คดีคนจน:การเข้าถึงความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
กล่าวนำ
หากจะกล่าวถึงปัญหาสภาพที่ดินป่าไม้ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสภาพของปัญหายังคงมีกรณีการแย่งชิงทรัพยากร ธรรมชาติ(ที่ดิน)ในระดับรุนแรงมากบ้างน้อยบ้างตามสภาพของปัญหาในแต่ละ พื้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งในแนวทางนโยบายของการแก้ไขปัญหา ไม่อาจมองข้ามสภาพของพื้นฐานดั่งเดิมที่แท้จริงได้
และ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ้างอิงพื้นฐานความเป็นจริงของชุมชน ผนวกเข้ากับแนวทางของการแก้ไขปัญหา ดังนั้นไม่ว่าวิถีแห่งการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย หรือแนวทางในการต่อสู้ในกระบวนการต่างๆจากภาครัฐนั้น ผู้ถูกกระทำอย่างชุมชน ราษฎรทั้งหลายเหล่านี้ จึงต้องหยิบยกสิทธิของตน ชุมชน วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตต่างๆมาเป็นข้อต่อสู้เรียกร้อง หรือเป็นประเด็นในการตั้งต้นข้อต่อสู้กับภาคส่วนต่างๆของรัฐ หรือของภาคธุรกิจเอกชน
ดังนั้นโจทย์ที่สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ ต้องการให้เครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ประมวลภาพหรือสะท้อนภาพในมิติของปัญหาการดำเนินคดีกับคนจน ในเรื่องที่ดินป่าไม้ คดีสิ่งแวดล้อม(คดีโลกร้อน) และในการเข้าถึงกระบวนยุติธรรม โดยการนำภาพสะท้อนของภูมิหลังในข้อเท็จจริงของพื้นที่ กับประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการหยิบมาใช้กับประเด็นปัญหา และก่อเกิดอุปสรรคอย่างไรในการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมนั้น
ภาพภูมิหลังของสภาพพื้นที่กับการต่อสู้กับภาครัฐ(สิทธิอันชอบธรรม)
เมื่อเริ่มต้นพูดเรื่องที่ดิน มักจะพูดกันถึงประเด็นแห่งสิทธิของตน(ชุมชน)ที่ใช้อ้างเพื่อเป็นข้อต่อสู้ กับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแสดงถึงความชอบธรรม(อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่รัฐกล่าว อ้าง) ฝ่ายราษฎรพยายามอ้างอิงแหล่งที่มาถิ่นฐานว่ามีการดำรงคงอยู่ในความเป็นมา เป็นไปเช่นไร ฝ่ายรัฐอ้างอิงความเป็นกฎหมายต่างๆเข้ามาอธิบาย และฝ่ายเอกชน(ภาคธุรกิจที่ดิน)พยายามอ้างอำนาจตามกฎหมายที่พวกตนได้รับจาก รัฐ ดังนั้นเมื่อแต่ละฝ่ายมีความเชื่อในความชอบธรรมที่แตกต่างกันไป มันจึงนำมาสู่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงประโยชน์ที่ตนควรมีและได้รับนั้น
กระบวนการต่อสู้ของภาคประชาชนจึงอ้างอิงฐานที่มั่นของตน ด้วยการอธิบายถึงถิ่นฐานของตนว่าสืบทอดตกทอดมาจากบรรพบุรุษแต่ดั่งแต่เดิม บ้าง หรือเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานจากในอดีตต่างๆเช่นด้วยเงื่อนไขของการแสวงหาถิ่น ฐานที่อุดมสมบูรณ์หรือเกิดการขยายฐานทางประชากร หรือถูกทำให้ต้องอพยพตามเงื่อนไขของภาครัฐ(กรณีประเด็นปัญหาคอมมิวนิสต์) ทั้งหมดทั้งมวลจึงถูกอธิบายถึงความชอบธรรมในการดำรงคงอยู่ของชุมชนเป็นต้น
