(รายงาน) จับตาหนี้ครัวเรือน'ผิดชำระ' สศช.คาดปี2558ขยับแตะ88%จีดีพี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยในรอบปี 2557 โดยหนี้สินภาคครัวเรือนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง แม้มีแนวโน้มชะลอลง มีรายละเอียดดังนี้
ในปี 2557 การจ้างงานลดลง 0.4% อัตราการว่างงานเท่ากับ 0.84% ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่หักด้วยเงินเฟ้อแล้วเพิ่มขึ้น 1.3% ยังคงต้องติดตามปัญหาภัยแล้ง และการเคลื่อนย้ายของแรงงาน
ผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังต้องเฝ้าระวังการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชน
คดีอาญาในปี 2557 ลดลง โดยคดียาเสพติดยังคงมีสัดส่วนมากที่สุด แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมควรใช้กระบวนการยุติธรรม มาตรการที่เข้มข้น เร่งรัดคดีที่มีผลเสียร้ายแรง นำผู้กระทำ ผิดมาลงโทษ มุ่งแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน
ทั้งปี 2557 มีการรับแจ้งอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 3.7% มีผู้เสียชีวิตลดลง 13.5% จึงต้องให้ความสำคัญกับการบังคับใช้และดำเนินคดีด้านการจราจรทางบก การปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยและป้องกันตนจากอุบัติเหตุ
การเปิดตัวรายงานความก้าวหน้าในการต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทยประจำปี 2557 เพื่อรายงานความก้าวหน้าและความสำเร็จสำคัญในปี 2557 โดยรัฐบาลมีมาตรการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง
หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ชะลอตัว หนี้เสียต่อสินเชื่อยังไม่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อภาพรวม แต่ต้องเฝ้าระวังครัวเรือนกลุ่มเสี่ยงที่เป็นหนี้และมีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย ซึ่งมักจะอ่อนไหวต่อปัจจัยที่เข้ามากระทบและทำให้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ รวมถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของครัวเรือน
ก่อหนี้ครัวเรือนชะลอ แต่ต้องจับตาผิดนัดชำระหนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสามปี 2557 เท่ากับ 10,220,463 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 84.2% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) ทั้งนี้ คาดว่าในไตรมาสสี่ มูลค่าหนี้สินครัวเรือนจะยังเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มในอัตราที่ชะลอตัว ซึ่งคาดว่าจะทาให้สัดส่วนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 85%
การสิ้นสุดของมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้และการมีงานทำในอนาคต รวมถึงภาระหนี้สินที่ต้องชำระคืน ทำให้การก่อหนี้ของครัวเรือนชะลอลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี 2556 ดังจะเห็นได้จากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงจาก 10.7% 8.8% และ 8.0% ในไตรมาสหนึ่ง-ไตรมาสสามที่ผ่านมา และเป็น 7.4% ในไตรมาสสุดท้ายของปี
การก่อหนี้ยังเพิ่มขึ้นในด้านที่อยู่อาศัย และการบริโภคอื่นๆ ขณะที่การก่อหนี้เพื่อซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ลดลง 3.4%
หนี้เสียยังไม่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อภาพรวม แต่ต้องเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ณ สิ้นไตรมาสสี่ปี 2557 หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่า 83,451 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 16.5% แต่มีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมเพียง 2.4%
สินเชื่อภายใต้การกำกับผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น 30.4% คิดเป็นมูลค่า 14,238 ล้านบาท และเป็นสัดส่วน 4.6% ของสินเชื่อภายใต้การกำกับรวม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสัดส่วน3.0% และ 3.7% ณ สิ้นปี 2555 และ 2556 ตามลำดับ
สำหรับยอดคงค้างชำระบัตรเครดิตเกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น 25.3% คิดเป็นมูลค่า 8,316 ล้านบาท และเป็นสัดส่วน 2.6% ต่อยอดคงค้าง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสัดส่วน 1.9% และ 2.3% ณ สิ้นปี 2555 และ 2556 ตามลำดับ
แม้หนี้เสียของสินเชื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมจะยังมีสัดส่วนที่ตํ่า แต่สัดส่วนการผิดนัดชาระหนี้ของสินเชื่อภายใต้การกำกับ และบัตรเครดิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังการผิดนัดชาระหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มเสี่ยง (คนงานเกษตร และคนงานทั่วไป) ซึ่งมีรายได้น้อย แต่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงประมาณ 85-89% เมื่อประกอบกับภาระการชาระคืนหนี้ประมาณ 17-18% ของรายได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครัวเรือน และมีโอกาสผิดชาระหนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของประชาชน” โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่พบว่ากลุ่มที่มีรายได้ตํ่ามีหนี้บัตรเครดิตต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูงและมีภาระการจ่ายคืนหนี้ต่อรายได้สูงเช่นกัน รวมถึงความนิยมแบ่งจ่ายชาระหนี้ทำให้มีภาระดอกเบี้ยและอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ใช้บัตรเครดิตกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชาระหนี้มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลง และรายได้ลดลง
สำหรับแนวโน้มการก่อหนี้ครัวเรือนในปี 2558 คาดว่ามูลค่าหนี้ครัวเรือนจะยังเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว จากปัจจัยดังนี้
(1) การระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน (2) การชะลอการก่อหนี้ใหม่ที่ไม่จำเป็นของกลุ่มแรงงานที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยของครัวเรือนที่มีหนี้อยู่แล้ว ทั้งจากการไม่สามารถกู้เพิ่มได้ และไม่สามารถรับภาระหนี้เพิ่มได้ (3) รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ทั้งจากค่าจ้างแรงงานขั้นตํ่าที่คงที่ และราคาสินค้าเกษตรที่ยังลดลง จะทำให้ครัวเรือนชะลอการใช้จ่าย ซื้อสินค้าคงทนออกไป
ดังนั้น หนี้สินครัวเรือนในปี 2558 จึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นช้า ขณะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่มากกว่า ทำให้คาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี เป็นประมาณ 87-88% สำหรับ ประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังและต้องดำเนินการต่อเนื่อง คือ
-การผิดนัดชาระหนี้ของกลุ่มเสี่ยงผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน แต่กลุ่มเสี่ยงนี้จะมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยต่างๆ ที่มากระทบมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น เศรษฐกิจ พิบัติภัย และความจำเป็นฉุกเฉิน เป็นต้น เนื่องจากการสำรองเงินออมของกลุ่มนี้มีน้อยจากภาระการใช้คืนหนี้และความจำเป็นใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสเป็นหนี้นอกระบบ
-หากการดำเนินมาตรการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นสินเชื่อบุคคลเพื่อนำไปประกอบอาชีพโดยไม่มีหลักทรัพย์คํ้าประกัน คาดว่าจะช่วยให้ผู้มีรายได้ตํ่าและไม่มีหลักประกันทางการเงินสามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพได้ อาจจะช่วยบรรเทาปัญหาการก่อหนี้นอกระบบ แต่เป็นการก่อหนี้ในระบบแทนซึ่งอาจจะทำให้มูลค่าหนี้ครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น
- การเร่งสร้างวินัยและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงวัยแรงงาน โดยการปลูกฝังพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างประหยัด สมเหตุสมผลตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ขณะที่ส่งเสริมการออมในวัยแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นคงของครอบครัวและชีวิตในวัย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ก.พ. 2558