เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ(รีคอฟ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน Oxfam GB (ประเทศไทย) และศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดเวทีประชุมเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนในการต่อสู้คดีโลกร้อน โดยมีชาวบ้านในเครือข่ายที่ประสบปัญหาด้านคดีความโลกร้อน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน นักกฎหมายและนักวิชาการ เข้าร่วมประมาณ 50 คน
วัตถุประสงค์หลักของการประชุมครั้งนี้ เพื่อนำเสนอสถานการณ์คดีโลกร้อน ประเด็นการต่อสู้ และข้อมูลงานวิจัยชุมชนของเครือข่ายฯเพื่อหักล้างคดีความโลกร้อน รวมทั้งการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนแบบจำลองการคิดค่าเสียหายโลกร้อน การวิเคราะห์แนวทางทางกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของเกษตรกรราย ย่อยที่ถูกคดีความโลกร้อน
1. การนำเสนอประเด็นปัญหาเรื่องที่ดิน และคดีโลกร้อนในภาพรวม
สถานการณ์ภาพรวมคดีเรื่องที่ดิน ป่าไม้ และที่สถานประโยชน์ ข้อมูลสถิติจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
ภูมิภาค |
จำนวนคดี/กรณี |
จำนวนผู้ถูกคดี/ รายคน |
ภาคเหนือ |
76 |
285 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
14 |
115 |
ภาคใต้ |
41 |
100 |
รวม |
131 |
500 |
จำนวนคดีโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 38 คดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สถานการณ์เกษตรกรผู้ถูกดำเนินคดีแพ่ง (โลกร้อน) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 97
ลำดับ |
สถานะของคดี |
จำนวน (ราย) |
มูลค่าความเสียหาย |
เพศ |
ขนาดพื้นที่ถูกฟ้อง (ไร่) |
|
หญิง |
ชาย |
|||||
1. |
มีหนังสือเรียกค่าเสียหาย |
10 |
12,595,000 |
10 |
- |
สูงสุด 21-8-83 ไร่ |
2. |
กำลังอุทธรณ์คดีอาญาและถูกดำเนินคดีแพ่ง |
16 |
426,876 |
6 |
10 |
9-0-46 ไร่ |
3. |
กำลังฎีกาคดีอาญาและกำลังอุทธรณ์คดีแพ่ง |
1 |
129,732 |
- |
1 |
3-3-0 ไร่ |
4. |
ศาลตัดสินคดีอาญาและกำลังดำเนินคดีแพ่ง |
2 |
730,300 |
2 |
- |
|
5. |
ศาลตัดสินคดีอาญาและบังคับคดีแพ่ง |
9 |
18,960,000 |
7 |
2 |
|
รวม |
38 |
32,841,608 |
25 |
13 |
กรมอุทยาน ฯ มีการคำนวนความเสียหายในการฟ้องร้องชาวบ้านเกษตรกรรายย่อยในคดีโลกร้อนโดยใช้แบบจำลองซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทำให้ธาตุอาหารในดินสูญหายคิดเป็นมูลค่า 4,064 บาท ต่อไร่ต่อปี (เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการซื้อแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยมไปโปรยทดแทน)
2. ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่ต่อปี
3. ทำให้สูญเสียน้ำออกไปจากพื้นที่โดยการแผดแผาของดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี
4. ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาทต่อไร่ต่อปี (คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรทุกดินขึ้นไปและปูทับไว้ที่เดิม)
5. ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาทต่อไร่ต่อปี (คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้เดินเครื่องปรับอากาศชั่วโมงละ 2.10 บาท ซึ่งต้องใช้เครื่องปรับอากาศทั้งหมดเท่ากับ 5.93 ตันต่อชัวโมงและกำหนดให้เครื่องปรับอากาศทำงานวันละ 10 ชั่วโมง (08.00-18.00 น.)
6. ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 ไร่ต่อปี
7. มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่า 3 ชนิด
7.1 การทำลายป่าดงดิบค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท (ต่อไร่)
7.2 การทำลายป่าเบญจพรรณค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท (ต่อไร่)
7.3 การทำลายป่าเต็งรังค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท (ต่อไร่)
จากสถานการณ์คดีโลกร้อนนี้เองทำให้เกิดการ ทำงานวิจัยชุมชนเพื่อช่วยสนับสนุนชาวบ้านในการต่อสู้คดีโลกร้อน โดยความร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นในภาคอีสานและภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานและภาคใต้ กลุ่มปฎิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน และศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนฯ(รีคอฟ)
โดยงานวิจัยนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ ศึกษาหลัก 4 ชุมชน คือ
เป้าหมายของการทำงานวิจัย
วัตถุประสงค์งานวิจัย
2. การนำเสนองานวิจัยที่ 1 พื้นที่บ้านห้วยกลทา อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ (ดูรายละเอียดเนื้อหาจากเอกสารแนบ)
3. การนำเสนองานวิจัยที่ 2 พื้นที่บ้านทับเขือ ปากหมู ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง (ดูรายละเอียดการนำเสนอจากเอกสารที่แนบ)
ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมต่องานวิจัยทั้ง 2 ชิ้น
การนำเสนอผลการวิจัยทั้งสองพื้นที่แสดงให้ เห็นว่าวิจัยมุ่งเน้นที่การเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อโต้แย้งกับแบบ จำลองของกรมอุทยาน ฯ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่า
1. งานวิจัยยังไม่สามารถแก้หรือหักล้างคดีโลกร้อนได้ทั้งหมด แต่เป็นการชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร จากข้อมูลที่ได้จากพื้นที่เปรียบเทียบกับแบบจำลองเพื่อคิดค่าเสียหายที่กรม อุทยานนำมาฟ้อง
2. กิจกรรมทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนปลดปล่อยคาร์บอน และการปลดปล่อยคาร์บอนเพื่อความมั่นคงทางอาหารหรือวิถีชุมชน เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความอยู่รอด ให้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้
3. ควรมีการสร้างแบบจำลองการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนเอง เพื่อต่อสู้ทางคดี และนำไปใช้ในอนาคต โดยให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย ทำข้อมูล และทีมวิชาการ ทีมคนทำงานช่วยเสริมให้เกิดกระบวนการ และควรมีการรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจในวิถีชุมชนต่อสาธารณชน และนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดินและทรัพยากรร่วมกันของเครือข่าย
4. การเตรียมตัวเพื่อสู้คดี ควรสู้มากกว่าโมเดล เช่นทำอย่างไรถึงจะทำให้ศาลเชื่อว่าชาวบ้านอยู่ทำกินมาก่อน ประเด็นคือต้องรวมกันระหว่างแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ นิเวศวิทยา และแนวคิดทางสังคม วิถีชุมชน สิทธิชุมชน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็นพลังในการต่อสู้มากขึ้น
5. ข้อควรระมัดระวัง ถ้านำเสนอข้อมูลไม่รอบด้าน การใช้เรื่องแบบจำลองการคิดค่าเสียหาย 7 ข้อ มาสู้เพียงลำพัง จะทำให้เกิดความล่อแหลม จะทำให้ข้อมูลนี้กลับมาเป็นโทษแก่ชุมชนมากกว่าจะเป็นประโยชน์ในการต่อสู้คดี (ตัวอย่างเช่น ไร่ข้าวโพดทำให้ดินอุ้มน้ำน้อยกว่าพื้นที่ป่า หรืออุณหภูมิของไร่ข้าวโพดสูงกว่าพื้นที่ป่า และอุณหภูมิของไร่ข้าวโพดมีความแตกต่างกันมากในระหว่างกลางวันและกลางคืน ในขณะที่อุณหภูมิพื้นที่ป่ามีความแตกต่างกันน้อยกว่า เป็นต้น)
6. มีการนำเสนอว่าให้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องรอยเท้านิเวศน์ของทั้งสอง พื้นที่ เพื่อพิสูจน์ว่าเกษตรกรเหล่านี้เป็นผู้ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า กลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม
7. งานวิจัยในพื้นที่ภาคใต้และภาคอีสานควรจะเพิ่มเนื้อหาในเรื่องภาพรวมของ ชุมชนมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของชุมชนไม่ได้ทำให้โลกร้อน โดยเน้นถึงวิถีการทำเกษตรของชุมชน และความพยายามของชุมชนในการดูแลรักษาป่า การพึ่งพาอาศัยป่าเพื่อความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของครัวเรือน อาจจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม หรือใช้ข้อมูลเดิมที่เคยศึกษามาแล้วในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารและราย ได้มาเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลงานวิจัยมีน้ำหนักมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ใน การต่อสู้คดี
4. การนำเสนองานวิจัยที่ 3 พื้นที่บ้านห้วยหินลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย (ดูรายละเอียดการนำเสนอจากเอกสารที่แนบ)
