การแก้ไขปัญหาการลดและยกเว้นภาษี
(1) แก้ไขปัญหาการการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ที่เจ้าของอยู่เองซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี
และเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออยู่อาศัยเอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ และการลดหย่อนค่ารายปีสำหรับโรงเรือนติดตั้งส่วนควบที่เป็นเครื่องจักรเพื่อประกอบการอุตสาหกรรมโดยคิดค่ารายปีดังกล่าวเหลือ 1 ใน 3 ของค่ารายปีโรงเรือนและเครื่องจักรดังกล่าว ทำให้ฐานภาษี แคบไม่เป็นธรรมแก่ผู้เช่าบ้านอยู่อาศัยที่ถูกผลักภาระภาษีรวมอยู่ในค่าเช่าบ้าน ไม่เป็นธรรมแก่ผู้เช่าซื้อบ้าน อยู่อาศัยจากธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ที่ถูกผลักภาระภาษีจากธนาคารพาณิชย์ และผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ในกรณีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะจัดเก็บภาษีจากเจ้าของบ้านอยู่อาศัยเอง เจ้าของโรงเรือนปิดว่าง และเจ้าของโรงเรือนที่ให้เช่าซื้อโดยการเคหะและธนาคารพาณิชย์ ทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีด้วยกันเอง ทั้งนี้ โดยยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบการอุตสาหกรรม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันสมควรส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้า เพื่อให้สินค้าส่งออกสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
(2) แก้ไขปัญหาการลดหย่อนที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 22 แห่งพระราชพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ซึ่งกำหนดให้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียว
หรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือ
ประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(2.1) ที่ดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้ลดหย่อนได้ 3 – 5 ไร่ ตามที่กำหนดโดยข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
(2.2) ที่ดินในเขตเทศบาลตำบลให้ลดหย่อนได้ 200 ตารางวาถึง 1ไร่ ตามที่กำหนดโดยเทศบัญญัติ
(2.3) ที่ดินในเขตเมืองพัทยา เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมืองให้ลดหย่อนได้ 50 – 100 ตารางวา ตามที่กำหนดโดยเทศบัญญัติ
(2.4) ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครให้ลดหย่อนได้ ดังต่อไปนี้
(ก) ในท้องที่ชุมชนหนาแน่นมาก ให้ลดหย่อน 50 – 100 ตารางงวา
(ข) ในท้องที่ชุมชนหนาแน่นปานกลาง ให้ลดหย่อน 100 ตารางวาถึง 1 ไร่
(ค) ในท้องที่ชนบท ให้ลดหย่อน 3 – 5 ไร่
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ท้องที่ใดจะเป็นท้องที่ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่า ไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น ในกรณีที่บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น และการลดหย่อนดังกล่าว ให้ได้รับการลดหย่อนสำหรับที่ดินที่อยู่ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว ผลของการลดหย่อนที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีดังกล่าวทำให้เจ้าของบ้านอยู่อาศัยเอง ประเภททาวน์เฮาส์ ตึกแถว เรือนแถวไม้ ส่วนใหญ่ได้รับยกเว้นที่ดินหมดไปจนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ทำให้ฐานภาษีแคบ และไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่อื่น ๆ กรณีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนดให้เก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และที่ประกอบเกษตรกรรม โดยกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม ดังนี้
1) กรณีผู้เสียภาษีมีที่ดิน สิ่งปลูกสร้างที่ถือครองอยู่ทั้งหมดในเขต อปท. เพียงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนและทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้ผู้เสียภาษีนั้นได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยดังกล่าว
2) ให้ยกเว้นภาษีให้แก่เกษตรกรที่ใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของตนเพื่อประกอบเกษตรกรรมเป็นการทั่วไปไม่เกินมูลค่าที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
3) เหตุผลที่ให้ยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยตาม 1) และยกเว้นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเกษตรกรรมตาม 2) ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในพื้นที่ที่ไม่ติดถนนพบว่าปัจจุบัน ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินที่ไม่ติดถนนมีราคาตั้งแต่ตารางวาละ 10 - 40,000 บาท โดยหน่วยที่ดินที่มีราคา
10 – 100 บาทต่อตารางวา (ไร่ละ 4,000 บาทถึงไร่ละ 40,000 บาท) มีร้อยละ 53 ราคาที่ดินเกิน 100 –500 บาท (ไร่ละ 40,000 บาทถึงไร่ละ 200,000 บาท) มีร้อยละ 33 แสดงว่ายังมีพื้นที่ที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ทำให้มีความสามารถในการเสียภาษีน้อย จึงเห็นสมควรให้มีการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยของตนหรือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรมของตนในที่ซึ่งความเจริญเข้าไปไม่ถึงตามมูลค่าที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากภาษีนี้เป็นภาษีที่จ่ายเพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตน จึงควรที่จะยกเว้นภาษีเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มีภาษีเพียงพอแก่การพัฒนาท้องถิ่น
