อัตราการว่างงานทางการของประเทศไทย ช่วงสิ้นปี 2557 อยู่ที่ 0.56% ถือว่าเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน อัตราว่างงานอินเดียและฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ที่ 9.4% และ 6%
นี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ เพราะไทยมีอัตราการว่างงานต่ำกว่า 1% ตั้งแต่ปี 2554 ส่วนสถิติสูงสุดอยู่ที่เดือนมกราคม 2544 อัตราว่างงานอยู่ที่ 5.73% ซึ่งเป็นช่วงปีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติไทยเริ่มจัดทำอัตราว่างงานออกมาทุกๆ เดือน
แต่ทำไมตัวเลขนี้ถึงน้อยนัก ?
จิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "อัตราการว่างงานของเราต่ำมาตลอด ไม่ได้เป็นเพราะว่าเรามีนิยามที่ต่างจากประเทศอื่นๆ แต่เป็นเพราะโครงสร้างของปัญหา"
จิรเทพ กล่าวอีกว่า "แรงงานของภาคการเกษตรนั้น มีบางส่วนที่เมื่อไม่ได้ทำการเกษตร ก็จะหันไปทำงานเล็กๆ น้อยๆ อย่างอื่น ซึ่งระบุไม่ได้ชัดเจน หรือไม่ก็ทำงานอิสระ ที่เป็นนายจ้างตัวเอง ไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร"
ไม่มีสวัสดิการอาหารกลางวันฟรี
อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ประเทศไทยมีสวัสดิการประกันการว่างงานไม่ทั่วถึง จึงเป็นผลให้ไม่มีคนว่างงานนาน และเมื่อไม่มีงานทำ แรงงานเหล่านั้นจะหันไปทำงานในภาคแรงงานนอกระบบ หรือไม่ก็หางานพาร์ทไทม์ทำ ซึ่งนั่นเป็นการนับว่า มีงานทำแล้วในไทย
แรงงานในสวน
ประชากรมากกว่า 40% ของประเทศไทยอยู่ในแรงงานภาคเกษตร ซึ่งแรงงานเหล่านี้จะมีงานทำไม่เต็มวัน (underemployment) และยังว่างงานช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกอีกด้วย ซึ่งการจ้างงานไม่เต็มวันนี้ ประเทศไทยนับว่าเป็นการมีงานทำ และเป็นตัวเลขราว 0.5% จากทั้งหมด เป็นต้นว่า หากคุณไม่ได้ถูกว่าจ้างจากการเป็นพนักงานธนาคารอีกต่อไปแล้ว คุณจะกลับบ้านเกิดและไปช่วยงานที่สวนของพ่อ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เช่นนี้ถือว่า คุณได้รับการจ้างงานแล้ว
มีเด็กทารกน้อยเกินไป
สถิติจากหน่วยงานด้านประชากร ของสหประชาชาติ ระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเกิด ตั้งแต่ปี 2553-2558 อยู่ที่ 1.4 เทียบกับฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ที่ 3.4 มากกว่านั้น ในปี 2537 ประชากรอายุ 60 ปี และมากกว่านั้น สูงขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 15% จากที่เคยอยู่เพียง 7% จึงทำให้มีจำนวนผู้เกษียณอายุมากขึ้นและมีคนเหล่านี้เข้าไปในระบบการจ้างงานน้อย ซึ่งหากเทียบกับญี่ปุ่นจะพบว่า ประชากรมากกว่า 25% มีอายุมากกว่า 65 ปี มีอัตราการว่างงานสูงกว่า 3%
แรงงานต่างชาติ
จากสถิติของฮิวแมน ไรท์ วอช ระบุว่า ไทยมีแรงงานจากกัมพูชา, สปป.ลาว และเมียนมาร์ มากกว่า 3 ล้านคน ในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากเป็นคนงานต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน โดยรัฐบาลไทยเดินหน้าจัดการการลงทะเบียนแรงงานต่างชาติ แต่ก็ยังมีประเด็นกำแพงทางภาษาที่ท้าทายแรงงานไทยเนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ไทยก็ไม่เหมือนสิงคโปร์ที่มีการพุ่งเป้าไปที่การควบคุมจำนวนแรงงานบางส่วนและเปิดบางส่วนอย่างชัดเจน
เฉดของความคลุมเครือ
ภาคเศรษฐกิจไทย นับรวมประชากรทุกคนที่ไม่ได้ทำงานในเซ็กเตอร์ใดๆ ชัดเจนเข้าไปด้วย ซึ่งตัวเลขในปี 2556 มีมากกว่า 64% จากแรงงานทั้งหมด ในจำนวนนี้นับรวมคนขายของริมทาง คนขับแท็กซี่ และคนที่ทำงานอิสระ ซึ่งผู้ที่ทำอาชีพเหล่านี้ถือเป็นจำนวนตัวเลขที่คลุมเครือในทางเศรษฐกิจ และไทยก็นับรวมว่าเป็นผู้ที่ถูกจ้างงาน
เนื่องจากไทยไม่มีการเปลี่ยนนโยบายหลักๆ ด้านตลาดแรงงาน และตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2558 ที่ตกลงต่ำกว่ากรอบเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 1-4% นับเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆ ว่ารัฐบาล หรือผู้กำหนดนโยบายทางการเงินจะกังวลเกี่ยวกับตัวเลขการว่างงาน ตัวเลขนี้จึงจะยังคงต่ำต่อไปเช่นนี้
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 6 ก.พ. 2558
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.