กรณี ตัวอย่างเช่นกรณีชาวบ้านในเขตป่าภูผาแดง อำเภอหล่มสัก พยายามอธิบายถึงที่มาและการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ว่ามีการก่อเกิดการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปี พ.ศ.2460(บ้านห้วยระหงส์) 2506 (บ้านห้วยกณฑา)2508 (บ้านห้วยหวาย)[2] แต่เมื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ภูผาแดง มีการประกาศเขตพื้นที่เมื่อปี 2542 และเข้ามาดำเนินการจัดการในพื้นที่เมื่อประมาณปี 2544 กับทำให้ชาวบ้านราษฎรต่างๆเหล่านั้น ต้องกลายมาเป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมายป่าไม้ไปโดยทันที ซึ่ง ณ ปัจจุบันบ้านห้วยหวายได้ถูกอพยพไล่รื้อชุมชนให้ออกจากพื้นที่แล้ว
หรือ อย่างกรณีในพื้นที่ภาคใต้เครือข่ายเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง กระบี่ พัทลุง ชุมชนราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรสวนยางพารา ชุมชนบางชุมชนมีหลักฐานการก่อตั้งอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2480(ชุมชนบ้านคอกเสือ ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง)[3] หรืออย่างชุมชนบ้านตระ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชน โดยคำบอกเล่าของ ยายนาง เพชรพริ้ง อายุ 93 ปี บอกว่า... “ยายรู้ว่าปะ(พ่อ)ของยายเกิดที่นี่และตายที่นี่และได้ฝังไว้ที่อุโบ (สุสาน)บ้านตระซึ่งเป็นอุโบแห่งที่สอง รุ่นก่อนปะกับมะนั้นได้ไปใช้อุโบที่เขานุ้ยตั้งอยู่ที่คลองตระ คนที่สำคัญจะถูกฝังไว้ที่นั่นและที่นั่นก็ยังมีสุเหล่าที่ใหญ่โตและเป็น ศูนย์กลางด้วย”
[2] ข้อมูลจากเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่ปรากฎปีที่จัดทำ
[3] ข้อมูลจากนางกำจาย ชัยทองและครอบครัวให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2552 จัดทำเรียบเรียงโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด
เมื่อมีการมีประกาศเขตป่าอนุรักษ์[4]ทับที่ ดินทำกินของราษฎรและชุมชน กลายเป็นว่าวิถีการทำเกษตรสวนยาง และต้องตัดยางในช่วงอายุต้นยางหมดสภาพ และต้องเริ่มลงปลูกยางใหม่ จึงเป็นผู้กระทำผิดในกฎหมายอนุรักษ์และอุทยานไปแล้ว
ส่วน ประเด็นทางภาคเหนือส่วนมากจะเป็นพี่น้องชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ดำรงคงอยู่ในพื้นที่ป่าเขากันมาอย่างยาวนาน เป็นที่รับรู้ของภาครัฐหรือภาคสังคมต่างๆ แต่เมื่ออคติหรือทัศนคติที่มองภาพลบของวิถีแห่งการทำกินว่าเป็นผู้ทำลาย จึงต้องตกเป็นจำเลยของกฎหมายป่าไม้หลายๆฉบับด้วยเช่นกัน
นี่คือภาพสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างของการมองความเป็นรัฐ(หากมีโอกาสจะ อธิบายต่อไป)ที่รัฐสามารถใช้สิทธิหรืออ้างสิทธิเพื่อแย่งชิงทรัพยากรอย่าง ที่ดินจากราษฎรมาเมื่อใดก็ได้ เพียงแต่เขียนและอ้างกฎหมายเข้ามาจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเสีย โดยไม่มองวิถีแห่งชุมชนท้องถิ่นว่าจะมีความเป็นมาเช่นไร และมีวิถีวัฒนธรรมกับป่าไม้อย่างไร ในเมื่อมายาคติที่ถ่ายทอดกันมายังทำเสมือนว่าผืนดินทุกตารางนิ้วเป็นของรัฐ ทั้งสิ้น จึงเป็นข้ออ้างหรือสมมติฐานทางกฎหมายที่ให้ประโยชน์แก่รัฐเป็นสำคัญ จนไม่หลงเหลือสิทธิอันชอบธรรมของชุมชนชนบทที่มีต่อผืนดินของเขาในการก่อร่าง สร้างตัวให้เป็นชุมชนขึ้นมาอีกเลย
