ในช่วงปีบัญชี 2560 ธ.ก.ส. ได้เน้นการดูแลลูกค้าเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุด ประกอบด้วย ลูกค้ากลุ่ม Small โดยดำเนินงานผ่านโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 7.72 ล้านราย และการส่งมอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 6.2 ล้านราย มีเป้าหมายในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบจำนวน 512,502 ราย มูลหนี้ 31,185 ล้านบาท และมีผู้แสดงความประสงค์เข้าอบรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยจำนวน 3.58 ล้านราย ลูกค้ากลุ่ม Smart โดยสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่หรือทายาทเกษตรกรเข้ามาสานต่ออาชีพเกษตรกรรม จำนวน 10,020 ราย การต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตลูกค้าผ่านเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ 315 ชุมชน และลูกค้ากลุ่ม SMAEs โดยพัฒนาผู้ประกอบการด้านการเกษตร สถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ จำนวน 2,401 ราย ให้เป็นหัวขบวนเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การสร้างงานสร้างรายได้สู่กลุ่มเกษตรกรและชุมชน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณการ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนอย่างมั่นคง ยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยยกระดับชุมชนขั้นที่ 3 จำนวน 7,927 ชุมชนสู่การเป็นชุมชนที่มีศักยภาพสูง 3+ จำนวน 77 ชุมชน ชุมชนเชิงนิเวศ 168 ชุมชน และชุมชนท่องเที่ยวนำร่อง 16 ชุมชน
นอกจากนั้น ธ.ก.ส.ยังทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ผ่านมาตรการและโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่ โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน โครงการรับลงทะเบียนบัตรสวัสดิการรัฐ โครงการช่วยเหลือทางการเงินผู้ประกอบกิจการ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โครงการชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อรวบรวมข้าวเปลือก เป็นต้น โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 4.43 ล้านราย สถาบันเกษตรกร 956 ราย กลุ่มเกษตรกร 226 แห่ง ผู้มีรายได้น้อย 7.72 ล้านราย รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงในการผลิต
ผ่านโครงการประกันภัยข้าวนาปีที่พี่น้องชาวนาเข้าร่วมโครงการ 1.75 ล้านราย พื้นที่กว่า 28 ล้านไร่
จ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีผลผลิตได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 1,980 ล้านบาท ส่วนเกษตรกรลูกค้าที่ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ ธ.ก.ส. ได้จัดทำโครงการชำระดีมีคืน โดยเกษตรกรจะได้รับการคืนดอกเบี้ย 30% ของจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระ ปัจจุบันคืนดอกเบี้ยให้เกษตรกรแล้ว เป็นเงิน 2,263 ล้านบาท
นายอภิรมย์กล่าวต่อไปว่า ในปีบัญชี 2561 ธ.ก.ส.ตั้งเป้าสนับสนุนสินเชื่อ 750,000 ล้านบาท
ในจำนวนนี้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำหลายโครงการ เช่น มาตรการเกษตรประชารัฐเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย โครงการลดต้นทุนให้เกษตรกรร้อยละ 4 วงเงิน 90,000 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมการผลิตหรือจัดหาปุ๋ยสั่งตัดให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ MLR-3 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ 5%) วงเงิน 3,600 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ SMAEs ร้อยละ 4 วงเงิน 15,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ Green Credit ร้อยละ MRR-1 และ MLR-0.5 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 7% ) โครงการสินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรสู่ความยั่งยืนร้อยละ 4 วงเงิน 5,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อยกระดับปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อย (XYZ) ร้อยละ 0.01 วงเงิน 15,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อย ดอกเบี้ย 0% 6 เดือน เป็นต้น ทั้งนี้โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์และเกษตรกร ผลักดันการสร้างหัวขบวน SMAEs เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร การสร้างงานและรายได้สู่ลูกค้าในกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงชุมชน อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร การพัฒนาการบริการทางการเงินที่ครบวงจรและทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
และความสะดวกสบายในการใช้บริการ เช่น การสร้างเครือข่ายทางการเงิน (Banking Agent) การให้บริการผ่านระบบเทคโนโลยี ธ.ก.ส. A-Mobile การชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน QR Code การบริหารเงินทุนให้สมดุลเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน โดยตั้งเป้าเงินฝากเพิ่ม 57,500 ล้านบาท ซึ่งจะเน้นออกผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการออมเงินของเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล และการยกระดับชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนท่องเที่ยวและชุมชนอุดมสุข
ที่มา : คมชัดลึก วันที่ 5 พ.ค. 2561
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.