มูลนิธิชีวิตไท ร่วมกับ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ขอเชิญผู้สนใจร่วมสัมมนาวิชาการสาธารณะ "ทางรอดเกษตรกรไทย...ในภาวะวิกฤตหนี้สิน” วันพุธที่ 20 มีนาคม 2562
ภายในงานพบกับ 1.การสัมมนาวิชาการ ระหว่าง เวลา 13.00–17.00 น. ณ ห้อง 107 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.ตลาดนัดอินทรีย์และชมนิทรรศการ ตั้งแต่ 10.00 - 17.00 น. ณ ใต้ตึก 3 รัฐศาสตร์ 60 ปี (อาคารเกษม อุทยานิน) (ฟรี) ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่
พาฝัน มือถือ 094-996 2930 E-mail: pafan_lek@localact.org
ฐิติพรรณ มือถือ 094-2947995 E-mail: thitiphan@localact.org
มูลนิธิชีวิตไท โทรศัพท์ 02-0485465
หลักการและเหตุผล
จากสภาวการณ์ของชาวนาและเกษตรกรที่ถูกบีบคั้นจากปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นปัญหาหนี้สินและปัญหาการขาดแคลนที่ดิน ซึ่ง“ที่ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับเกษตรกร เพราะเป็นตัวแปรที่สัมพันธ์กับความยากจนและสะท้อนถึงความมั่นคงทางอาชีพและวัฒนธรรมการเกษตร ปัญหาเกษตรกรมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอและการสูญเสียที่ดินที่ครอบครองอยู่ปัจจุบัน จึงเป็นปัญหาวิกฤตที่ต้องการนโยบายการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ปัญหาเหล่านี้เป็นเสมือนสัญญาณที่บ่งชี้ ถึงปัญหาในเชิงมหภาคของสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ทั้งนี้การสูญเสียที่ดินของชาวนาและเกษตรกรในปัจจุบันมักเกิดจากปัญหาหนี้สิน ที่นำมาใช้ในการลงทุนทำการเกษตรและการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน โดยเกษตรกรนำที่ดินทำกินไปจำนองและขายฝากเพื่อกู้เงินผ่านระบบสินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งนายทุนเงินกู้นอกระบบ (มูลนิธิชีวิตไท, 2557)
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) (2558) พบว่า เกษตรกรมีหนี้สินสูงกว่ารายได้ถึง 25.5 เท่า และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในอนาคต นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าเกษตรกรมีภาวะหนี้สิน รวม 1.32 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ที่กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จานวน 826,771 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 398,906 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตร 83,828 ล้านบาท กองทุนในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรฯ 10,401 ล้านบาทและกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 3,496.41 ล้านบาท ในขณะที่กระทรวงมหาดไทย เคยรวบรวมตัวเลขหนี้สินเกษตรกรที่เป็นหนี้อยู่กับสถาบันการเงินของรัฐ จำนวนประมาณ 1.4 แสนราย มีมูลค่าหนี้ถึง 3.6 หมื่นล้านบาท ยังมีกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ ประมาณ 1.49 แสนราย มีมูลค่าหนี้ ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท และในจำนวนนี้เป็นหนี้นอกระบบที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ถึง 9 หมื่นราย ด้วยมูลค่าหนี้ 1.3 หมื่นล้านบาท
ในปี 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิชีวิตไท ได้ทำงานร่วมกับนักวิชาการจากหลายสถาบัน เพื่อศึกษาวิจัยกระบวนการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ทั้งปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สิน และการปรับตัวของเกษตรกรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของเกษตรกร และมีข้อเสนอทางนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ งานศึกษาทางวิชาการทั้ง 5 เรื่อง ประกอบด้วย
1)งานศึกษาเรื่องพฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สิน กรณีศึกษาจังหวัดชัยนาท ศึกษาโดย ดร.ชญานี ชวะโนทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณสฤณี อาชวานันทกุล บริษัท ป่าสาละ จากัด
2)งานศึกษาเรื่องสภาพการเช่านาของชาวนาภาคกลาง โอกาสและเงื่อนไขในการปรับตัวไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และชัยนาท ศึกษาโดย ผศ.ดร.ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณนันทา กันตรี นักวิจัยอิสระ
