ทัศนะต่อประเด็นการเก็บภาษีที่ดิน
ภาครัฐ: หลักการจัดทำกฎหมายภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน โดยเฉพาะการเก็บภาษีในส่วนของที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ ให้เสียภาษีไม่เกิน0.5%ใน3ปีแรก หากไม่ได้ทำประโยชน์อีกกำหนดให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก1เท่าในทุกๆ3ปี แต่ไม่เกิน2%ของฐานภาษี ทั้งนี้ยังไม่เห็นการประเมินตัวเลขของฐานภาษีที่รัฐจะเก็บได้จากที่ดินที่ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือกลุ่มใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี การนิยามความหมายการใช้ประโยชน์ในที่ดิน รวมถึงแนวทางที่ชัดเจนในการนำงบประมาณจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาจัด ตั้งเป็นธนาคารที่ดิน
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย : เป็นเรื่องดี พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ผ่านมติครม.มา แล้ว แต่จะนำไปสู่หลักการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้จริงหรือไม่ ต้องรอดูในระยะต่อไป ว่าจะมีการผลักดันเรื่องนี้ อย่างต่อเนื่องหรือไม่ ปีที่ผ่านมาเราได้ร่วมกับนักวิชาการศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดิน ซึ่งมีข้อเสนอเรื่องภาษีทีดิน โดยให้มีการนำรายได้จากภาษีที่ดินส่วนหนี่ งมาจัดซื้อที่ดินให้กับเกษตรกรยากจนและคนไร้ที่ดิน และส่วนหนึ่งควรนำมาปรับเปลี่ยนระบบการใช้ที่ดินของเกษตรกรในท้องถิ่นให้มี ความมั่นคงทางรายได้และสมดุลทางนิเวศน์ เพื่อไม่ให้ที่ดินหลุดมืออีกต่อไป ในระดับชาติควรมีการจัดตั้งธนาคารที่ดินโดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณการดำเนิน การและนำรายได้ส่วนหนึ่งจากภาษีที่ดินไม่น้อยกว่า 2% มาสมทบ ทั้ง นี้รัฐบาลควรดำเนินมาตรการด้านภาษี ควบคู่ไปกับมาตรการอื่นในการกระจายการถือครองที่ดิน เช่น การรับรองสิทธิ์ที่ดินคนจนที่ทับซ้อนกับรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชน การเร่งปฏิรูปและจัดสรรที่ดินให้คนจน และการนำที่ดินป่าสงวนที่หมดสัญญาเช่าจากเอกชนมาจัดสรรให้กับคนจนไร้ที่ดิน
ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทำงานศึกษาโครงสร้างระบบภาษี มาตรการการเงินการคลังและแนวทางการจัดตั้งธนาคารที่ดิน : เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง การ จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นการจัดเก็บภาษีที่มีความเหมาะสม เพราะคนที่มีทรัพย์สิน เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะต่าง ๆ ของรัฐ จึงควรจะเป็นผู้รับภาระทางภาษี ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็มีกำลังที่จะจ่ายภาษีให้กับรัฐได้ด้วย นอกจากนั้นรายได้จากภาษีที่ดินฯ จะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะนำไปพัฒนาท้อง ถิ่นของตนเองต่อไป การจัดเก็บภาษีที่ดินฯนี้จะนำไปสู่การกระจายการถือครองที่ดินได้มากน้อย เพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ การใช้มาตรการทางภาษีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของ การถือครองที่ดินได้ทั้งหมด รัฐบาลจะต้องมีมาตรการและเครื่องมืออื่น ๆ เข้ามาร่วมสนับสนุนด้วย และได้เสนอว่าธนาคารที่ดิน ควรเป็นองค์กรอิสระบริหารในรูปแบบองค์การมหาชนไม่แสวงหากำไร เพื่อเป็นกลไกพิเศษที่ทำ หน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกร รายย่อย รวมทั้งที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยของคนจนเมืองและชนชั้นกลางระดับล่าง รวมถึงในระยะยาวให้รัฐบาลผลักดันให้มีพระราชบัญญัติธนาคารที่ดินเพื่อยก ระดับกองทุนธนาคารที่ดินให้เป็นองค์การมหาชนที่มีการบริการจัดการอย่างเป็น อิสระ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
นายประยงค์ ดอกลำไย คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย : พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ผ่านมติครม.เป็นมาตรการที่ดีที่จะทำให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินรกร้างและส่งเสริมให้มีการลงทุนทำการเกษตร เช่น การให้เช่าที่ดินเพื่อการเกษตร แต่ หมายความว่าที่ดินก็ยังไม่ตกถึงมือเกษตรกรคนไร้ที่ดินอยู่ดี จึงถือว่ายังไม่ได้เป็นมาตรการทางภาษีที่มีอัตราก้าวหน้าที่มากพอที่จะแก้ไข ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดิน ดังนั้นถ้าจะทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน เงินภาษีที่เก็บได้ต้องนำมาจัดทำเป็นกองทุนธนาคารที่ดิน และต้องดำเนินการควบคู่ไปกับนโยบายโฉนดชุมชนเพื่อให้เกษตรกรรักษาที่ดินไว้ ได้ในระยะยาว
เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างการปฏิรูปสังคมร่วมกันได้จริง ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน ซึ่งต้องทำให้เกิดกองทุนธนาคารที่ดิน การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า และปฏิรูปที่ดินในแนวทางโฉนดชุมชน
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.