“จากการติดตามผลการดำเนินโครงการปรากฏว่า ร้อยละ 61 ของเกษตรกรมีความสนใจประกอบอาชีพเสริม ด้านปศุสัตว์/ร้อยละ 13 ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ประดับ/ร้อยละ 10 ปลูกพืชไร่/ร้อยละ 9 ทำประมง และอื่นๆ อีกร้อยละ 7 ได้แก่การแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความสำเร็จของเกษตรกรที่เข้า ร่วมโครงการฯ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว รวมทั้งในวันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2559 นางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะจะลงพื้นที่หารือแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราร่วมกับเกษตรกรชาวสวนยาง ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนการขับเคลื่อนคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่ผ่านมาได้ใช้เวลาในการตรวจสอบคุณสมบัติของคกก.ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพื่อเสนอเข้าครม.ภายในวันอังคารหน้า (12 มกราคม 2559)” พลเอก ฉัตรชัย กล่าว
นางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงผลการประชุมคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร ว่า ได้เชิญทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เกษตรกร และผู้ประกอบการ ร่วมแก้ไขราคายางพาราให้หยุดการลดต่ำลง ซึ่งจากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตยางพาราในช่วง 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มี.ค. 59 คาดว่าจะมีปริมาณยางพาราประมาณวันละ 9,000 ตัน จึงได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการรับซื้อยางพาราในปริมาณสัดส่วนที่เคยรับซื้อจากอดีต และรับซื้อในราคาที่เหมาะสม โดยจะรับซื้อยางแผ่นดิบในราคาไม่ต่ำกว่า 33.50 บาท/กก. และน้ำยางสดในราคา 28.50 บาท/กก.
ด้านนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กลไกสำหรับการดำเนินงานในปี 2559 โดยมีพรบ.การยางแห่งประเทศไทยเป็นหลักในการดำเนินงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 กรกฎาคม 2518 เป็นต้นมา จากนี้จากบทเฉพาะกาลจะเข้าสู่บทถาวรภายในวันที่ 14 มกราคม2558 โดยจะมีบอร์ดจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมบริหารงาน ได้แก่ ตัวแทนเกษตรกร 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น รวม 15 คน ซึ่งจะมีการแต่งตั้งประธานบอร์ดและเริ่มขับเคลื่อนการทำงานได้ทันที ทั้งนี้ ในกฎหมายกำหนดให้มีกองทุนพัฒนายางพารา (กองทุนระยะยาว) มีเงินหมุนเวียนซึ่งได้จาก การเก็บเงินเซส ประมาณ 5,000 – 7,000 ล้านบาท/ปี เพื่อใช้สำหรับวัตถุประสงค์ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารงาน 2) สงเคราะห์เกษตรกรปลูกยางทดแทน 3) การใช้ยางภายในประเทศ 4) สนับสนุนองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง 5) สวัสดิการเกษตรกร 6) การวิจัยและพัฒนายางพารา ทั้งนี้ครม.ได้เห็นชอบระเบียบหลักแล้ว ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นโดยตรงแก่เกษตรกรนอกจากเงินสวัสดิการที่จะได้รับ 7 % เปิดโอกาสให้องค์กรเกษตรกรและภาครัฐมีส่วนร่วมในการบริหารสวัสดิการร่วมกัน รวมทั้งการพัฒนาองค์กร สร้างความเข้มแข็งต่อระบบบริหารงานต่อไป
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 11 ม.ค. 2559
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.