วันที่ 30 ธันวาคม 2551 เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในด้านที่ดินของคนจนได้ ข้อ 4.1.2.8 “คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการ ทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปแบบโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปนิคมการเกษตร”
หลัง จากรัฐบาลแถลงนโยบายดังกล่าว เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยซึ่งมีเป้าหมายในการ “คุ้มครองและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม” และมีการจัดการทรัพยากรในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” และ “ธนาคารที่ดิน” มาก่อนจึงเสนอเป็นพื้นที่นำร่องตามนโยบายรัฐบาล และให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อกำกับดูแล ติดตาม และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและอยู่อาศัย
ต่อ มานายกรัฐมนตรีได้ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 71/2552 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่ง ประเทศไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ จากนั้นคณะกรรมการได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 6 ชุด ได้แก่
ชุด ที่ 1 คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้างและเหมืองแร่ ชุดที่ 2 คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าไม้อื่นๆฯ ชุดที่ 3 คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินส.ป.ก.ฯ ชุด ที่ 4คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสินเชื่อฯ ชุดที่ 5 คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินราชพัสดุฯ และชุดที่ 6 คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน
ใน ส่วนของอนุกรรมการชุดที่ 6 ซึ่งมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐนตรีเป็นประธาน อนุกรรมการชุดนี้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการแก้ปัญหาระดับนโยบาย เนื่องจากทำหน้าที่ศึกษาแนวทางกฎหมายและมาตรการอื่นๆ เพื่อรองรับนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินของรัฐบาล ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงาน 4 คณะ ได้แก่
1. คณะทำงานศึกษามาตรการทางกฎหมาย นโยบายเพื่อรองรับการกระจายการถือครองที่ดิน 2. คณะทำงานศึกษาโครงสร้างระบบภาษีที่ดิน มาตรการการเงินการคลัง และแนวทางการจัดตั้งธนาคารที่ดิน 3.คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดิน การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และการรองรับสิทธิที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน 4.คณะทำงานศึกษาแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการนำร่องภายใต้นโยบายรัฐบาลใน พื้นที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
โดย เฉพาะคณะทำงานชุดที่ 3 ที่มีบทบาทสำคัญในการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ ทบทวน องค์ความรู้ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายการถือครองที่ดิน การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และการรับรองสิทธิที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน เพื่อรองรับนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินของรัฐบาล
ฐานคิดในการจัดทำโฉนดชุมชน
อันที่จริงแล้วชุมชนต่างๆได้มีการดำเนินการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และริเริ่มรับรองสิทธิที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนมานานแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เรียกกว่าโฉนดชุมชน หากแต่เป็นการจัดการทรัพยากรตามแผนการจัดการและกติกาขององค์กรชุมชน
องค์กร ชุมชนแต่ละแห่งจะจัดทำแผนการจัดการและกติกาขององค์กร หากสมาชิกองค์กรไม่ปฏิบัติตามกติกาขององค์กรก็จะถูกลงโทษ อย่างไรก็ตาม แผนการจัดการและกติกาขององค์กรชุมชนบังคับใช้เฉพาะสมาชิกองค์กรชุมชนเท่า นั้น เนื่องจากองค์กรไม่มีอำนาจกำหนดให้คนที่ไม่ใช่สมาชิกปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจลงโทษคนที่ไม่ใช่สมาชิก
ทั้งนี้การจัดการทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชนเป็นรูปธรรมการใช้สิทธิชุมชน ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ในหลายมาตรา ทั้งมาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 85