2.7 การปฏิบัติจัดเก็บภาษี อปท. จะต้องดำเนินการ ดังนี้ (1) สำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในเขต อปท. จัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้เสียภาษีแต่ละราย ประกาศบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และแก้ไขบัญชีดังกล่าว ให้ถูกต้องอยู่เสมอ
(2) ประกาศราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลักเกณฑ์การประเมินทุนทรัพย์สำหรับสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษีในแต่ละปี
(3) ประเมินมูลค่าที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุด จำนวนภาษีที่ต้องชำระ แจ้งการประเมินและส่งแบบแสดงรายการเสียภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี
(4) เรียกเก็บภาษีที่ต้องชำระและภาษีค้างชำระ รวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเพื่อนำเงินมาชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรับจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมได้ต่อเมื่อมีการชำระค่าภาษีครบถ้วนแล้ว
การแก้ไขปัญหาการปฏิบัติจัดเก็บภาษี ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ปรับปรุงการปฏิบัติจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีและการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีมากยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) แก้ไขปัญหากรณีทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินแล้วรอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีก่อนจึงจะชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้
ในกรณีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผู้เสียภาษีเพียงแต่ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีรายการที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้าง ตรวจสอบความถูกต้องของการประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการคำนวณภาษีและ
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมกับชำระค่าภาษีให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และยังกำหนดให้ผู้เสียภาษีอาจ
มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมชำระภาษีแทนตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็น
หนังสือมอบอำนาจ
(2) ทั้งกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินและกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่มิได้กำหนดให้ดอกเบี้ย
แก่จำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืน แต่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินที่ได้รับคืนในกรณีเห็นว่ามีการประเมินผิดพลาดซึ่งเกิดจากเจ้าพนักงานประเมิน
(3) กรณีค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธ์ไปเป็นของเจ้าของ
คนใหม่ กฎหมายภาษีโรงเรือนให้เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน และกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่ให้ผู้รับโอนมีหน้าที่ร่วมกับเจ้าของที่ดินเดิมเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ค้างชำระไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งปี สุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดินด้วย แต่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนดให้ผู้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนำหนังสือรับรองหนี้ภาษีค้างชำระมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ต่อเมื่อมีการชำระค่าภาษีครบถ้วนแล้ว
(4) การประเมินภาษีย้อนหลัง กฎหมายโรงเรือนและที่ดินกำหนดให้กรณีไม่ยื่นแบบพิมพ์
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาให้ยื่นแบบพิมพ์และกรณียื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี และกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่กำหนดว่ากรณีเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทราบว่าเจ้าของที่ดินมิได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน แต่ไม่ได้กำหนดให้ประเมินภาษีย้อนหลังกรณี ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินไม่ถูกต้อง แต่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 5 ปี ทั้งกรณีผู้เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีไม่ครบถ้วน
(5) ความรับผิดชอบในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของ กฎหมายภาษี
โรงเรือนและที่ดินกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ต้องเสียค่าภาษีทั้งสิ้น ถ้าเจ้าของ
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ไม่เสียภาษี การทอดตลาดทรัพย์สินของผุ้นั้นให้รวมขายสิทธิใด ๆ ใน
ที่ดินอันเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ยังคงมีอยู่นั้นด้วย แต่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กำหนดให้เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้น มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันสำหรับภาษีที่ต้องชำระ และกรณีมีภาษีค้างชำระให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันในการชำระภาษีค้างชำระ
2.8 บทเฉพาะกาล มีทั้งหมด 4 ประเด็น ดังนี้
(1) ให้ใช้กฎหมายปัจจุบันต่อไปเฉพาะการจัดเก็บภาษีที่ค้างอยู่ก่อนวันที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ
(2) อภัยโทษทางภาษีโดยการยกเว้นเงินเพิ่ม ความรับผิดทางอาญาถ้าได้มาขอเสียภาษีที่ค้างหรือชำระภาษีให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
(3) มีการบรรเทาภาระภาษีอันเกิดจากผลกระทบในการจัดเก็บภาษีตามร่างกฎหมายใหม่