3)งานศึกษาเรื่องธนาคารที่ดินชุมชนเพื่อรักษาที่ดินของเกษตรกรและเพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา ศึกษาโดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณณัฎฐวี สายสวัสดิ์ นักวิจัยอิสระ
4)งานศึกษาเรื่องรูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาภาคกลางสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดชัยนาท และปทุมธานี ศึกษาโดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5)งานศึกษาเรื่องโอกาสและช่องทางตลาดอินทรีย์ของชาวนาภาคกลาง กรณีศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี ศึกษาโดย ดร.อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ และ นายสมภพ ดอนดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ทั้งนี้ เพื่อให้งานศึกษาชุดวิชาการดังกล่าวทั้ง 5 เรื่อง ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะและสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมได้ต่อไป จึงจัดงานสัมมนาวิชาการสาธารณะขึ้น เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยต่อภาครัฐ เครือข่ายเกษตรกร ภาคประชาชน สื่อมวลชน นักศึกษา และกลุ่มคนทั่วไปที่สนใจ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาวิจัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการหนุนเสริมศักยภาพในกระบวนการปรับตัวของชาวนาและเกษตรกรต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยกระบวนการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรทั้งปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน ปัญหาหนี้สิน และการปรับตัวไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน
2.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็น “การแก้วิกฤตหนี้ และการกระบวนการปรับตัวของชาวนาและเกษตรกร” เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถอยู่รอดในอาชีพได้อย่างยั่งยืน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการ เอกชน นักวิชาการและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนหรือข้อเสนอที่เป็นแนวทางในเรื่องการพัฒนาศักยภาพและการแก้ไขปัญหาหนี้ของกลุ่มชาวนาและเกษตรกรในระยะการปรับตัวไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน
2.สาธารณชนและสื่อมวลชนเข้าใจและสามารถสื่อสารข้อมูลผลการศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบายในวิจัยกระบวนการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรทั้งปัญหาการขาดแคลนที่ดินทากิน ปัญหาหนี้สิน และการปรับตัวไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน
กำหนดการสัมมนาวิชาการสาธารณะ
“ ทางรอดเกษตรกรไทย...ในภาวะวิกฤตหนี้สิน ”
วันพุธที่ 20 มีนาคม 2562 เวลา 10.00–17.00 น.
ณ ห้อง 107 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.00 – 13.00 น. กิจกรรมตลาดอินทรีย์ และชมนิทรรศการ (ใต้ตึก 3 รัฐศาสตร์ 60 ปี)
12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียน และรับเอกสาร
13.00 – 13.10 น. กล่าวรายงาน โดย คุณพงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ ผู้อำนวยการมูลนิธิขีวิตไท
13.10 – 13.20 น. เปิดเวทีสัมมนา โดย นายธีระ วงษ์เจริญ
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
13.20 – 13.50 น. นำเสนองานวิจัย “บริบทหนี้สินชาวนาและเกษตรกร”
โดย ผศ.ดร.ชญานี ชวะโนทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และ คุณสฤณี อาชวานันทกุล บริษัท ป่าสาละ จำกัด
13.50 – 14.05 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.05 – 16.00 น. เวทีสัมมนา หัวข้อ “ทางรอดเกษตรกรไทย...ในภาวะวิกฤตหนี้สิน” โดย
• ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• ผศ.ดร.ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• นายสามารถ สระกวี แกนนำกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน (ครัวใบโหนด) และจัดตั้งโครงสร้างสถาบันการเงินของมนุษย์
• ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ดำเนินรายการโดย : คุณกัญญ์ณาณัฏฐ์ ภาธรสืบนุกูล
ผู้ประกาศข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT
16.00 – 16.30 น. ผู้เข้าร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนและให้ความเห็น
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.