1) วิกฤตปัญหาที่ดินในประเทศไทย สถานการณ์การถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศขึ้นอยู่กับตลาดการซื้อ ขายที่ดิน และการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีการควบคุมการเก็งกำไรซื้อขายราคาที่ดิน และการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบ การใช้ประโยชน์ที่ดินก็ยังไม่เป็นไปตามแผนการจัดการที่ดินและการวางผังเมือง ของประเทศ ทั้งที่การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินจะทำให้มูลค่าของที่ดินสูง และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานของที่ดินได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติบนฐานที่ดินนั้น ส่งผลต่อภาคการผลิตทางการเกษตร และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจเป็นรายได้ของประเทศชาติและระดับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 320.7 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 170 ล้านไร่ มีพื้นที่ป่าไม้ 104.7 ล้านไร่ และการใช้ประโยชน์อื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดิมร้อยละ 55 ของพื้นที่ของประเทศ นับแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 มาจนถึงปี พ.ศ.2551 จนเหลือเพียงประมาณร้อยละ 33 ในขณะที่พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกเพียง 168 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศ แต่มีการใช้ที่ดินผิดประเภทและไม่เหมาะสมจำนวนมาก
สำหรับ การใช้ที่ดินในเมือง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ ทำให้มีการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรเป็นพื้นที่การพาณิชย์ และการท่องเที่ยว พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่เมือง หมู่บ้านจัดสรร ในขณะที่การจัดการสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นระบบ ทำให้ ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว
การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินจะมีภาวะขึ้นลงและรวดเร็วในสภาวะที่เศรษฐกิจ
เฟื่อง ฟูและมีการเก็งกำไรที่ดินที่เหมาะสมในการใช้ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และนันทนาการ การซื้อขายที่ดินได้ใช้กลไกของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้ และการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน โดยขาดการตรวจสอบที่ดิน จึงทำให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินอย่างผิดกฎหมาย และไม่มีการทำประโยชน์ที่ดิน ซึ่งทำให้สูญเสียมูลค่าของเงินที่ปล่อยกู้ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์จำนวน มาก
สถานการณ์วิกฤตปัญหาที่ดินดังกล่าวมาจากนโยบายของรัฐที่ส่งผล กระทบต่อการสูญเสียที่ดินของคนส่วนใหญ่ และก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงที่ดินในที่ดินของรัฐและของเอกชน มีการละเมิดสิทธิในที่ดินของชุมชนและประชาชน ซึ่งทำให้เกษตรกรรายย่อย และประชาชนทั่วไปต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงในที่ดินทำกิน และมีผลทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุแห่งปัญหาที่ดินดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
1) นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และนโยบายการอนุรักษ์พื้นที่
ซึ่งมีการดำเนินการคู่ขนานกันไป และสร้างปัญหาความขัดแย้งต่อสิทธิในที่ดิน และมีผลต่อการทำลายพื้นที่เกษตรกรรม นโยบายเหล่านั้นได้แก่
นโยบายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดิน | นโยบายการอนุรักษ์พื้นที่ |
1) นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปิดประเทศเข้าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เขื่อน และเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่เมือง การบริการท่องเที่ยว และพาณิชยกรรม และใช้นโยบายเวนคืนที่ดิน | 1) นโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ 25 ของเนื้อที่ประเทศ จึงทำให้มีการขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งไม่ได้มีการตรวจสอบการถือครองที่ดินและทำประโยชน์ที่ดินมาก่อนในระดับ พื้นที่ แต่ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชนที่ทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนการประกาศเขต ป่าอนุรักษ์ |
) นโยบายเร่งรัดออกโฉนดที่ดิน และเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เพื่อสร้างหลักประกันให้บุคคลมีสิทธิในที่ดินอย่างมั่นคง โดยไม่มีการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม การควบคุมการเก็งกำไรซื้อขายที่ดิน และไม่มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดิน จึงทำให้มีการกระจุกตัวการได้เอกสารสิทธิที่ดินสำหรับบุคคลที่เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น | 2) นโยบายความมั่นคงของประเทศ เพื่อควบคุมพื้นที่ทำกินและปกครองประชาชน เช่น นโยบายควบคุมพื้นที่ชายแดน และชนเผ่าบนพื้นที่สูง |
3) นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวที่กระตุ้นให้เกิดแย่งชิงพื้นที่ป่า พื้นที่ชายฝั่งทะเล มาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งมีผลกระทบต่อการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรน้ำ | 3) นโยบายการอนุรักษ์พื้นที่สาธารณประโยชน์ที่ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ กำหนดแนวเขตให้ชัดเจน และสอดคล้องกับสถานการณ์การใช้ที่ดินในปัจจุบัน |
4) นโยบายส่งเสริมการทำสวนป่าในที่ดินของรัฐ เพื่อทำสวนป่าเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและมีความขัดแย้งระหว่างสิทธิในที่ดินของ ประชาชนที่ทำประโยชน์ในพื้นที่ป่า | 4) นโยบายการหวงห้ามที่ราชพัสดุไว้ให้กับหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ โดยมีปัญหาการกำหนดแนวเขตทับซ้อนการทำประโยชน์ในที่ดินของประชาชน หรือการไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ หรือมีการให้เช่าทำประโยชน์ในระยะสั้น |
2) มาตรการทางกฎหมายและการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยยึดถือหลักการปกป้องที่ดินของรัฐ และประชาชนต้องมาพิสูจน์สิทธิในที่ดิน ตลอดจนการให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินการ จึงทำให้เกิดปัญหาการคอรัปชั่น และการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐโดยสรุปมีดังนี้
2.1) กลไกของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (ก.บ.ร.) ในการพิสูจน์ในที่ดิน และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่อสิทธิในที่ดิน แต่ปรากฏว่าการแก้ไขปัญหาของ ก.บ.ร.ล่าช้า ก.บ.ร.ไม่สามารถชี้ขาดผลการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน หรือบังคับให้น่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามผลการชี้ขาดได้ เพราะไม่มีอำนาจตามกฎหมาย แต่ต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงานของรัฐยังใช้แนวทางการพิสูจน์สิทธิ
2.2) การพิสูจน์สิทธิในที่ดินทุกประเภท ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ การพิสูจน์สิทธิในที่ดินล่าช้า ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่มีความมั่นคงในการทำประโยชน์ในที่ดิน และส่วนมากต้องสูญเสียสิทธิในที่ดิน จากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ และหลายกรณีถูกเลือกปฏิบัติ
2.3) การให้เช่าที่ดินของรัฐในระยะเวลาสั้น และสัญญาเช่าไม่เป็นธรรม จึงทำให้คนที่ไม่มีเงินทุนจึงไม่มีสิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
2.4) กระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมตรวจสอบ ทำให้นำไปสู่ขบวนการคอรัปชั่น และพบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในที่ดินของรัฐอย่างผิดกฎหมาย ในขณะที่ประชาชนที่ทำประโยชน์มานานอยู่จริง กลับไม่ได้เอกสารสิทธิ์ที่ดิน
2.5) การหวงห้ามที่ดินไม่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ ในขณะที่หน่วยงานของรัฐไม่มีความจำเป็นในการใช้ที่ดิน เช่น กรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างทหารกับประชาชน สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐหวงห้ามไม่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณ ประโยชน์ หรือที่ราชพัสดุ
2) ข้อเสนอ
ที่ดิน เป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและ สิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิต ของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้ หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ
รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 ได้รับรองสิทธิของชุมชนในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน และมาตรา 85 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลในด้านนโยบายภาคเกษตรและนโยบายที่ดิน ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยการคุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมเพื่อเป็นฐานการ ผลิตทางการเกษตรในระยะยาว การทำให้เกษตรกรมีสิทธิการถือครองที่ดินที่มั่นคง
