ปัญหาใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติในอนาคตอันใกล้นี้คือปัญหาอาหาร แหล่งที่มาของอาหารคือเกษตรกรรม สังคมมนุษย์ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้ามีแต่อุตสาหกรรม ทอดทิ้งละเลยเกษตรกรรม อาหารขาดแคลนก็คงอยู่กันไม่ได้
ปัจจุบันนี้ แม้ตัวเลขรายได้ประชาชาติของไทยในส่วนของภาคเกษตรจะน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม แต่ถ้าคำนึงถึงจำนวนและการกระจายตัวของราษฎรแล้ว ประชากรในภาคชนบทก็ยังเป็นส่วนข้างมาก และถ้าการเกษตร ทั้งการกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ฯ เจริญรุ่งเรืองดี สร้างรายได้ให้ราษฎรมีความผาสุกได้แท้จริงแล้ว คนไทยก็คงจะทำมาหากินในบ้านเกิด ในชนบทต่อไป ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนจากบ้านออกไปขายแรงงานราคาถูกในเมืองหรือต้องไปขายแรงงานในต่างประเทศ
การปฏิรูปการเมืองให้ระบอบประชาธิปไตยมั่นคงมีเสถียรภาพนั้น เนื้อหาแท้จริงอยู่ที่การปฏิรูปเศรษฐกิจ ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ทำให้ราษฎรมีระดับชีวิตความอยู่ในระดับชนชั้นกลาง ซึ่ง เป็นไททางเศรษฐกิจ
การพัฒนาการเกษตรให้เจริญก้าวหน้านั้น ต้องดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานสูงตรงตามรสนิยมและความประสงค์ของผู้บริโภค ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตอย่างต่อเนื่องครบทั้งกระบวนการเพื่อให้เป็นสินค้าอาหารสำเร็จรูป
มีมาตรฐานระดับนำหน้าด้านการตลาด รัฐต้องมุ่งเปิดตลาดใหม่ในประเทศที่ขาดแคลนอาหาร ลดความสำคัญของตลาดในประเทศที่กีดกันทางการค้าลง พร้อมทั้งร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรอื่นเพื่อวางมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาพืชผลเกษตรอย่างได้ผล สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางการกสิกรรมที่ต้องเร่งปฏิรูป ได้แก่
1. ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องปฏิรูปที่ดิน ทำให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
2. ต้องสร้างเครือข่ายชลประทานให้สมบูรณ์
3. ต้องพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าเกษตรไปยังตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
4. ต้องพัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตร สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ผลิตโครงสร้างพื้นฐานการกสิกรรมโครงสร้างพื้นฐานการกสิกรรมที่ต้องปฏิรูปนั้น ประการสำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
1. ที่ดินเพื่อการเกษตร เกษตรกรจำนวนมากยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน จำนวนหนึ่งเคยมีแต่ก็ถูกยึดไปแล้วเนื่องจากปัญหาหนี้สิน การที่เกษตรกรต้องเช่าที่ดินในอัตราค่าเช่าแพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าเกษตรกรที่มีที่ดินเป็นของตนเอง ยิ่งกว่านั้น เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองยังไม่อาจแสวงหาทุนมาใช้ในการปรับปรุงที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ขาดขวัญและกำลังใจในการพัฒนาการผลิต รัฐจะต้องปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกรได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินโดยทั่วถึง
นอกจากนั้นยังต้องดำเนินการปรับสภาพที่ดินทำกินโดยทั่วถึง นอกจากนั้นยังต้องดำเนินการปรับสภาพที่ดินให้มีการชลประทาน โดยมอบหมายให้ อบต.ทุกแห่งร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรฯ และกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการสำรวจสภาพการถือครองที่ดินของเกษตรกรและวางแผนแก้ไขปัญหาอุปสรรคทั้งหลายให้บรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนด
ที่มา : สยามรัฐ วันที่ 13 ส.ค. 2557