รากฐานอันมั่นคงของภูมิเศรษฐศาสตร์ไทยคือเกษตรกรรม เราจะต้องสร้างความมั่งคั่งขึ้นจากแผ่นดินและผืนน้ำอันเป็นทรัพยากรของเราเอง เราไม่อาจสร้างความมั่งค่งขึ้นได้จากเป็นแรงงานรับจ้างประกอบสินค้าอุตสาหกรรมของทุนต่างชาติแล้วส่งออกในนามสินค้าไทยในทรรศนะของเรา เรามิได้ปฏิเสธอุตสาหกรรม เพียงแต่เรามองว่า รากฐานที่แข็งแกร่งของเราคือภาคเกษตรกรรม เราควรพัฒนาภาคเกษตรกรรม ทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตอาหาร ผลิตสินค้าเกษตรแหล่งสำคัญของโลก ทั้งนี้ต้องสร้างอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของเรา
เราต้องพัฒนาอุตสาหกกรมให้ใหญ่โต แต่อุตสาหกรรมนั้นต้องต่อยอดจากผลผลิตของเราเอง ไม่ใช่อุตสาหกรรมรับจ้างประกอบชิ้นส่วนอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ชาวไทยควรเห็นความสำคัญของภาคเกษตรกรรม แล้วช่วยกันผลักดันให้รัฐไทยหันกลับมาเดินเส้นทางที่ถูก นั่นคือเน้นพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่อยอดจากภาคเกษตรอุตสาหกรรมต่อยอดภาคเกษตรนั้น อย่ามองคับแคบว่ามีแต่เพียงเรื่องเกี่ยวกับอาหาร ความจริงมันมีเกี่ยวพันกับทุก ๆ ด้าน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐต้องถือเป็นภารกิจที่จะต้อง ปฏิรูปสังคม
เพราะปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องออกมามาชุมนุมกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมักลุกลามถึงขั้นปิดถนนกันนั้น คือความล้มเหลวของการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมการชุมนุมของเกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเมื่อราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ จนเกือบจะกลายเป็นงานประจำปีของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรเดือดร้อน รัฐบาลก็ช่วยอุ้มช่วยสงเคระห์ หามาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ นานา แต่ปัญหาก็ยังเกิดขึ้นเสมอ ย้อนดูแล้วสินค้าพืชผลเกือบทุกชนิดเคยเกิดปัญหาราคาตกต่ำ
พืชผลที่รัฐต้องช่วยเหลือเรื่องราคาทุกปีคือข้าว เงินที่ใช้ช่วยเหลือชาวนาในส่วนแก้ปัญหาเรื่องราคานั้น ในระยะห้าสิบปีผ่านมานี้ รวมกันแล้วมากมายนัก แต่โดยภาพรวมแล้วชาวนากลับยากจนลงพืชผลที่สำคัญอื่น ๆ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ยางพารา ลำไย ฯ รัฐก็เคยต้องใช้เงินจำนวนมากช่วยเหลือเรื่องราคาตกต่ำอยู่เสมอเรื่องที่เราอยากให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยทบทวนอย่างจริงจังคือ เกษตรกรต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง
สังคมไทยใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของทุนสากล ราคาพืชผลการเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาดโลก รัฐบาลไทยรวมถึงรัฐบาลของทุกประเทศไม่มีอำนาจอิทธิพลพอที่จะเป็นผู้กำหนดราคาผู้ที่มีอำนาจจริงในตลาดโลกคือ ทุน ของเอกชน ซึ่งก็แน่นอนว่าย่อมต้องการ กำไรสูงสุด ซื้อสินค้าจากประเทกำลังพัฒนาในราคาต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ แล้วหาแหล่งขายในราคาสูงที่สุดที่จะทำได้ธรรมชาติของทุนเป็นอย่างนี้ ปัญหาความผันพวนของราคา การตกต่ำของราคาสินค้าพืชผลเกษตร จึงเกิดเป็นประจำ ใช้คำชาวบ้านก็ว่า มันเป็นปัญหาโลกแตก แก้ไขได้
ความต้องการของ ทุน ย่อมอยากให้เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อสนอง อุปทาน (ดีมานด์)ของทุน แต่เกษตรกรไม่ควรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพราะหากเกิดปัญหาในเรื่องราคาขึ้นมาคราวใด ความเสียหายความเดือดร้อนจะหนัก เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ควรรู้เท่าทัน ทุนนิยม และสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง ทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม อย่าฝากชีวิตกับพืชเชิงเดี่ยว
ที่มา : สยามรัฐ วันที่ 15 ธ.ค. 2557