ดังนั้นการแก้ไข ปัญหาที่ดินจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่ผ่านมาหลายฝ่ายมีการเสนอให้มีมาตรการทางกฎหมายต่อระบบภาษีที่ดินในอัตรา ก้าวหน้า การจำกัดการถือครองที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน การออกกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง และรัฐบาลไม่มั่นคง จึงทำให้มาตรการดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติ ดังนั้นคณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดิน การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และการรองรับสิทธิที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน จึงมีข้อเสนอมาตรการระยะสั้น ซึ่งจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่อสิทธิในที่ดิน และเป็นการดำเนินการที่เกิดขึ้นได้จริงในระดับพื้นที่ โดยให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญต่อการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และการจัดการที่ดิน สำหรับมาตรการระยะยาวในทางนโยบายและกฎหมายยังมีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องเร่ง ดำเนินการในการกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อป้องกันมิให้การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่เกษตรกรรมอย่างรวดเร็วและไร้ทิศ ทาง
มาตรการระยะสั้น
1) การจัดการที่ดินในรูปแบบของโฉนดชุมชน หมายความถึง การจัดการที่ดินโดยชุมชน
ซึ่ง มีความหลากหลายในรูปแบบการจัดการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเงื่อนไขขององค์กรชุมชนในแต่ละพื้นที่ ระบบนิเวศ วัฒนธรรมของชุมชน และเงื่อนไขในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่อสิทธิในที่ดิน การจัดการที่ดินต้องเริ่มต้นจากแต่ละชุมชนที่รัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิชุมชน และให้บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกันกับชุมชน
ปัจจัยสำคัญในการจัดการที่ดินโดยชุมชนมีดังนี้
(1) ขอบเขตพื้นที่ที่ดินในการจัดการมีความแตกต่างกันในทางระบบนิเวศ และสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและฐานทรัพยากรร่วมกัน มีทั้งรูปแบบของพื้นที่เขตการปกครอง พื้นที่หลายหมู่บ้าน หลายตำบล และพื้นที่ใช้ประโยชน์และจัดการร่วมกันได้จริง เนื่องจากสภาพพื้นที่และความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันไปแต่ละ กลุ่มชาติพันธุ์
(2) องค์กรชุมชนที่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และการควบคุมตรวจสอบกันเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรชุมชนมีศักยภาพที่เข้ม แข็ง ทั้งนี้รูปแบบขององค์กรชุมชนต้องมีความหลากหลายในรูปแบบของคณะกรรมการ สภา สหกรณ์ หรือร่วมกับ อปท.โดยตรง เป็นต้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นสอดคล้องกับศักยภาพขององค์กรชุมชน
(3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ ระหว่างองค์กรชุมชนและสมาชิกในชุมชนเพื่อให้เกิดการสื่อสารและแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งภายในชุมชน ตลอดจนการวางแผนการจัดการที่ดิน การสร้างกฎกติกาควบคุมการซื้อขายที่ดิน การออกกฎหมายภาษีที่ดินโดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมโดยการตรวจสอบโครงการพัฒนาต่างๆที่จะกระทบ ต่อพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรม
(4) การทำฐานข้อมูลการถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของสมาชิกใน
ชุมชน และการจัดการที่ดินของชุมชนในแปลงรวม เพื่อให้มีการตรวจสอบการควบคุมการซื้อขายที่ดิน ควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรในที่ดินที่ชุมชนจัดการ โดยสมาชิกในชุมชนร่วมกันทำฐานข้อมูลแผนที่ขอบเขตการจัดการที่ดินของชุมชน ทั้งที่ครอบคลุมถึงที่ดินส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำการเกษตรกรรม และทำกิจกรรมอื่นๆ ที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ป่าชุมชน จำนวนประชากรในชุมชน ซึ่งจะพบว่ามีผู้ไร้ที่ดิน และมีผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากน้อยต่างกัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดการที่ดินของชุมชน และเป็นฐานข้อมูลของการกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่ เกษตรกรรมในระดับประเทศ
(5) ลักษณะของสิทธิในการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินต้องอยู่บนฐานของ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลและยั่งยืน และเคารพสิทธิของบุคคลและชุมชนร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างกฎกติกาควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและการทำ กิจกรรมในพื้นที่ของชุมชน ตลอดจนการวางแผนการใช้ที่ดิน และการวางผังเมืองของชุมชน
(6) ชุมชนร่วมกับ อปท. พัฒนาระบบภาษีและจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยให้มีธนาคารที่ดินในระดับพื้นที่เพื่อซื้อที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์มา จัดสรรที่ดินให้กับคนไร้ที่ดินในชุมชน และการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรมาทำเกษตรกรรม และร่วมรักษาพื้นที่เกษตรกรรม