ภาคธุรกิจนายทุนกับชาวบ้าน
ส่วนประเด็นการแย่งชิงระหว่างกลุ่มทุนภาคธุรกิจที่ดิน กับราษฎร ประเด็นปัญหาจะถูกอธิบายด้วยเงื่อนไขในทางกฎหมายว่าสิทธิของใครดีกว่ากัน หมายถึงสิทธิตามเอกสารสิทธิที่ทางราชการออกให้หรือรับรองตามกฎหมาย ประเด็นการถกเถียงหรือต่อสู้เท่าที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคเหนืออย่าง จังหวัดลำพูน(อำเภอบ้านโฮ่ง,ป่าซางและกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง) การต่อสู้ในสภาพภูมิหลังของพื้นที่คือเดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชน ต่างๆ แต่ถูกนำมาบริหารจัดการให้มีเอกสารสิทธิ์รับรองพื้นที่นั้นๆ และนำพื้นที่นั้นมาสร้างผลิตผลทางการค้าที่ดิน ที่ไม่ใช่วิถีผลิตแบบการเกษตร และเมื่อระยะเวลาผ่านไป ชุมชนเกิดการเรียกร้องพื้นที่เหล่านั้นคืนจากภาคธุรกิจต่างเหล่านั้น ที่ทอดทิ้งไม่ใช้พื้นที่เพื่อทำประโยชน์(ยุคฟองสบู่แตก) เพื่อมาจัดการตามวิถีทางเกษตรของชุมชน ข้ออ้างในการเรียกคืนหรือทวงคืนโดยการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์หล่านั้นและผลปราก ฎว่ามีการกระทำการออกโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นเกือบ ทุกแปลง และบางแปลงมีการดำเนินการให้เพิกถอนแต่ขั้นตอนยังไม่แล้วเสร็จ และบางแปลงผู้มีอำนาจในท้องถิ่นหรือนักการเมืองครอบครองโดยไม่มีเอกสาร สิทธิ์
หรืออย่างในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี(ปัญหาสวนปาล์ม) สิทธิในการเช่าที่ดินจากรัฐตามระยะเวลาแห่งการเช่าได้หมดสิ้นแล้ว(การเช่าจะ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่อาจทราบได้) ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินซึ่งมีความต้องการพื้นที่เพื่อทำการผลิตแบบเกษตร ในการยั่งชีพของครอบครัว จึงเข้าแย่งชิงพื้นที่นั้นๆ และประสงค์ให้ภาครัฐ(หน่วยงาน สปก.)เข้ามาจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎร โดยที่ภาคธุรกิจเหล่านั้นยังไม่ยอมคืนพื้นที่แก่รัฐ และหากภาครัฐยังไม่ดำเนินการเรียกคืนพื้นที่ ภาคธุรกิจอาจเข้าใช้ประโยชน์โดยไม่มีการตอบแทนแก่ภาครัฐเลย หรืออาจอาศัยการเข้าถึงข้อมูลบางประการเพื่อใช้พื้นที่ทำประโยชน์ต่อไปหรือ ตลอดไป ทั้งๆที่เงื่อนไขตามกฎหมายในสภาพแห่งบุคคล(นิติบุคคล)อาจจะไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย(สัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติ จากการตรวจสอบของ DSI)
เหล่านี้คือสภาพข้อเท็จจริงที่ต่างฝ่ายพยายามหยิบมาอ้าง ถึงความชอบธรรมตามกฎหมายบ้านเมือง ระหว่างธุรกิจเอกชนกับราษฎร หรือภาครัฐหยิบความเป็นรัฐเป็นเจ้าของผืนดิน(สืบทอดแนวคิดกษัตริย์ผู้เป็น เจ้าของแผ่นดิน)ขึ้นมาอ้างกับราษฎร โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการประหัดประหารผู้ต่อต้าน
กฎหมายต่างๆที่นำมาใช้กับราษฎรในที่ดินและป่า