โดยให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นให้เสียภาษีเดิมรวมกับส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 75 ในปีที่หนึ่งและสองตามลำดับ ส่วนผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มาก่อนให้เสียภาษีร้อยละ 50 75 ของภาษีที่ต้องเสียในปีที่หนึ่งและสองตามลำดับ
(4) การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดเก็บภาษี เมื่อพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ ต้องมีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับแผนที่ภาษี จัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้เสียภาษี มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการกำหนดอัตราภาษี ยกร่างพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงและระเบียบกระทรวงมหาดไทยตามที่กฎหมายกำหนด
3. สรุปผลของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(1) การนำพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้เป็นการปฏิรูประบบภาษีทรัพย์สินให้เกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้นโดยใช้ฐานราคาประเมินทุนทรัพย์ที่เป็นปัจจุบันในการจัดเก็บภาษีทำให้ผู้ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงต้องเสียภาษีสูงกว่าผู้ที่มีมูลค่าทรัพย์สินต่ำ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการใช้ฐานราคาปานกลางของที่ดินปี พ.ศ. 2521 ถึง ปี พ.ศ. 2524 ในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ และแก้ไขปัญหาการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าเช่าต่อปีกรณีไม่มีค่าเช่าในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(2) อัตราภาษีที่จัดเก็บสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ปัจจุบัน จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้เสียภาษีมากนัก
(3) มีการขยายฐานภาษีโดยรวมถึงเจ้าของโรงเรือนอยู่อาศัยเอง (ซึ่งปัจจุบันลดหย่อน 50 ตารางวา ถึง 5 ไร่) โรงเรือนปิดไว้ตลอดปีโดยมิได้ใช้ประโยชน์และห้องชุดอยู่อาศัยเพื่อให้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐทุกคนต้องเข้ามาอยู่ในระบบภาษีเนื่องจากได้รับประโยชน์จากบริการของท้องถิ่นเหมือนกัน
(4) กระตุ้นให้มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพโดยการจัดเก็บภาษีที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดินในอัตราที่สูง
(5) สนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลังโดยให้ อปท. มีอำนาจออกข้อบัญญัติกำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้นจากอัตราภาษีที่คณะกรรมการฯ กำหนด
(6) ท้องถิ่นมีรายได้เพื่อการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากการใช้ฐานราคาทรัพย์สินที่เป็นปัจจุบันและการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น ภายใต้ข้อสมมติฐานอัตราภาษีที่ คณะกรรมการฯ กำหนด ดังนี้ อัตราภาษีเพื่ออยู่อาศัยเอง เกษตรกรรม ทั่วไป ที่ดินว่างเปล่า
|
รายได้เพิ่มขึ้นภายหลังบรรเทาภาระภาษี (ล้านบาท) |
||
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
|
0.02 + 0.01 + 0.10 + 0.10 |
4,387 |
6,580 |
8,774 |
0.05 + 0.025 + 0.25 + 0.25 |
19,663 |
29,495 |
39,327 |
0.10 + 0.05 + 0.50+0.50 |
45,124 |
67,686 |
90,249 |
4. การเตรียมความพร้อม การจัดเก็บภาษีดังกล่าวต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อมก่อนการจัดเก็บภาษี 2 ปี ตามบทเฉพาะกาล และต้องจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมในการนำภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างมาใช้
การเตรียมความพร้อมตามบทเฉพาะกาล
(1) ให้กรมที่ดินจัดทำแผนที่ดิจิทัลเชื่อมโยงกับข้อมูลทะเบียนที่ดินทุกแปลงให้ครบถ้วน ทั่วประเทศภายใน 2 ปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาไปอีก 1 ปี สำหรับการดำเนินการแผนที่ที่ดินจำนวน 30 ล้านแปลงทั่วประเทศเพื่อให้ อปท. ใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งปัจจุบัน อปท. ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ อบต. ยังไม่ได้จัดทำแผนที่ภาษี และกรมธนารักษ์ใช้ในการประเมินราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรายแปลง
(2) ประกาศพระราชกฤษฎีกาสิ่งปลูกสร้างที่ใช้จัดเก็บภาษีเพิ่มเติม (ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน) และออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมินราคาทรัพย์สินอื่น (3) อปท. สำรวจและจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเมินมูลค่าที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างและแจ้งการประเมินไปยังผู้เสียภาษี
(4) คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษีประจำจังหวัดหรือคณะอนุกรรมการ จัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษีประจำกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี รวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูลที่ อปท. ส่งมาให้แล้วส่งให้คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(5) คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนดอัตราภาษี กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่านอกจากการเตรียมความพร้อมตามบทเฉพาะกาล ดังกล่าวแล้ว เห็นควรจัดสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ อปท. เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การประเมินทรัพย์สินอื่นที่จัดเก็บภาษีโรงเรือนฯ เพิ่มเติมให้ครบถ้วน การจัดทำโครงการศูนย์สาธิตเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
โดย กรกัญญา เตชะรุ่งนิรันดร์
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.