1.สังข์หยด จ.พัทลุง เป็นข้าวที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับรอง ตั้งแต่วันที่ 23 มิถ.ย.2549 ให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พันธุ์แรกของประเทศไทย (จีไอ) โดยชื่อข้าวสังข์หยดหมายถึง ข้าวที่ผลิตตามระบบการตรวจรับรองการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ (GAP) และภายใต้เงื่อนไขสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
2.ลืมผัว ข้าวไร่ที่เป็นข้าวเหนียวนาปีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 3 ต.รวมไทยพัฒนา อ.พบพระ จ.ตาก สูงจากระดับน้ำทะเล 650 เมตร โดยคุณพนัส สุวรรณธาดา เจ้าพนักงานการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ ได้นำมาคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ระหว่างปี 2534-2538
3.เสาไห้ มีลักษณะที่โดดเด่น คือ เมล็ดสวย เรียวยาว ถ้าเป็นข้าวเกี่ยวจะเป็นข้าวเคี่ยว คือ หุงขึ้นหม้อ ถ้าเป็นข้าวใหม่เมื่อหุงแล้วจะนุ่มหอมมีลักษณะคล้ายกับข้าวหอมมะลิทั่วไป แหล่งที่พบบ้านเสาไห้ ต.เสาไห้ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
4.หอมมะลิแดง ข้าวเจ้านาปี กลายพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งพบในแปลงปลูกของสถานีทดลองข้าว จ.สุรินทร์ พ.ศ.2525-2526 จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ ข้าวพันธุ์หลัก ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ซึ่งมี คุณบุญโฮม ชำนาญกุล ผอ.สถานีขณะนั้น พบว่า ในรวงข้าวหนึ่งมีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ จึงแยกเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียว และแยกเมล็ดแต่ละรวงไปปลูกศึกษาลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527-2542 จนขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์ข้าวทั่วไป ใช้ชื่อว่า “ข้าวหอมแดง” (Red Hawm Rice) หรือ มะลิแดง
5.หอมนิล จัดเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งปี การแตกกอดี ต้นสูง 75 เซนติเมตร ใบและลำต้นสีเขียวอมม่วง เมล็ดข้าวยาว 6.5 มิลลิเมตร สีม่วงดำ อายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 400-700 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้
6.เล็บนก หรือเฉี้ยงพัทลุง อีกหนึ่งสายพันธุ์ขึ้นชื่อของ จ.พัทลุง ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ดี ปลูกได้ในหลายท้องที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีชลประทาน และที่อาศัยน้ำฝน
7.พญาลืมแกง เป็นข้าวไร่พื้นเมือง รวบรวมได้จาก อ.บ้านแพง จ.นครพนม ขึ้นชื่อเรื่องความอ่อนนุ่ม รสชาติอร่อย มีคุณสมับติพิเศษคือไวต่อช่วงแสงต้นสูงราว 150 เซนติเมตร ลำต้นอ่อน ล้มง่าย แตกกอน้อย ใบสีเขียวแก่ ใบธงห้อย รวงยาว จับถี่ เมล็ดแบน เปลือกเกลี้ยง สีเหลืองอ่อน มีหางยาว เมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น เก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม
8.เหลืองปะทิว ข้าวประจำจังหวัดชุมพร อีกหนึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเลื่องชื่อของภาคใต้ ประจำ อ.ปะทิว จ.ชุมพร มีอายุมานานกว่าสองร้อยปีแล้ว และ
9.มะลิโกเมนสุรินทร์ และมะลินิลสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว คณะเทคโนโลยี และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทั้งนี้ ยังมีข้าวพิ้นเมืองอีกหลากหลายสายพันธุ์ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและควรมีการต่อยอดสู่งานวิจัยในอนาคต
ที่มา : คมชัดลึก วันที่ 4 ก.ค. 2559
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.