0.46 ตามด้วยเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ราวๆ 0.4 (ค่าจีนี่แสดงระดับความเหลื่อมล้ำค่ายิ่งสูงระดับความเหลื่อมล้ำยิ่งสูง)
สำหรับทั้งภูมิภาค ข้อมูลจาก 17 ประเทศ แสดงค่าจี่นี่ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.1 ต่อปี นับว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลงอย่างน่าทึ่งมากทีเดียว แม้ว่าละตินอเมริกาจะยังเป็นภูมิภาคที่มีค่าเฉลี่ยจี่นี่สูงที่สุดอยู่ก็ตาม
มูลเหตุของความเหลื่อมล้ำสูงนั้น มีหลายประการ คือ (1) ระบบการเมืองที่มีชนชั้นนำเป็นผู้ควบคุมนโยบาย (2) ตลาดเงินกู้ที่กีดกันคนระดับล่าง ทำให้ขาดโอกาสเข้าถึงทางการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ครัวเรือน ขณะที่คนรวยกว่ามีโอกาสมากกว่า (3) โอกาสได้รับการศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ค่าจ้างแรงงานระหว่างคนงานมีฝีมือกับคนงานไร้ฝีมือต่างกันมาก (4) การเหยียดผิวและการกีดกันผู้หญิง (5) การพุ่งขึ้นของภาคการเงิน (โดยเฉพาะธนาคาร) เมื่อทศวรรษ 1990 ทำให้รายได้ในกลุ่มนี้สูงมากกว่ากลุ่มอื่น
สำหรับคำอธิบายความเหลื่อมล้ำลดลงได้อย่างไรนั้น งานศึกษาของ Lopez Calva และ Lustig เกี่ยวกับ 3 ประเทศที่อ้างถึงข้างต้น ชี้ไปที่ปัจจัยหลัก 2 ประการคือ (1) การขยายการศึกษา (จำนวนปี) และการฝึกงาน ที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้าคือ เมื่อทศวรรษ 1980 ได้ทำให้ความต่างระหว่างค่าจ้างของคนงานมีฝีมือกับไร้ฝีมือลดลง และ (2) รัฐบาลได้เพิ่มเงินอุดหนุน (transfers) ให้กับคนจน
ปัจจัย (1) นั้นหมายความว่า คนงานไร้ฝีมือมีค่าแรงเพิ่มขึ้น จึงเปิดช่องให้ส่งลูกไปเรียนหนังสือได้มากกว่าเดิมด้วย ดังนั้น นโยบายเพิ่มโอกาสการศึกษาให้แก่สมาชิกครัวเรือนระดับล่างจึงมีผลลดความเหลื่อมล้ำถึง 2 สถาน เป็นผลดีกับอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย
ปัจจัย (2) นั้น มีรายละเอียดบางประการที่น่าสนใจคือ ที่บราซิล เริ่มจากสมัยประธานาธิบดีลูลา มีนโยบายอุดหนุนครัวเรือนระดับล่างที่มีลูกในวัยเรียนโดยโอนเงินอุดหนุนให้กับแม่ โดยที่แม่ต้องดูแลให้ลูกไปโรงเรียน ไปฉีดวัคซีน โครงการนี้ครอบคลุมครัวเรือนถึง 1.2 ล้าน เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จลดระดับความยากจนลงถึงร้อยละ 27.7 ระหว่างปี 2546 ถึงปี2548
ที่อาร์เจนตินา เมื่อปี 2545 รัฐบาลดำเนินนโยบายให้เงินอุดหนุนแก่หัวหน้าครัวเรือนทั้งชายและหญิงที่ตกงานและมีลูกอายุต่ำกว่า 18 และหรือมีสมาชิกคนพิการ รัฐบาลใช้เงินเพื่อการนี้เพียงร้อยละ 1 ของ GDP แต่ได้ส่งผลลดความเหลื่อมล้ำลงอย่างมาก
ที่เม็กซิโก เริ่มในปี 2545 เช่นกัน รัฐบาลให้เงินอุดหนุนครัวเรือนระดับล่างที่มีลูกในวัยเรียน โดยพ่อแม่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนและไปตรวจสุขภาพ หนึ่งในสี่ของครัวเรือนเม็กซิโกได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าวในปี 2549
ภูมิหลังของการดำเนินนโยบายให้เงินอุดหนุนครัวเรือนระดับล่างโดยตรง เกิดจากที่ประเทศเหล่านี้ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงินหลังวิกฤตต้มยำกุ้งและวิกฤตที่รัสเซีย
งานศึกษาเกี่ยวกับบราซิลและอาร์เจนตินา โดย James K. Galbraith ให้ความกระจ่างถึงสาเหตุที่ความเหลื่อมล้ำลดลงเพิ่มเติมว่า เกี่ยวโยงกับการที่ภาคการเงินลดบทบาทนำในระบบเศรษฐกิจหลังจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2544 เปิดช่องให้รัฐบาลที่มีอุดมการณ์ก้าวหน้า (Lula และ Kirchner) ดำเนินนโยบายฉีกแนวออกไปจากเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) โดยรัฐบาลเข้ามาเกื้อหนุนคนระดับล่าง และเข้ามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น นอกจากนั้น มีปัจจัยเอื้อกับความเติบโตของเศรษฐกิจเป็นตัวช่วยด้วย คือ ราคาดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ลดลง ราคาสินค้าขั้นปฐมที่สูงขึ้น และความต้องการสินค้าขั้นปฐมจากจีนที่เพิ่มขึ้น
ประสบการณ์ของละตินอเมริกา ชี้ว่า สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ ด้วยนโยบายและมาตรการที่ให้ประโยชน์กับครัวเรือนระดับล่างโดยตรง
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการวิเคราะห์ว่า การลดลงของความเหลื่อมล้ำที่ละตินอเมริกาอาจจะไม่ยั่งยืนในระยะยาว ถ้าหากว่ารัฐบาลไม่ดำเนินการปฏิรูปภาษี เพื่อเพิ่มรายได้
ให้แก่รัฐบาล และเพื่อใช้นโยบายอัตราภาษีก้าวหน้าและภาษีทรัพย์สิน เป็นมาตรการช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้วย ขณะนี้บราซิลและอาร์เจนตินาเก็นภาษีได้มากตามสมควรคือร้อยละ 33 และร้อยละ 37 ของ GDP ตามลำดับ แต่เม็กซิโกยังเก็บได้เพียงร้อยละ 20 ของ GDP เท่านั้น ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของละตินอเมริกาทั้งภูมิภาค
ประเด็นเรื่องการปฏิรูปภาษีนี้เป็นปัญหาของไทยด้วยเช่นกัน
มติชน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.