วุฒิ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ อดีตผู้ประสานงานกลุ่มสะพานสูง คณะสังคมวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ กลุ่มที่ทำกิจกรรมโดยเน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาปากท้องของชนชั้นที่มีโอกาศน้อยในสังคมอย่าง แรงงาน และเกษตรกร รูปแบบมีการลงพื้นที่ทำค่ายเพื่อเรียนรู้ และเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อผลักดันข้อเรียกร้องร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งภายหลังเรียนจบตนเองได้เลือกเส้นทางชีวิตตนเองมาสู่ผืนนาแห่งหนึ่งใน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี “นาวิลิต”
เอาเข้าจริงเราก็ไม่ใช่เกษตรกรโดยตรง เพราะถ้าโดยตรงก็ควรจะยังชีพต่อการทำเกษตรเป็นของตัวเอง คือจริงๆแล้วเป้าหมายของเราคือยังคงเน้นเรื่องปากท้อง ภายหลังที่เรียนจบเราจึงอยากอยู่กับเรื่องเหล่านี้ซักพักหนึ่ง จากบทเรียนที่ผ่านมาของการทำงานทางสังคม เราคิดว่าควรมีองค์กรที่หารายได้ด้วยตนเอง ซึ่งต่างจาก NGOs ที่ใช้การขอทุนเป็นหลัก เราเองคิดว่าจะขับเคลื่อนประเด็นปากท้องต่อไปและอีกส่วนหนึ่งก็คือการยังชีพของเราด้วยองค์กรเกษตรกรของเราเอง
ก็เป็นรูปแบบองค์กรเอกชน “บริษัทฟื้นฟูเกษตรกรเมืองเพชรจำกัดมหาชน” ไม่ใช่องค์กรที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นองค์กรที่รวมหุ้นเกษตรกรเมื่อได้เงินมาจำนวนหนึ่งก็จะรวมกันซื้อที่เป็นลานตาก หรือว่าอนาคตอาจจะมีโรงสี และรับซื้อข้าวของเกษตรกรด้วยกันเองในกลุ่ม ซึ่งบริษัทก็จะมีกำไรและสมาชิกเองก็ได้ประโยชน์จากส่วนนี้ด้วย แล้วก็มีส่วนปันผลอีก ซึ่งตอบโจทย์ในกลุ่มตัวเองด้วย คือในเชิงธุรกิจแล้ว เราก็รับซื้อได้แพงกว่า แปรรูปเอง กำไรก็ปันผลให้สมาชิกกันเอง และอาจขยายในส่วนของการลดต้นทุน และการทำเกษตรอินทรีย์ด้วย
เหตุผลที่เข้ามาร่วมเป็นกลุ่มเพราะ ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของเกษตรกรคือเรื่องหนี้สิน กลายเป็นเรื่องงูกินหางและเชื่อมไปสู่เรื่องอื่นๆ จนไปถึงเรื่องสููญเสียที่ดินทำกิน และสูญเสียอาชีพเกษตรกร ซึ่งโดยภาพรวมแล้วองค์กรนี้ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องสูญเสียอาชีพ คือการซื้อหนี้ไว้กับองค์กร จากนั้นก็ตัดดอกส่วนที่เหลือมาเยอะ พอซื้อหนี้แล้วกองทุนก็จะเจรจากับธนาคารด้วย ซึ่งพอเอาหนี้ไว้กับกองทุน ที่ดินที่จำนองไว้ก็จะไม่เสีย นอกจากช่วยเหลือเรื่องหนี้สินแล้วก็ยังมีโครงการเรื่องการฟื้นฟูอาชีพคือให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เช่นทำโรงสี ซึ่งก็จะสร้างมูลค่าเพิ่มของข้าวได้
ก็ทำหน้าเหมือนกองเลขา คล้ายๆผู้จัดการทั่วไป ซึ่งตอนนี้งานขององค์กรอาจจะไปได้ช้าหน่อย ซึ่งก็มีข้อแตกต่างเช่น ถ้าเราเอาองค์กรของชาวบ้านมาทำธุรกิจ ข้อดีของเราคือสามารถคุยกับชาวบ้านรู้เรื่อง แต่ละอย่างก็จะมีข้อดีข้อด้อยของมันเอง ถ้าเราเดินหน้าแบบธุรกิจเต็มตัวก็อาจจะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาและอาจมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งโดยรวมแล้วตอนนี้ก็มี่เรื่องธุรกิจข้าวกับธุรกิจปุ๋ย ซึ่งข้าวคือเราจะรับซื้อข้าวควบคู่ไปกับการส่งเสริมแนวทางของเราคือเรื่องเกษตรอินทรีย์ ปลายทางเราคือข้าวอินทรีย์ต้องไม่แพง เพื่อให้คนจนได้กิน ส่วนเรื่องปุ๋ยก็จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เราทำออกมาเป็นแบนด์ของตัวเอง
ส่วนตัวนอกจากที่งานเรื่องบริษัทแล้ว ผมได้พักอาศัยอยู่ที่นาวิลิตก็จะทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อยู่อาศัย ลักษณะคล้ายๆออแกนิคฟารม์ ซึ่งก็มีเลี้ยง วัว เป็ด ไก่ ปลูกผัก และทำนา ส่วนตัวที่เข้ามาอยู่ในผืนนาแห่งนี้คือการเรียนรู้องค์กรที่ใช้ธุรกิจช่วยชาวบ้านและดูแลเรื่องปากท้องชาวบ้าน และผมก็คิดว่าน่าสนใจและจะศึกษาไปเรื่อยๆพร้อมกับการสร้างองค์กรต่อไป
เราก็จะให้ทำเรื่องวิถีการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนมากนักศึกษามาก็มีการดำนา เกี่ยวข้าว และมีนวดข้าวด้วย ที่นี้ก็จะใช้วัวนวด คือเราจะทำเป็นแบบอนุรักษ์ประเพณี ลักษณะจะเป็นการเข้ามาช่วยพวกเรา หลังจากนั้นก็จะมี่วงคุยกับนักศึกษาเรื่อง การเกษตร วิถีการผลิต ปัญหาของเกษตรกร ซึ่งบางกลุ่มก็มีการจัดค่ายเรียนรู้
เรามีความคาดหวังกับสิ่งที่ทำอย่างไร
เป้าหมายคือมีโมเดลองค์กรที่ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และทำธุรกิจต่อไป พร้อมทั้งเรียนรู้ไปเรื่อยๆ และคงอาจอยู่ที่นี้ยาวเพื่อทำโมเดลนี้ให้สำเร็จ
ที่มา : Siam Intelligence วันที่ 6 ม.ค. 2558
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.