วันที่ 27 ส.ค. ในการเสวนา "1 ปี รัฐบาลกับการแก้ไขปัญหาที่ดินและโครงสร้างภาคเกษตร คืบหน้าหรือถอยหลัง" ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินว่า จากการคำนวณค่าความไม่เสมอภาค โดยใช้วิธีการคำนวณเดียวกับการคำนวณรายได้พบว่า หากนับการถือครองตามโฉนดที่ดินแล้ว การกระจุกตัวการถือครองที่ดินสูงมาก ซึ่งการถือครองดังกล่าวไม่มีเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากกรมที่ดินแยกเป็นรายจังหวัดแล้วจะพบว่า จ.สมุทรปราการ ถือมีความกระจุกตัวมากที่สุด รองลงมาคือ จ.ปทุมธานี ส่วนจังหวัดที่มีความกระจุกตัวน้อยที่สุดคือ จ.พัทลุง ตามมาด้วย จ.ศรีสะเกษ หากแบ่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม พบว่า การถือครองที่ดินน้อยสุดกับการถือครองที่ดินสุดมาเฉลี่ยต่างกันถึง 729 เท่า
ขณะที่สัดส่วนการถือครองที่ดินของผู้ถือครอง 50 อันดับแรก ต่อการถือครองที่ดินทั้งหมด พบว่าการถือครองที่ดิน 50 อันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 5 ของการถือครองที่ดินทั่วทั้งประเทศ และร้อยละ 7 ของการถือครองที่ดินในกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ดวงมณี ยังมองอีกว่า การกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลดำเนินนโยบายล้มเหลว โดยเฉพาะการถือครองที่ดินของนักการเมืองพบว่า นักการเมืองที่ถือครองที่ดินมากสุดถึง 2 พันกว่าไร่ หรือมากกว่าประชาชนที่มีที่ดินน้อยสุดถึง 7 เท่า
หากนับรวมกันจำนวน ส.ส.ทั้งแบบบัญชีรายชื่อกับแบบแบ่งเขต ชุดปัจจุบัน จำนวน 421 คน มีพื้นถือครองรวม 10,874,348.14 ตารางวา หรือ 27,185 ไร่ มูลค่ากว่า 15,794 ล้านบาท ถ้าคิดเฉลี่ยคนที่ถือครองที่ดินสูงสุดอยู่ที่ 810,504 ตารางวา หรือ 2,026 ไร่ มูลค่ากว่า 2,699 ล้านบาท
ผลรวมและค่าเฉลี่ยของพื้นที่ถือครอง จำแนกตามผู้ถือครอง 5 กลุ่ม ทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและประเภทนิติบุคคล ปีพ.ศ. 2555
การจำแนกการถือครองที่ดินออกเป็น 10 กลุ่ม (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ปี พ.ศ. 2555
เปรียบเทียบขนาดพื้นที่ถือครองที่ดินทั้งประเทศ (รวมที่ดินบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) และขนาดที่ดินถือครองโดยนักการเมือง
ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555