พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมครม.มีมติ เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. .
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอกรรมการประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2
มีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 9 คนและมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 10 คน จากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนองค์กรเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรดินและมิได้มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือมุ่งค้าหากำไรและผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน ด้านการปฏิรูปที่ดินด้านการผังเมือง ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านกฎหมายที่ดิน และด้านเศรษฐศาสตร์
โดยให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการ และเลขานุการ และให้ข้าราชการในสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 12 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ กรรมการมีวาระ 4 ปี อำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติกำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำ ปรับปรุง แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย หรือกฎเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน หรือทรัพยากรดิน เพื่อดำเนินการต่อไป เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา สั่งการ ในเชิงบริหาร กรณีที่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินซํ้าซ้อนหรือขัดแย้งกัน เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่
ทั้งนี้ ครม.มีมติอนุมัติให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 เรื่อง นโยบายการใช้กรรมสิทธิ์ที่ดิน ข้อ ฉ ที่กำหนดให้การจัดที่ดินซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้ดำเนินการต่อไป แต่ไม่ให้ขยายพื้นที่ดำเนินการ ยกเว้นในกรณีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและพัฒนาที่ดิน ฯลฯ
สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
1. กำหนดนิยามคำว่า “การบริหารจัดการ” “ที่ดิน” และ “ทรัพยากรดิน” (ตามร่างข้อ 3)
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดิน แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า คทช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2 มีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 9 คน และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 10 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรดินและมิได้มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือมุ่งค้าหากำไร และผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรดิน ด้านการปฏิรูปที่ดิน ด้านการผังเมือง ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมายที่ดิน และด้านเศรษฐศาสตร์ โดยให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการในสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 12 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ (ตามร่างข้อ 4)
3. กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ตํ่ากว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ และไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (ตามร่างข้อ 5-6)
4. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่รวม 7 ประการ เช่น กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ กำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดิน เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จัดทำ ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายหรือกฎเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินเพื่อดำเนินการต่อไป เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในเชิงบริหารกรณีที่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินซํ้าซ้อนหรือขัดแย้งกัน เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ (ตามร่างข้อ 8)
5. กำหนดให้ค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและคณะอนุกรรมการ ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตามร่างข้อ 15)
ปัจจุบัน พื้นที่ที่กรมป่าไม้ มอบให้ สปก.ไปปฎิรูปทั้งหมดจำนวน 38.68 ล้านไร่ ซึ่งจากข้อมูลปี 2551 มีสภาพพื้นที่ที่เหลือเป็นป่าอยู่ 2.57 ล้านไร โดยตลอด2ปีที่ผ่านมา ส.ป.ก.ได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ ได้ทั้งหมด 18 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดที่ ส.ป.ก. ได้จัดสรรให้แก่เกษตรกร 34 ล้านไร่ พบว่า มีการใช้ที่ดินผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์ ประมาณ 10,000 ไร่
ขณะที่ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมว่า จากการตรวจสอบที่ดินสปก.พบว่า ที่ดินสปก.ที่แจกให้กับเกษตรกรมีการเปลี่ยนมือเพียง 10 % และมีเอกชนที่บุกรุก 30% ยอมออกจากที่ดินรัฐ ที่เหลือต่อสู้คดี ซึ่งขณะนี้ถือเป็นนโยบายที่จะดำเนินการเด็ดขาด โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 ล้านไ ร่ที่นายทุนครอบครองจนสปก.ยังเข้าไปดำเนินการไม่ได้
พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า จะตั้งคณะทำงานร่วมกันทั้งสองกระทรวงโดยปลัดสองกระทรวงเป็นประธานร่วมกัน และแต่งตั้งขณะทำงานในระดับพื้นที่โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ซึ่งประกอบด้วยปฎิรูปที่ดินจังหวัด ตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรฯ ผู้แทนจากองทัพหรือ กอ.รมน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงานเพื่อตรวจสอบเรื่องการบุกรุกที่ดินและที่ดินทับซ้อน
ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายชัดเจนว่าให้ประชาชนที่ไม่มีทำกินได้ใช้ประโยชน์จากพื้นป่าร่วมกันเพื่อจะได้รักษาป่าไว้ได้ด้วยแนวทางของรัฐบาลและให้รักษาพื้นที่ที่ยังคงสภาพป่าไว้ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการจัดเป็นที่ดินทำกินสำหรับผู้ยากไร้ ซึ่งเมื่อได้ที่ดินกลับมาก็จะมีการหารือว่าส่วนไหนจะเป็นป่า ส่วนไหนจะจัดให้เป็นที่ดินทำกิน
พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า เราจะทำตามสัญญา แม้การทำงานป่าไม้ ไม่ง่าย ปัญหาสะสมมากนาน แต่ตอนนี้จะช่วยกันทำงาน
ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันที่ 14 ต.ค. 2557