สนช.ส่วนใหญ่ยกมือให้ลดวงเงินค่าบ้านและอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดิน–สิ่งปลูกสร้างใหม่ให้ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และลดเพดานเหลือ 0.25%
บนเหตุผลจะช่วยขยายฐานเก็บภาษีเข้ารัฐเพิ่มขึ้น ด้าน “โสภณ” เผยราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2560 ขยับตัวมากกว่า 3.2% สูงกว่าบริเวณอื่นๆทั่วประเทศ ยกเว้นบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองชายแดน เมืองท่องเที่ยว
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณา พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนคณะกรรมาธิการสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แม้จะยังไม่สรุปเกี่ยวกับการยกเว้นจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทที่อยู่อาศัยว่า มูลค่าไม่ควรเกินเท่าไร แต่กรรมาธิการส่วนใหญ่ต่างเห็นว่า กระทรวงการคลังควรลดราคามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจัดเก็บภาษีให้ต่ำกว่า 50 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับลดอัตราเพดานภาษีให้ต่ำลง จากปัจจุบันที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 0.5% เหลือ 0.25%เนื่องจากมองว่าจะช่วยขยายฐานการจัดเก็บภาษีของกระทรวงการคลังได้มากขึ้น และยังทำให้ผู้เสียภาษีมีความสามารถและมีความเต็มใจที่จะชำระภาษีให้รัฐมากขึ้นและยังทำให้ผู้เสียภาษีมีความสามารถและมีความเต็มใจที่จะชำระภาษีให้รัฐมากขึ้น เนื่องจากการปรับอัตราภาษีให้บางลง จะทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านหลังหลัก แบกรับภาระเพียงแค่หลักพันบาทต่อปีเท่านั้น
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ โดยในระยะแรกกระทรวงการคลังไม่ได้มุ่งหวังหารายได้เพิ่ม เพราะบ้านถือเป็นปัจจัย 4 กระทรวงการคลังจึงต้องการแค่เพียงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น โดยเสียภาษีในอัตราที่ถูกลงอีกทั้งการจัดเก็บรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ จะอยู่ตรงที่ดินในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่กำหนดอัตราจัดเก็บไว้ที่ 2%
อย่างไรก็ตาม การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ต้องดูภาพรวมภาษีทั้งหมดก่อน ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้กำหนดการจัดเก็บไว้เป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินเพื่อการเกษตร, ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย, ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งหากจะลดมูลค่าการยกเว้นภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัย, ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งหากจะลดมูลค่าการยกเว้นภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัยก็ต้องไปพิจารณาลดที่ดินเกษตรกรรม และภาษีที่ดินประเภทอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน เนื่องจากมองว่าไม่ควรลดตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว
สำหรับอัตราเพดานภาษีที่ดินฯ ทั้ง 4 ประเภท ถือว่าเหมาะสม เนื่องจากมีการศึกษาจากหลายประเทศ ที่มีการจัดเก็บภาษีประเภทดังกล่าว และการจัดเก็บจริงจะต้องพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง หลังที่ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้จริงแล้ว ส่วนการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการจะเสร็จสิ้นลงภายในเวลาไม่ไม่เกิน 45 วัน คาดว่ากฎหมายภาษีที่ดินฯ จะผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ทันภายในปี 60
โสภณ พรโชคชัย
ด้านนายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัดกล่าวว่า ได้รวบรวมข้อมูล พบว่าราคาที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2528-2534 และชะลอตัวในช่วงปี 2535-2539 จากนั้นราคาก็ตกต่ำลงในช่วงปี 2540-2542 และกลับฟื้นตัวอีกในช่วงปี 2543-2548 และชะลอตัวลงอีก จนกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2553 ต่อเนื่องถึงปี 2556 และชะลอตัวลงอีก จนกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2553 ต่อเนื่องถึงปี 2556 และชะลอตัวลงชัดเจนในปี 2557-2558
“30 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินทั่วเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปรับเพิ่มขึ้นถึง 47 เท่า โดยในรอบ 5 ปี (ปี 2553-2558) ทำเลที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นคือเขตชั้นใน 37.1%และเขตชั้นนอก 13.3-31.1% ต้นปี 2559 ราคาที่ดินที่แพงสุดคือบริเวณสยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิต ตารางวา (ตร.ว.) ละ 1.9 ล้านบาท หรือไร่ละ 760 ล้านบาท เพราะมีรถไฟฟ้าวิ่งตัดกัน 2 สาย กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่ขยายตัวสูงสุดโดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก แซงหน้าสีลมและเยาวราชที่เคยแพงที่สุด โดยบริเวณสุขุมวิท-ไทม์สแควร์ มีราคารองลงมาคือ 1.85 ล้านบาท
ต่อ ตร.ว. หรือไร่ละ 740 ล้านบาท แปลงที่ดินที่มีราคาตลาดสูงสุด คือบริเวณสยามพารากอน บริเวณสยามสแควร์ บริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้า ชิดลม และบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ราคาที่ดินที่ประเมินได้คือ 1.9 ล้านบาทต่อ ตร.ว. คาดว่าปี 2560 ราคาที่ดินบริเวณนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.17 ล้านบาทต่อ ตร.
สำหรับแนวโน้มราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2560 คาดว่าจะขยับตัวมากกว่า 3.2% โดยราคาที่ดินก็จะเพิ่มสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองชายแดน เมืองท่องเที่ยวและเมืองอุตสาหกรรมที่อาจเติบโตมากกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล.
ที่มา ไทยรัฐ 14 กรกฎาคม 2560