(7) กลไกในระดับจังหวัดที่มีองค์ประกอบจากหลายฝ่าย และตัวแทนของชุมชนเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ และส่งเสริมการจัดการที่ดินของชุมชน และกำหนดนโยบายภาพรวมของจังหวัดในการวางแผนการใช้ที่ดินและการวางผังเมือง โดยกลไกนี้ต้องมีองค์ประกอบของหน่วยงานของรัฐ อปท. ชุมชน และคนในเมือง ที่มีการลงพื้นที่เข้าใจสภาพข้อเท็จจริง และหนุนเสริมข้อมูลทางนโยบายให้กับชุมชน
2) การดำเนินการดังกล่าวให้เริ่มทันทีในพื้นที่ของชุมชนที่มีความพร้อม นำร่องให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วจึงขยายผล โดยใช้มาตรการทางนโยบายมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ ระหว่างดำเนินการให้สรุปบทเรียนจากกรณีที่ทำสำเร็จ และดำเนินออกเป็นกฎหมายต่อไป
หากการจัดการที่ดินและฐานทรัพยากรโดยชุมชน ดำเนินการได้ตามนี้ ประเทศไทยจะมีฐานข้อมูล การกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และการออกกฎหมายที่ส่งเสริมชุมชนท้องถิ่น ในการวางแนวทางการกระจายการถือครองที่ดิน และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีผลปฏิบัติจริง ทั้งนี้กลไกในระดับชาติและระดับจังหวัดจึงมีความสำคัญที่ต้องมาจากหลายฝ่าย ให้เกิดการทำงานร่วมกัน และมีการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างโปร่งใส
มาตรการระยะยาว
(1) ให้มีมติคณะรัฐมนตรียกเลิกแนวทางการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน เนื่องจากเป็นการ
สร้าง ปัญหาความขัดแย้ง แต่ให้ใช้แนวทางการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกับอปท. ทำฐานข้อมูลที่ดินร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางการจัดการที่ดินโดยชุมชน การจัดเก็บภาษีที่ดินโดยชุมชน การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมโดยชุมชน และการจัดตั้งธนาคารที่ดินโดยชุมชน
(2) ให้มีนโยบายรับรองสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนในการถือครองที่ดินอย่างมั่นคง ในรูปแบบของการจัดการที่ดินโดยชุมชน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในที่ดิน โดยใช้ฐานข้อมูลจากการสำรวจสภาพความเป็นจริงของชุมชน
(3) ให้มีนโยบายตั้งกลไกในระดับชาติและระดับจังหวัด เพื่อมีบทบาทส่งเสริม
สนับ สนุนการดำเนินการตามข้อ 1 และการมีฐานข้อมูลในการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้มาตรการทางภาษีในการจัด เก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า การจัดเก็บภาษีเพื่อการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งภาษีสิ่งแวดล้อม ที่อยู่บนฐานของการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นร่วมจัดเก็บภาษี
(4) ให้มีนโยบายกำหนดเขตการใช้ที่ดิน (Zoning) ร่วมกับนโยบายด้านผังเมือง โดยให้ อปท. ร่วมกับชุมชนมีส่วนร่วมพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และมีการเก็บภาษีในอัตราที่สูงกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับ ศักยภาพของพื้นที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตที่รัฐบาลลงทุนทำโครงการไป แล้วเช่น เขตชลประทาน เป็นต้น ให้มีการลดหย่อนภาษีที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อสร้างแรงจูงให้ประชาชนมาทำเกษตรกรรม
(5) สำรวจตรวจสอบที่ดินที่อยู่ภายในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ว่ามีที่ดินใดบ้างที่ปล่อยให้ทิ้งรกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์เกินกว่า ๑๐ ปี เพื่อส่งเรื่องให้อธิบดีกรมที่ดินตรวจสอบและเพิกถอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบ ครอง และพิจารณานำที่ดินนั้นไปจัดสรรให้แก่ผู้ยากไร้ขาดแคลนที่ดินต่อไป
(6) สนับสนุนงบประมาณในการสำรวจขอบเขตที่ดินของชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือ กลไกสำหรับการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น งบประมาณการจัดหาแผนที่ ๑: ๔๐๐๐ การรังวัดสำรวจที่ดิน การจับพิกัด GPS และสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมการจัดการที่ดินโดยชุมชนทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น
(7) จัดตั้งธนาคารที่ดินทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยนำรายได้จากภาษีที่เก็บได้มาไว้ในธนาคาร รวมกับงบประมาณของรัฐที่สนับสนุนในธนาคารที่ดิน มาซื้อที่ดินเอกชนที่ไม่ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำมาปฏิรูปที่ดินให้แก่ประชาชนที่ไร้ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
(8) การดำเนินการออกกฎหมายที่แก้ไขปัญหาในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอดัง กล่าวทั้งกฎหมายภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า กฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.