่วนภาษีบำรุงท้องที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 จัดเก็บโดยใช้ราคาปานกลางของที่ดินเป็นฐานภาษี ตามหลักการควรจะมีการประเมินราคาที่ดินทุก 4 ปี เพื่อที่จะนำมาเป็นฐานภาษีที่เหมาะสม แต่ภาษีบำรุงท้องที่ปัจจุบัน ใช้ราคาปานกลางของที่ดิน ปี 2521-2524 ซึ่งย้อนหลังไปถึง 30 ปี
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถูกผลักดันจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตัวนี้ เป็นภาษีที่จะถูกนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะจัดเก็บจากฐานภาษีมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ ใช้ทำเกษตรกรรม มีเพดานภาษีเก็บไม่เกินร้อยละ 0.05 หากใช้เป็นที่อยู่อาศัย เก็บไม่เกินร้อยละ 0.1 หากใช้ในเชิงพาณิชย์ เก็บไม่เกินร้อยละ 0.5 หากไม่ใช้ประโยชน์ใดๆ ปล่อยให้ทิ้งร้าง เก็บไม่เกินร้อยละ 0.5 อีก 3 ปีถัดมา หากยังไม่ใช้ประโยชน์อีก ให้เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1 และอีก 3 ปีต่อไป หากยังไม่ใช้ประโยชน์ ให้เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 เพดานภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จะหยุดอยู่ที่ร้อยละ 2
เงินภาษีนี้ ไม่ได้จัดเก็บในอัตราที่มาก จนกระทั่งส่งผลกระทบกับคนฐานะยากจน ยกตัวอย่างในทางรูปธรรม หากที่ดินมูลค่า 1,000,000 บาท (1 ล้านบาท) ใช้ทำเกษตรกรรม เก็บภาษีไม่เกินร้อยละ 0.05 หรือ 500 บาทต่อปี หากที่ดินมูลค่า 500,000 บาท ใช้ทำเกษตรกรรม จะเสียภาษีไม่เกิน 250 บาทต่อปี
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่จัดเก็บ และสามารถนำรายได้จากภาษีนี้ไปใช้ประโยชน์ตามความจำเป็นของท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ท้องถิ่นมีหน้าที่และภาระผูกพันในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาในพื้นที่
วัตถุประสงค์หลักของภาษีที่ดินตัวนี้ คือเพื่อเป็นมาตรการสร้างรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งที่คาดว่าจะได้ตามมาคือ จะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จะถูกเก็บภาษีที่สูงกว่า หากทั้งนี้ต้องมีคณะกรรมการและมาตรการเสริมในการตรวจสอบลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ว่าเป็นจริงตามที่ได้แจ้งประเภทเพื่อให้มีการจัดเก็บภาษีหรือไม่ เพื่อป้องกันการแจ้งเก็บภาษีที่ดินไม่ตรงตามประเภทการใช้ประโยชน์ เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพียงปลูกกล้วยไม่กี่ต้น จะขอแจ้งจัดเก็บภาษีที่ดิน ประเภทที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ได้
ภาษีที่ดินและภาษีทรัพย์สินในต่างประเทศ
ในทุกปี คนฝรั่งเศสจะต้องส่งบัญชีแสดงทรัพย์สินของตนเองให้กับรัฐบาล ทรัพย์สินเหล่านี้รวมถึงรถยนต์ ที่ดิน เพชร ทอง รูปภาพราคาแพง หุ้น และเรือยอร์ช โดยรัฐบาลจะจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน หรือภาษีความมั่งคั่ง (Wealth tax) เหล่านี้ในอัตรา 0-1.8 % รายได้จากภาษีทรัพย์สินประเภทนี้ คิดเป็นร้อยละ 10 ของรายได้ภาษีทั้งหมดของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนับว่าสูงมาก
รัฐบาลอินโดนีเซียเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 ในอัตราเดียวคือร้อยละ 0.5 ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากกำหนดให้คิดภาษีในสัดส่วน 20 % ของมูลค่าที่ดิน ทำให้คำนวณแล้ว อัตราที่แท้จริงคือร้อยละ 0.1 ของมูลค่าที่ดิน แต่หากที่ดินมีมูลค่าสูงเกิน 1 พันล้านรูเปีย (ประมาณ 3 ล้านบาทไทย) ให้คิดภาษีในสัดส่วน 40 % ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน
ประเทศญี่ปุ่น จัดเก็บภาษีที่ดินและทรัพย์สิน 2 ประเภท ประเภทแรกคือที่ดิน ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองที่มีแผนจะถูกพัฒนา เก็บภาษีไม่เกินร้อยละ 0.3 ส่วนประเภทที่สอง ภาษีที่ดินทั่วไปเก็บในอัตรามาตรฐานร้อยละ 1.4 โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.1
ประเทศเกาหลีใต้ จัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ในอัตราคงที่ที่ต่ำ และจัดเก็บภาษีที่ดินที่มีราคาแพงหรือหรูหรา ในอัตราคงที่ที่สูงกว่า และจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการพาณิชย์ที่มีมูลค่ารวมมากกว่าหรือเท่ากับ 500 ล้านวอนในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.