ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -18 พ.ค. สองปีที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ มาตรา 44 มีคําสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 26/2560 "ยุบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร" โดยให้แต่งตั้งทีมงานเฉพาะกิจขึ้นคณะหนึ่ง มี รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวโต๊ะ เพื่อการแก้ไขปัญหาการดําเนินงานของกองทุนฯ โดยให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาของกองทุนฯไม่อาจบริหารจัดการได้อันเนื่องมาจากปัญหาความโปร่งใสในการบริหารจัดการกองทุนฯ ความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ รวมไปถึงปัญหาการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ไม่อาจดําเนินการได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
ปัญหาเหล่านี้ได้สะสมมาเป็นเวลานาน ทําให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ของกองทุนฯ หยุดชะงักและไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาคการเกษตรซึ่งเป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
ผ่านมาสองปี กระทรวงเกษตรฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ เสนอ "ร่าง พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่..) พ.ศ...แล้วเสร็จ โดยมีผู้แสดงความคิดเห็น 6,331 ราย และเกษตรกร กรอกแบบฟอร์มเพื่อแสดงความคิดเห็นอีก 1,121 ราย รวมทั้งสิ้น 7,442 ราย ภายหลังคณะอนุกรรมการร่วมพิจารณาร่างฯดำเนินการเสร็จ
วันก่อน คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะรับหลักการ และ เตรียมเสนอ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" ตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา แต่เชื่อว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ คงเข้าไปพิจารณาในรัฐสภาชุดใหม่
ทั้งนี้ สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ. ที่มีการแก้ไข 3 มาตรา ประกอบด้วย
มาตรา 16 แก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร จากคราวละ 2 ปี เป็น 4 ปี
เพิ่มวรรคสาม กรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร พ้นจากตำแหน่ง ให้กรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว
เพิ่มวรรคสี่ โดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของสำนักงานเพื่อให้ได้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร ให้สำนักงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรครบวาระ
วัตถุประสงค์ในการแก้ไข เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการทำงานและเพื่อประหยัดงบประมาณในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งต้องใช้เงินครั้งละประมาณ 80-90 ล้านบาท
แก้ไขมาตรา 23 ให้ "สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร" มีสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาตามความจำเป็น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯวัตถุประสงค์ในการแก้ไข เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เนื่องจากเดิมกำหนดให้สถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ อยู่ที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น จึงได้กำหนดให้เป็นไปตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการ
มาตรา 37/9 แก้ไขเพิ่มเติม วรรคสอง กรณีการชำระหนี้แทนเกษตรกรได้ทั้งหลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกัน และกำหนดวิธีการในการชำระหนี้แทนเกษตรกรกรณีบุคคลค้ำประก้นให้ชัดเจน โดยให้กองทุนชำระหนี้แทนได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด วัตถุประสงคํในการแก้ไข เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตการขำระหนี้ให้ครอบคลุมเกษตรกรที่มีปิญหามากยิ่งขี้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายหน่วยงานแสดงความเห็นและให้ข้อสังเกตต่อร่างกฎหมายนี้
"กระทรวงการคลัง" เห็นว่า จะสามารถบริหารจัดการหนี้ที่มีการใช้บุคคลค้ำประกันไว้ได้ และจะส่งผลให้กองทุนฯ สามารถเข้าไปช่วยเหลือจัดการหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยที่มีความเดือดร้อนด้านหนี้สินได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี "กระทรวงการคลัง" ตั้งข้อสังเกตว่า เนื่องจากการบริหารจัดการหนี้บุคคลค้ำประกันมีความเสี่ยงสูง "คณะกรรมการกองทุนฯ" จำเป็นต้องบริหารงานด้วยความโปร่งใสและระมัดระวัง เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อกองทุนฯ โดยต้องกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการจัดการหนี้ของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมความสามารถในการชำระหนี้หรือแผนพัฒนาศักยภาพการชำระหนี้ของเกษตรกรสมาชิกร่วมด้วย
กรณีเกษตรกรสมาชิกมีหนี้หลายสัญญา ทั้งหนี้ ที่มีทรัพย์สินค้ำประกันและหนี้บุคคลค้ำประกัน ควรกำหนดเงื่อนไขให้มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้ค้ำประกัน ต้องครอบคลุมความเสี่ยงของหนี้ในสัญญาที่ใช้บุคคลค้ำประกันด้วย
ขณะที่ "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" หรือ สภาพัฒน์ ตั้งข้อสังเกตว่า เฉพาะการขยายขอบเขต การชำระหนี้แทนให้ครอบคลุมเกษตรกรกรณีบุคคลคํ้าประกัน เช่นเดียวกับเกษตรกรที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรทั้งระบบ และป้องกันปัญหาเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ถูกบังดับคดีจนต้องสูญเสียที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
