นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังเปิดเผยระหว่างในการลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ว่า กระทรวงการคลัง ได้ทำการออกใบอนุญาตผู้ได้รับ ใบอนุญาตปล่อยเงินกู้พิโกไฟแนนซ์เพิ่มเติม 5 ราย ทำให้ปัจจุบันมีพิโกไฟแนนซ์ใน จ.นครราชสีมา จำนวน 11 ราย จากยื่น ทั้งหมด 30 ราย
ส่วนการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย 14.1 ล้านคน พบว่ามีหนี้นอกระบบ 1.3 ล้านคน มูลหนี้ 7 หมื่นล้านบาท ส่วนนี้ จะทำการแก้ปัญหาในเชิงรุก โดยให้ เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลงพื้นที่หาลูกหนี้ เพื่อเจรจาปรับ โครงสร้างหนี้เข้ามาในระบบจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยนอกระบบในอัตราที่สูง
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ธนาคารมีวงเงิน ให้กู้ฉุกเฉินรวม 1 หมื่นล้านบาท เช่น ค่าใช้จ่าย ฉุกเฉิน ค่ารักษาพยาบาล ค่าเรียนบุตร สามารถกู้ได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ 10% ต่อปี ในส่วนของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบเข้ามา อยู่ในระบบ มีความคืบหน้ามีคนเข้ามาขอ จดทะเบียนเป็นพิโกไฟแนนซ์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเจ้าหนี้กลัวผิดกฎหมายมีโทษสูงสุด ถึงจำคุก หากปล่อยกู้ดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี การเป็นพิโกไฟแนนซ์ คิดอัตรา 36% ต่อปี แต่สามารถอยู่ได้หากมีหนี้เสีย
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.อนุมัติ ผู้ประกอบการ ดำเนินธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศแล้ว 119 ราย จากยอดคำขอทั้งหมด 322 ราย และเปิดให้บริการประชาชนแล้ว 60 ราย ถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขหนี้นอกระบบของภาครัฐมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้ประกอบการหนี้นอกระบบเดิมเข้ามาในระบบสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เพิ่มขึ้น
"กระทรวงการคลังเห็นถึงความ จำเป็นที่ต้องเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบให้แก่ประชาชนรายย่อย โดยเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่ประชาชน โดยคาดว่าจะสามารถทยอยอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการช่วย ให้ประชาชนไม่ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง หรือถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีต่างๆ"
สำหรับกำหนดคุณสมบัติ ผู้ประกอบธุรกิจปล่อยกู้สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ จะต้องเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน ซึ่งชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท วงเงิน ให้กู้ยืมไม่เกินรายละ 50,000 บาท
ที่มา แนวหน้า 22 สิงหาคม 2560