“วันนี้ข้าวเจ้า 5% ก็ขายถูกไม่ได้ โดนอินเดียค้ำคออยู่ เราขาย 400 -410 ดอลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วน อินเดีย ขาย 360 ดอลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนเวียดนามข้าวนุ่มขายแพงกว่า ราคา 430 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เช่นเดียวกับข้าวแข็งแพงกว่าไทยอีก แต่ตลาดต้องการ ผมถามว่าเราจะไปยืนอยู่ตรงจุดไหน ส่วนข้าวเหนียว เวียดนามปลูกเพื่อส่งออก ขายประมาณ 480 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่ไทยปลูกไว้กินเอง ส่งออกนิดหน่อย ขาย 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน มองไม่เห็นอนาคตของการส่งออกเลย"
นายเจริญ กล่าวว่า ตลาดส่งออกข้าวในฤดูใหม่ ปีนี้เงียบเพราะ 1. ประเทศจีนยังปิดประเทศอยู่ จากโควิด ส่งผลทำให้ร้านอาหารยังเปิดไม่ได้ การซื้อของในซุปเปอร์มารเก็ตยาก ส่วนสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดใหญ่ ช่วง 3-4 เดือนที่แล้วของเข้าไปเยอะสต๊อกเต็มยังขายไม่หมด จะซื้อข้าวใหม่ก็มีปัญหา จากท่าเทียบเรือสมัยก่อน ไป แอลเอ ตู้ละประมาณ 5,000 ดอลาร์สหรัฐ วันนี้เหลือ 1,000 ดอลาร์สหรัฐ เพราะฉะนั้นคนส่งออกช้า ยิ่งได้เปรียบท่าเรือถูกลง ราคาข้าวก็ถูกลง
ส่วน “ฮ่องกง” ตลาดค่อนข้างจำกัด “มาร์เก๊า” ยังไม่เปิดบ่อนคาสิโน ยังไม่มีการซื้อขาย ทำให้ตลาดข้าวใหม่ไม่คึกคัก ถามว่าจะดีขึ้นไหมต่องดูที่ราคา ถ้าขายในราคา 500-600 ดอลลาร์ต่อตัน เท่ากับราคาข้าวเวียดนาม ก็เชื่อว่าจะทำให้ขายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าดึงราคาขึ้นไปถึง 800-900 ดอลาร์สหรัฐก็ต้องขายลำบาก เรื่องราคาอยู่ที่ตลาดไม่ใช่อยู่ที่ผู้ส่งออกว่าจะขายเท่าไร ดังนั้นอยากเห็นความร่วมไม้ร่วมมือชาวนา โรงสี และผู้ส่งออก ในการตั้งไรซ์บอร์ด (อ่านข่าว) ยุค คสช. เพื่อกำหนดนโยบายแล้วให้รัฐบาลทำตามยังเป็นแค่ความฝัน
ด้านนายวิชัย ศรีนวกุล นายกสมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าว การดึงองค์กรต่างแนะให้ตั้งเป็นสมาพันธ์ สามารถตั้งได้เลย ให้ทุกสมาคมองค์กรข้าวมารับข้อกำหนดร่างระเบียบขึ้นมาให้ส่งกรรมการมากี่คนแล้วเวียนเป็นประธานสมาพันธ์เพื่อกำหนดทิศทางของเรื่องข้าวจะไปไหนทิศทางไหน หากเป็นแนวทางนี้จะง่ายกว่าการตั้งไรซ์บอร์ด ฝากการบ้านให้สมาคมส่งออกข้าวไทยกลับไปพิจารณา
ด้านนายไพบูลย์ รุ่งรัชกานนท์ ผู้ประกอบการโรงสีข้าวเอกไพบูลย์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จากโรงสีภาคกลาง มาเปิดลานรับซื้อ ปั่นราคากันสนุกมาก สาเหตุที่ราคาปรับสูงขึ้นในช่วงต้น 1. เพราะโรงสีในจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่งเปิดรับซื้อ วันที่ 1 พ.ย. 65 เพราะก่อนหน้านี้ กข15 ที่ออกมามีโรงสีทำไม่กี่โรง เปิดเฉพาะคนที่รับยี่ปั๊วไว้ ซื้อของ แล้วค่อยผ่อนราคาลง
"อุบลราชธานี" เป็นจังหวัดแปลกอยู่อย่างหนึ่ง กล่าวคือ ข้าวจะออกก่อนเลยมีจากโรงสีภาคกลาง และโรงสีต่างถิ่น มาแย่งกันซื้อ แต่พอช่วงที่ข้าวออกมามากก็กลับไปหมด ราคาข้าวจึงปรับตัวลดลง แล้ว ที่สำคัญจังหวัดอุบลฯ ข้าวหมด ก็หมดเลย แต่ถ้าโรงสีอุบลฯ จะไปลากข้าวจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ กลับมา ต้นทุนก็เพิ่ม แล้วไปส่งที่กรุงเทพฯ ก็ย้อนไปย้อนมาไม่คุ้ม แล้วที่สำคัญคุณภาพข้าวก็ไม่เหมือนกันด้วย ขนาดข้าวในอุบลฯ ที่นำมาขายโรงสีก็ยังตรวจสอบทุกเจ้าที่เข้ามาขาย แต่ราคาจะอ่อนลงไม่มาก ปีนี้ราคาไม่น่าต่ำกว่า 11,500 บาท/ตัน ข้าวเกี่ยวสด
ที่มา คอลัมน์การค้า การเกษตร ฐานเศรษฐกิจ / 15 พฤศจิกายน 2565
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.