นโยบายเพิ่มรายได้ให้ชาวนาด้วยการเพิ่มมูลค่าข้าว ขายข้าวเป็นยา เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มที่พูดกันมาหลายปี...วันนี้แสงรำไรที่ปลายอุโมงค์ เริ่มส่องประกายให้เห็นแล้ว
หลังศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี กรมการข้าว ได้นำพันธุ์ข้าวหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จนได้ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 43 นอกจากนอกจากมีคุณสมบัติต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปลูกได้ตลอดทั้งปี
ยังมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องมีน้ำตาลน้อย เหมาะที่จะส่งเสริมให้ชาวนาปลูก จำหน่ายข้าวเป็นยาให้แก่ผู้บริโภคซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวาน
“เดิมทีการวิจัยของกรมการข้าวจะเน้นหาพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่อโรคกับให้ผลผลิตสูง แต่ปัจจุบันคนบริโภคข้าวน้อยลง เนื่องจากกังวลเรื่องโรคอ้วนและเบาหวานมื่อผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องคุณค่าโภชนาการ ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา กรมการข้าวจึงปรับเปลี่ยน แนวทางการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นหลังจากได้ร่วมกับสำนักวิจัยคณะแพทย ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นำพันธุ์ กข 43 ไปศึกษาทดลองในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานจนมีความชัดเจนว่าเหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เราจึงได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก กข 43 ส่งขายโรงพยาบาลต่างๆ และกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะ โดยกระทรวงเกษตรและกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ราคาประกันรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาตันละ 20,000 บาท”
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว เผยถึงที่มาของโครงการผลิตข้าวขายเป็นยาที่ได้เริ่มส่งเสริมนำร่องไปแล้วในพื้นที่โครงการปลูกข้าว แปลงใหญ่แบบ GAPใน จ.พิษณุโลก และชัยนาท
แต่ด้วยเกรงว่า การปลูกข้าวตลาดเฉพาะที่ได้ราคางาม อาจไม่ยืนยาว จะเหมือนกรณีข้าวไรซ์เบอร์รี่...ที่ชาวนาเห็นคนอื่นปลูกแล้วได้ราคา จึงแห่ปลูกตามกันจนทำให้ปริมาณผลผลิตมีมากเกินความต้องการของตลาดราคาตก และไม่สามารถควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้สม่ำเสมอ
อธิบดีกรมการข้าวเผยว่า การส่งเสริมการปลูกครั้งนี้ จึงมีการวางระบบการปลูกใหม่ เน้นให้ชาวนาใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เป็นหลัก จึงได้ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ทำมาตรฐาน Qr Tracability
“เพื่อเราจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนว่าเกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์จริงหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อควบคุมคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของข้าว กข 43 ไม่ให้เกิดการบิดเบี้ยวกลายพันธุ์จนทำให้คุณภาพอ่อนด้อยลงไป และยังเป็นการควบคุมปริมาณผลผลิต ไม่ให้เกิดการแห่ปลูกตามกันจนเป็นเหตุให้ราคาร่วง”
เราคงต้องลุ้นต่อไป นโยบายขายข้าวเป็นยาจะช่วยให้ชาวนาขายข้าวเปลือกในราคาประกันตันละ 20,000 บาท ได้ยืนยาวแค่ไหน...หรือจะต้องพังพาบ เพราะรัฐแข็งไม่พอ มิอาจทนแรงกดดันของแฟชั่นแห่ปลูกตามกัน.
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ 2 ส.ค. 2560