เชียงใหม่/กลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือบน-ล่างกว่า 2,000 คนบุกศาลากลางเชียงใหม่ จี้รัฐแก้ปัญหาหนี้สินคนจน เร่ง ครม.หนุนงบประมาณสู่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
วันนี้ (3 เม.ย.56)เวลา 14.00 น.เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างกว่า2,000 คน ปักหลักชุมนุมบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯ โดยยื่นหนังสือผ่านนายธานินทร์ สุภาแสนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
นายสมศักดิ์ โยอินชัยแกนนำเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือ กล่าวว่า"การมาปักหลักชุมนุมในครั้งนี้มีพี่น้องชาวบ้านจากหลายจังหวัดมาร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาเรื่องหนี้ซึ่งมีพี่น้องที่มาจากภาคเหนือตอนล่าง และภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานีตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลำปาง ลำพูน พะเยา น่าน เชียงราย เชียงใหม่กว่า 2,000 คน
ตั้งแต่ปี2546การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯยังมีน้อยมากพี่น้องเกษตรกรจึงเห็นร่วมกันว่า หากจะแก้ปัญหาหนี้สินนั้น จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและรัฐบาลควรเข้ามาดำเนินการ เมื่อปี 2553รัฐบาลได้มีมติให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกรแต่โครงการปรับโครงสร้างหนี้นั้น ใกล้หมดระยะเวลาที่กำหนดภายในวันที่ 7 เมษายน 2556 นี้ พวกเราจึงต้องเดินทางมาศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป
ส่วนเหตุผลที่เกษตรกรต้องการให้ย้ายหนี้จากธ.ก.ส.มาไว้ที่กองทุนฟื้นฟูฯนั้น เนื่องจากที่ผ่านมาตามกฎหมายคือให้รัฐบาลนำเงินมาให้กองทุน และให้กองทุนเอางบประมาณที่ได้จากรัฐบาลนำไปใช้หนี้แทนเกษตรกร แต่การย้ายหนี้คือรัฐบาลไม่ต้องเอาเงินมาให้กองทุนฯ ซึ่งเกษตรกรพร้อมจะชำระหนี้ครึ่งหนึ่ง ส่วนรัฐบาลก็นำเอางบประมาณไปชดเชยให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. อีกครึ่งหนึ่งหากดำเนินแก้ไขปัญหาได้นั้น เกษตรกรจะสามารถลดหนี้สินของตนเองได้ เช่นหากเกษตรกรเป็นหนี้ 100,000 บาท จะลดเหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งผ่อนชำระให้กับกองทุนฟื้นฟูฯเป็นระยะเวลา20 ปี ดอกเบี้ยของกองทุนฟื้นฟูฯ จ่ายเพียงร้อยละหนึ่งบาท หากเป็นหนี้ ธ.ก.ส. เกษตรกรก็ต้องจ่ายดอกแพงกว่า กองทุนฯซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระหนี้สินของเกษตรกรลงได้และพี่น้องเกษตรกรก็สามารถลืมตาอ้าปากได้ "นายสมศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือต้องการให้รัฐบาลดำเนินการย้ายหนี้จาก ธ.ก.ส. และหนี้NPLเข้าสู่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คือ50%ที่เกษตรกรจะผ่อนชำระ ให้ผ่อนชำระผ่านกองทุนฟื้นฟูแล้วกองทุนฟื้นฟูส่งให้ธ.ก.ส.ซึ่งทางธ.ก.ส.เองจะได้เงินต้นที่ปล่อยกู้ให้เกษตรกรเต็มร้อย
เวลา 14.00 น.นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้รับมอบหนังสือจากนายประนอมประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือจังหวัดเชียงรายพร้อมคณะและรับปากจะเร่งยื่นเรื่องต่อรัฐบาล ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรให้ดำเนินการภายในระยะเวลา 2 วัน หากไม่มีความเคลื่อนไหวกลุ่มเกษตรกรทั่วภาคเหนือบน-ล่างจะปักหลักชุมนุมยืดเยื้อต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมามีเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟิ้นฟูฯขึ้นทะเบียนไปแล้ว 500,000 รายมีเกษตรกรที่เป็นหนี้ 270,000 ราย แต่ขณะนี้กองทุนฟื้นฟูฯสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไปได้เพียงแค่ 1,210 รายเท่านั้น.
แถลงการณ์ฉบับที่1
ข้อเรียกร้องเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือ
เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งระบบและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อรักษาที่ดินและความเป็นเกษตรกรรายย่อยตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 และเพิ่มเติมพ.ศ.2544
เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูภาคเหนือมีข้อเรียกร้องดังนี้
1.ขอให้ท่านฯพฯ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเข้ามากำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองและนำข้อเรียกร้องของเกษตรกรเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูฯดังนี้
1.1ปรับมติ ครม. 7 เม.ย.53โดยให้ย้ายหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทะเบี้ยนหนี้)กรณีลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)มาไว้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ทุกราย ทุกบัญชี (ทั่วประเทศ ประมาณ270,000 ราย)
1.2ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณแก่กองทุนฟื้นฟูเพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวนร้อยละ 50ของเงินต้นคงค้างทั้งหมด ทุกราย ทุกบัญชี คืนแก่ ธ.ก.ส.
1.3ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)โอนหนี้สินและทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันนำมาไว้ที่กองทุนฟื้นฟูฯแห่งพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
1.4เกษตรกรขอผ่อนชำระหนี้คงค้างให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่เกินร้อยละ 50 เพื่อจ่ายหนี้คงเหลือให้กับธ.ก.ส.ภายในระยะเวลา20ปี
1.5ให้รัฐบาลนำประกาศกระทรวงกฎกระทรวงการคลัง262. เพื่อมาบังคับให้จำหน่ายหนี้สูญแก่เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯที่ตายและทุพพลภาพ
2. ให้ครม.สนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแก่เกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทนตามพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
3.ในการดำเนินการตามข้อ1 และข้อ2ให้มีกรกระจายอำนาจในการจัดการหนี้และฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรมาสู่คณะอนุกรรมการฯในระดับจังหวัด
4.หากไม่มีการดำเนินการใดๆตามข้อเรียกร้องของเกษตรกร จำเป็นต้องปกป้องสิทธิของเกษตรกรตามกฎหมายต่
ประชาธรรม วันที่ 3 เม.ย. 2556
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.