เมื่อปัญหาเกิดในพื้นที่ป่าไม้ ฉะนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำกฎหมายต่างๆเหล่านั้นมาใช้จัดการ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 4(1) โดยให้ความหมายคำว่า “ป่า “หมายถึง ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน มาตรา 29 กล่าวถึงการเก็บหาของป่าหวงห้าม ต้องขออนุญาตและต้องเสียค่าภาคหลวง มาตรา 54 กำหนด ห้ามก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือยึดถือครอบครองป่า และให้สันนิษฐานว่าผู้ใดครอบครองพื้นที่ป่า ถือว่าเป็นผู้แผ้วถาง ตามมาตรา 55 และกำหนดโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดตามมาตรา 54 คือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ได้ขยายความคำว่า”ป่า”เพิ่มเติมขึ้นไปอีกว่า มาตรา 4“ที่ดินรวมตลอดถึงภูเขา ห้วย หนอง คลองบึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะและที่ชายทะเลที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมาย” และยังสามารถกำหนดพื้นที่อื่นใดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มเติมได้อีกตาม มาตรา 6 แต่ในการที่จะประกาศเขตป่าสงวนในพื้นที่แห่งใดนั้น ได้เปิดช่องให้ผู้ครอบครองยื่นหนังสือต่อฝ่ายปกครองได้ภายในกำหนด 90 วัน ซึ่งข้อกำหนดในกฎหมายป่าฉบับนี้จะบัญญัติเหมือนกันคือห้ามยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าตามมาตรา 14 แต่ในข้อกำหนดห้ามนั้น กฎหมายฉบับนี้ยังให้สิทธิในการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยได้ตามกำหนดระยะเวลา ไม่เกิน 30 ปี (ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม) ตามมาตรา 16,16 ทวิ,16 ตรี
พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 กำหนดห้ามยึดถือครอบครองพื้นที่เช่นกันในมาตรา 16 ส่วนพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีสามารถกำหนดบริเวณพื้นที่ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้ โดยต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 33 ซึ่งในเขตรักษาพันธุ์ฯห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 37 และห้ามยึดถือครอบครองพื้นที่ตามมาตรา 38 ,42 หากฝ่าฝืนมีความผิดระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น
หาก เป็นคดีความผิดที่ไม่ใช่พื้นที่ป่าไม้ คืออาจเป็นพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐหน่วยอื่น กฎหมายที่อาจนำมาใช้ในการดำเนินคดีจะเป็นกฎหมายอาญา ข้อหาบุกรุก ตามมาตรา 362,363,365 หรือ หากเป็นกรณีฟ้องร้องทางแพ่งส่วนใหญ่ที่มีสภาพแห่งข้อหาที่อาจรุนแรงคือ ข้อหาขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งหากแพ้คดีคำพิพากษาจะบังคับให้ต้องออกจากพื้นที่ หากขัดขืนสามารถควบคุมตัวไว้ได้จนกว่าจะออกจากพื้นที่หรือรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างออกไป
ทั้ง หมดนี้คือเครื่องมือที่ใช้ดำเนินการกับผู้ต่อต้าน อย่างที่ผู้เขียนได้พยายามอธิบายเพื่อให้เห็นภาพว่า หากนำกฎหมายต่างๆเหล่านี้มาเป็นตัวตั้งในการพิจารณาเพียงอย่างเดียว โดยไม่มองประเด็นข้อเท็จจริงพื้นฐานแห่งสิทธิของชุมชนคู่กรณีแล้ว หรือมีความเชื่อในกฎหมายของรัฐที่ไม่พิจารณาในมิติทางสังคมชุมชนเลย อาจจะไม่เป็นธรรมกับชุมชน ที่ไม่อาจมีส่วนร่วมในการกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมายหรือเงื่อนไขทางนโยบายได้ และต้องถูกกดขี่ด้วยกฎหมายตลอดไป และนี่คือกฎหมายส่วนใหญ่ที่ใช้บังคับกับชาวบ้านต่างๆ
กระบวนการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถึงขั้นตอนแห่งกระบวนการต่อสู้ในกระบวนยุติธรรมแล้ว จะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับชั้นของการถูกจับกุม ซึ่งในคดีป่าไม้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจคือเจ้าหน้าที่ป่าไม้พื้นที่นั้นๆ เป็นผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายป่าไม้ และส่งมอบบุคคลผู้กระทำผิดต่อพนักงานสอบสวน(ตำรวจท้องที่เขตนั้นๆ) ซึ่งเงื่อนไขในการจับกุมจะถูกระบุโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ (ตามกฎหมายที่อ้างแล้วในบทก่อน)
แต่ การพิจารณาในระดับชั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและชั้นพิจารณาสั่งฟ้องใน ระดับอัยการนั้น มักไม่ค่อยพิจารณาถึงประเด็นแห่งอำนาจอันชอบธรรมในการดำรงคงอยู่ในพื้นที่ มากนัก(สิทธิในที่ดินทำกินสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญหรือสิทธิมนุษยชน) แต่จะพิจารณาถึงประเด็นของการมีเจตนากระทำผิดตามเงื่อนไขกฎหมายอาญาประกอบ กฎหมายป่าไม้หรือไม่ เช่น อาจจะรับทราบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าจริงและยอมรับความเป็นชุมชน แต่อาจจะพิจารณาสั่งไม่ฟ้อง ด้วยเงื่อนไขว่า ”พื้นที่เกิดเหตุได้มี การทำกินมานานแล้ว จึงเชื่อว่าผู้ต้องหาไม่ทราบว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนหรือเขตอุทยาน จึงขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงสั่งไม่ฟ้องคดี”[5] ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าแม้ชุมชนจะก่อตั้งมา อย่างยาวนานเช่นไร(ไม่อาจโต้แย้งรัฐได้) ก็ไม่มีอำนาจอันชอบธรรมที่จะได้สิทธิเด็ดขาด และไม่มีอำนาจอันชอบธรรมในการทำประโยชน์ตามวิถีแห่งตนหรือวัฒนธรรมชุมชน เลย(จะถูกยึดพื้นที่ทำกิน) เพราะติดเงื่อนไขตามกฎหมายป่าไม้ และต้องถูกดำเนินคดีอยู่ล่ำไปในทุกพื้นที่
ทั้งในชั้นจับกุมหรือสอบสวน หากราษฎรไม่มีความเข้าใจในสิทธิแห่งตนแล้ว วิถีที่ถูกปฎิบัติตลอดมาคือการให้รับสารภาพในการกระทำความผิดตามเงื่อนไข กฎหมาย เพราะมีความเชื่อหรือถูกทำให้เชื่อว่าไม่สามารถที่จะต่อสู้กับรัฐได้ นี่คือสภาพปัญหาที่แท้จริงของการต่อสู้ของราษฎรในอดีตที่ผ่านมา และในปัจจุบันก็ยังคงปรากฎอยู่เช่นนี้ หากราษฎรคนนั้นกลุ่มนั้นไม่ได้รับคำปรึกษาแนะนำ หรือไม่มีขบวนมาช่วยในการต่อสู้
อุปสรรคที่ใหญ่ต่อมาขอการต่อสู้คือหลักทรัพย์ค้ำประกันบุคคล ในคดีป่าไม้และที่ดินจะมีหลักเกณฑ์ของจำนวนวงเงินค้ำประกันที่สูงมากในระดับ ชาวบ้านราษฎรโดยทั่วไป (ประมาณจำนวนหนึ่งแสนบาทต่อคดี) ซึ่งเป็นปัญหา[5] กรณี คดีนายเสิด แท่นมาก และนายประพันธ์ ทองไทย เป็นต้นที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาต่อศาล แต่คดีแพ่งถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 1,434,375 บาทและ 655,446.13 บาท
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.