งานวิจัยชิ้นนี้มีความแตกต่างจาก 2 ชิ้นแรกไม่ได้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อโต้แย้งกับแบบจำลองของกรมอุทยาน ฯ จึงทำให้ขาดการเก็บข้อมูลในเชิงเทคนิควิทยาศาสตร์ทางด้านป่าไม้ ดิน และน้ำ แต่เป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าชุมชนบ้านห้วยหินลาดเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ และมีวิถีการผลิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่า และในทางกลับกันก็ดูแลรักษาป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และความอุดมสมบูรณ์ของป่าจะทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจครัว เรือน
ข้อเสนอแนะของที่ประชุมต่องานวิจัยชิ้นที่ 3
เป็นงานวิจัยที่ช่วยทำให้เห็นส่วนที่ขาด หายไปของงานวิจัยสองชิ้นแรก ถ้างานวิจัยทั้ง 3 ชิ้นนี้นำเอาเทคนิควิธีการวิจัยมารวมกันจะทำให้เกิดงานวิจัยชุมชนที่มี ข้อมูลรอบด้านมากขึ้น
5. การวิเคราะห์แบบจำลองโดยอาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด
5.1 ประเด็นการปรับชาวบ้านในคดีโลกร้อนนั้นเมื่อเทียบกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมคือ "ผู้ ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นผู้จ่าย" จะต้องบังคับใช้กับผู้ก่อความเสียหายทุกคน หรือบังคับใช้กับผู้ที่เป็นต้นเหตุหลักในก่อความเสียหาย แต่ชาวบ้านไม่ได้เป็นผู้ก่อความเสียหายหลักในประเด็นเหล่านี้
5.2 ค่าความเสียหายคำนวณจากแนว ปฏิบัติทั่วไปในการฟื้นฟู และ/หรือ ทดแทนความเสียหายของทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้แนวปฏิบัติที่มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยเน้นการปรับตัวของผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย ซึ่งการ เปิดแอร์เพื่อลดอุณหภูมิ หรือการนำน้ำไปฉีด หรือขนดินขึ้นไปเติมในพื้นที่ไม่ใช่เป็นมาตรการฟื้นฟูที่เหมาะสมและเป็นแนว การปฏิบัติทั่วไป
5.3 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะไม่มีการวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของป่าในสภาพพื้นที่พิพาทจริง เพราะแบบจำลองมีแต่การจำแนกชนิดป่า 5 ชนิดเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดของความอุดมสมบูรณ์
5.4 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะเป็นการคำนวณค่าความเสียหายของ เนื้อไม้ และการเพิ่มพูนของเนื้อไม้รายปี (ปริมาตรไม้) เท่านั้นไม่มีการคำนวณความเสียหายของเนื้อไม้ชนิดของไม้ที่ตัด
5.5 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณความเสียหายจากการสูญ เสียธาตุอาหารหลักโดยการคำนวณ N-P-K จากข้อมูลพื้นที่หน้าตัดลำต้นของต้นไม้เท่านั้นไม่มีการสำรวจสภาพของธาตุอาหารในดินในพื้นที่จริงและในพื้นที่ป่าใกล้เคียง และไม่มีการสำรวจพืชคลุมดินในสภาพพื้นที่จริง
5.6 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณค่าความเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น ไม่มีการสำรวจสภาพอุณหภูมิในพื้นที่จริง(ในระดับต่างๆ และในช่วงเวลาต่างๆ) และไม่มีการสำรวจพืชคลุมดินในพื้นที่จริงเพื่อเปรียบเทียบกับสภาพป่าใกล้เคียง แบบ จำลองคำนวณค่าเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น โดยใช้ข้อมูลชนิดของป่า และพื้นที่หน้าตัดของต้นไม้ที่ถูกตัด มาคำนวณเป็นค่าคะแนนปัจจัยพืชคลุมดิน โดยไม่มีการสำรวจพื้นที่จริง
5.7 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการ คำนวณค่าความเสียหายจากอากาศร้อนขึ้น โดยเปรียบเทียบกับการเปิดเครื่องปรับอากาศ มิใช่วิธีการปกติที่คนทั่วไปจะใช้ในการลดอุณหภูมิในสภาพพื้นที่จริง ทั้งยังเป็นวิธีการที่ยิ่งทำให้อุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น
5.8 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณปริมาณน้ำที่สูญหายมาจาก 3 ส่วน 1) ดินไม่ดูดซับน้ำ เนื่องจากการอัดแน่นของผิวดินจากแรงกระทบของเม็ดฝน 2)แสงแดดแผดเผา เนื่องจากไม่มีป่ามาปกคลุม 3) ฝนตกน้อยลง แต่ไม่มีการเก็บข้อมูลการดูดซับน้ำของดินในสภาพจริง ไม่มีข้อมูลการระเหยน้ำในสภาพจริง และไม่มีข้อมูลปริมาณน้ำฝนในสภาพจริง (แบบจำลองใช้ข้อมูลน้ำฝนรายจังหวัด แทนปริมาณน้ำฝนในพื้นที่จริง, แบบจำลองใช้การจำแนกชนิดป่าแทนสภาพของพืชในพื้นที่จริง และแบบจำลองใช้ความสูงของชั้นดิน แทนสภาพดินในพื้นที่จริง (เช่น ความชื้น)
5.9 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณค่าความเสียหายโดยเทียบ กับการเช่ารถบรรทุกน้ำขึ้นไปฉีดพรมในพื้นที่ มิใช่วิธีปฏิบัติของคนทั่วไปในสภาพพื้นที่จริง
5.10 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะการคำนวณความเสียหายจากดินสูญหาย ไม่มีการคำนึงถึงสภาพของพืชคลุมดิน สภาพฝนที่ตกในพื้นที่ และการเพิ่มพูนดินจากเกษตรกรรมในสภาพจริง
5.11 การใชัแบบจำลองคิดค่าเสียหายเป็นปัญหาเพราะ ปัญหาการนับซ้ำ (double counting) ค่าความเสียหาย 1)ระหว่างการคิดค่าดินสูญหายกับธาตุอาหารสูญหาย 2) ระหว่างการคิดค่าอากาศที่ร้อนขึ้นกับการสูญเสียน้ำ
สรุป
6. การวิเคราะห์ การสู้คดีในประเด็นกฏหมายสิทธิตามรัฐธรรมนูญและกฏหมายสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย ทีมกฏหมาย นำโดยพี่แย้ พี่แสงชัย และฉี
7. สรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนทั่วไป
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.