ขณะที่สำนักงานกองทุนฯ ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุง การดำเนินงานภายใต้กลไกการบริหารงานตาม พ.ร.บ.กองทุน ฯ พ.ศ.2542 และร่าง พ.ร.บ.กองทุนฯ (ฉบับที่..) พ.ศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งในการจัดการหนี้เกษตรกรที่มีวัตถุประสงค์การกู้ยืมเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 การกำหนด หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ที่ครอบคลุมถึงหนี้บุคคลค้ำประกัน การปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการจัดการหนี้ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง
อาทิ การเร่งโอนหลักทรัพย์ค้ำประกันมาเป็นของกองทุนฯ ก่อนการชำระหนี้แทน การเร่งคืนหลักทรัพย์ให้กับเกษตรกรเมื่อเกษตรกรชำระหนี้ครบถ้วน และการพัฒนาฐานข้อมูลลูกหนี้เกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เป็นต้น
และการเร่งสนับสบุนให้เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถชำระหนี้คืนกองทุนฯ และไม่กลับมาเป็นหนี้อีก
รวมทั้งการเร่งปรับปรุงระบบด้านการบัญชี การเงิน และการควบคุมของกองทุนฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางการเงิน เพื่อให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ด้าน "สำนักงบประมาณ" ให้ข้อสังเกตว่า การแก้ไขเพิ่มเติมสาระสำคัญตาม มาตรา 37/9 เป็นการขยายขอบเขตการชำระหนี้ให้ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้บุคคลค้ำประกันได้ตามกฎหมาย ที่มีเป็นจำนวนมาก
"ซึ่งภายหลังจากการแก้ไขขอบเขตกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เห็นควรที่ "กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร" พิจารณาดำเนินการจัดการหนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกรเฉพาะกรณีที่เกิดผลกระทบและมีความจำเป็น และมีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรกก่อน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังกล่าว
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดการหนี้ของเกษตรกร ตั้งข้อสังเกตว่า ควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเลขานุการ ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อภาระงบประมาณ ที่จะเกิดขึ้น ต่อพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา 37/6 มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรโดยให้เกษตรกรยื่นคำฃอขี้นทะเบียนเกษตรกร (หนี้) กับกองทุนพื่นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ซึ่งที่ผ่านมา หนี้ที่เกษตรกรนำมาขึ้นทะเบียนไวักับกองทุนฯ ที่ตรวจสอบได้ มีทั้งหลักทรัพย์ค้ำประกัน บุคคลค้ำประกัน และไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และได้ผ่านการสำรวจข้อมูลทางทะเบียนแล้ว ประมาณ 363,787 ราย มูลหนี้กว่า 51,000 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรที่เป็นหนี้บุคคลค้ำประกันประมาณ 241,256 ราย มูลหนี้กว่า 64,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่สามารถจัดการหนี้ได้มากกว่าร้อยละ 90 คิดเป็นประมาณ 217,131 ราย มูลหนี้ประมาณ 21,000 ล้านบาท เฉลี่ยหนี้ ประมาณ 96,715.00 บาทต่อราย ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้เป็นผู้ยากจนและเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเกษตร (สหกรณ์การเกษตร) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกร (ธ.ก.ส.)
ส่วนการชำระหนี้แทนเกษตรกร ทั้งที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและไม่มีหลักทรัพย์คํ้าประกันตาม มาตรา 37/9 วรรคแรก ในอดีตที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ถือตามเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.บ.กองทุนฯ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร จึงได้มีการขำระหนี้แทนเกษตรกร ในกรณีบุคคลค้ำประกันด้วยแล้วประมาณ 14,120 ราย มูลหนี้ 974.46 ล้านบาท โดยออกระเบียบปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรรายย่อย ที่ด้อยโอกาส ซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองให้ได้รับโอกาสในการแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบ
ดังนั้น หากเกษตรกรเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล จะเป็นการสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นและมีความมั่นคงในอาชีพทางการเกษตร ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลให้ได้เท่าเทียมกับเกษตรกรที่กองทุนฯได้ช่วยเหลือไปแล้ว จึงเป็นการส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อเกษตรกรส่วนมากของประเทศชาติที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาทางสังคม ให้กับเกษตรกรผู้ด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมลํ้าในการจัดการหนี้ของเกษตรกร สามารถฟืนฟูอาชีพและการดำรงชีพ ในด้านเกษตรกรรมจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับเงินงบประมาณของรัฐ สามารถนำไปใช้กับกลุ่มประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร รากหญัาที่มีความยากจนโดยตรงอย่างทั่วถึง จึงส่งผลให้การครองชีพของเกษตรกรดีขี้น ทำให้เกิดสภาพคล่อง ทางการเงินของประเทศ
ทั้งหมดกำลังจะเกิดขึ้น ใน "ร่าง พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ฉบับใหม่"
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 24 พ.ค. 2562
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.