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ชุมชนรวมตัวเรียกร้องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการจัดการทรัพยากรตามแนวคิดตะวันตกที่ยอมรับเพียง สิทธิของรัฐและสิทธิปัจเจก ไม่ยอมรับสิทธิชุมชน ทั้งๆที่สิทธิชุมชนอยู่คู่กับสังคมไทยมาแต่แรกเริ่มและรัฐธรรมนูญก็ให้การ รับรองและคุ้มครอง
นอกจากนี้ระบบสิทธิในสังคมไทย โดยเฉพาะชนบทนั้นมีลักษณะสิทธิเชิงซ้อน ซึ่งซ้อนทับระหว่างสิทธิชุมชนและสิทธิปัจเจก สิทธิเชิงซ้อนเปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนเข้ามาเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ผู้ครอบครอง ที่ดินไม่ได้ลงมือลงแรงปลูกสร้าง เช่น ไข่มดแดงบนต้นมะม่วง กุ้งหอยปูปลาในไร่นา หรือสามารถนำสัตว์ไปเลี้ยงในที่ดินของส่วนบุคคลได้ รวมทั้งมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้รวมกันอีกมากมาย โดยสมาชิกชุมชนทุกคนรวมถึงชุมชนใกล้เคียงสามารถเข้ามาเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ การจัดสรรทรัพยากรในลักษณะนี้ ทำให้สมาชิกชุมชนทุกคนได้เข้าถึงทรัพยากรและมีกินอย่างพอเพียง
ในขณะที่การจัดการทรัพยากรแบบตะวันตกกำหนดให้ที่ดินเป็น “สมบัติของแผ่นดิน” จึงต้องมีการหวงแหนรักษาไม่ให้ใช้ประโยชน์ หรือเป็น “สมบัติของปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคล” กีดกันไม่ให้คนอื่นๆใช้ประโยชน์ ไม่ยอมรับว่าที่ดินเป็นสิทธิเชิงซ้อน และเป็น “สมบัติของชุมชน” เมื่อ ที่ดินไม่ได้เป็นของชุมชนจึงเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สืบทอดกันมา อย่างยาวนานจากที่ดินที่สร้างความมั่นคงให้ชีวิต ได้กลายเป็นสินค้าที่สร้างกำไรและความร่ำรวย ค่านิยมที่ดีงามของบรรพบุรุษจึงค่อยๆหายไปจากสังคมไทย
ดังนั้นโฉนดชุมชน จึงไม่ได้เป็นเพียงเอกสารรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินเท่านั้น หากแต่ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. ระบบกรรมสิทธิ์แบบรวมหมู่โดยองค์กรชุมชนจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพยากร ทั้งที่ดิน ที่สมาชิกใช้ประโยชน์ทำการผลิตและทรัพยากรที่สมาชิกชุมชนใช้ประโยชน์ในการ ดำเนินชีวิต 2. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสมดุลย์และยั่งยืน ทั้งที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ป่า และน้ำ 3. วัฒนธรรมการอยู่ร่วมที่ดีงาม ทั้งด้านการเมืองและวัฒนธรรม ตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการและกติกาขององค์กร
แนวทางการจัดทำโฉนดชุมชน
บทส่งท้าย
การจัดการป่าไม้ของไทยเป็นตัวอย่างสำคัญในการเปลี่ยนที่ดินของชุมชนไปเป็น ที่ดินของรัฐ ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนที่ดินของรัฐบางส่วนที่แย่งยึดมาจากชุมชนไปเป็นที่ดิน ของปัจเจกบุคคล หรือยังคงเป็นที่ดินของรัฐแต่ให้เอกชนเช่าทำธุรกิจ กระบวนการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินเริ่มจากการประกาศกฎหมายและเขตป่าอนุรักษ์ ทับซ้อนที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยบางส่วนของชุมชนหรือทั้งหมด เพื่อให้เป็นที่ดินของรัฐตามกฎหมาย หลังจากนั้นก็ให้กลไกของรัฐเข้ามาปราบปราม ข่มขู่ คุกคาม และอพยพโยกย้ายชุมชน เพื่อให้เป็นที่ดินของรัฐในทางปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ในระยะหลังมีการดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งประกอบด้วย ทำให้ชาวบ้านที่ยากจนต้องประสบความลำบากมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นรัฐบาล ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้การสนับสนุนการจัดทำโฉนดชุมชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อชุมชนและสังคมอย่างมาก โดยการพิทักษ์ที่ดินทำกินดั้งเดิมของเกษตรกรรายย่อย เพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของนายทุน พิทักษ์สิทธิของเกษตรกร พิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป้องกันการทำลายป่า สร้างความสมดุลย์และยั่งยืนในการป้องกัน อนุรักษ์ รักษา ดูแล ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ลดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เรียบเรียงจาก “เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด : พื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ตามแนวนโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ฯ
โดย สำนักเลขาเครือข่ายปฎิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
สำนักเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.