ล่าสุดกรมประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมกันกับสถาบันประชาชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน และเครือข่ายองค์กรชาวนาไทย จัดเวทีสัมมนา “ชาวนาบอกชาวนา ทางเลือกทางรอดชาวนาไทยยุค 4.0” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยความหวังว่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาไทยได้อย่างยั่งยืน...
ระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย กล่าวว่าโมเดล “การปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์” นำร่องด้วยลูกหนี้ของ ธ.ก.ส. เพื่อปลดหนี้ชาวนาให้เป็น 0ด้วยการคัดเลือกชาวนาซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นดีของ ธ.ก.ส. มีสินทรัพย์เป็นหลักประกันที่มีมูลค่ามากกว่าหนี้สิน เมื่อคำนวณออกมาแล้ว ให้นำหนี้สินมาหักลบกัน
นายวลิต เจริญสมบัติ ประธานเกษตรแปลงใหญ่ระดับประเทศ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดราชบุรี ความคิดเห็น การประกอบอาชีพทำนาในปัจจุบัน ต้องอาศัยองค์ประกอบอย่างอื่นด้วย อย่างเช่น เทคโนโลยี การบริหารจัดการ การตลาด การนำองค์ความรู้จากชาวนามาปรับเข้าสู่กระบวนการทางความคิด การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนช่วย เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนการแข่งขันให้เกิดคุณภาพและปริมาณผลผลิตสูง จำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อันจะนำมาซึ่งรายได้ที่สูงตามมา
ตัวอย่าง“ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ตำบลเจดีย์หัก” (อ.เมือง จ.ราชบุรี) ปี 2545 คิดปรับปรุงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพและปริมาณสูง พร้อมๆ ไปกับการปรับปรุงบำรุงดิน น้ำ ตลอดจนระบบนิเวศน์ทุกอย่าง แก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรในตำบลเจดีย์หัก จำนวน 33 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 21 ล้านบาท ทั้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดาเกษตรกรชาวนาทุกคนให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ครั้งแรกมีสมาชิกเพียง 25 คน ในพื้นที่ที่ทางราชการกำหนด คือ 200 ไร่ ประสบความสำเร็จเพียง 7 คน ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
แต่พอปี 2546 ส่งเมล็ดพันธุ์เข้าไปตรวจสอบทั้งความบริสุทธิ์และความงอกตามหลักเกณฑ์ที่ราชการกำหนดมา ปรากฏว่า เมล็ดพันธุ์ที่ส่งตรวจมีค่าเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด มีโรงสีข้าวในปี 2550 เป็นผลมาจากความร่วมมือในการทำงานของทุกคนในชุมชน ปัจจุบัน ศูนย์แห่งนี้มีสมาชิกทั้งหมด ประมาณ 400 คน มีเงินทุนหมุนเวียน ปีละ 2 – 3 ล้านบาท มีกฎเกณฑ์การฝากเงินว่า หากคุณฝากครบ 20,000 บาท จะต้องถอนออกไป 10,000 บาทกำหนดไว้ว่าต้องมีเงินหมุนเวียนไม่เกิน 4 ล้านบาท
ประยูร แตงทรัพย์ ชาวนาวัย 50 กว่าปี ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่สามารถผลิตข้าวพันธุ์ชั้นดี ซึ่งโรงสีรับซื้อโดยไม่ต้องตรวจสิบสินค้า เขานำศาสตร์พระราชามาใช้ใน เพาะปลูกหลากหลายรูปแบบ เลือกทำการเกษตรที่หลากหลาย ลดต้นทุนการทำนา เพื่อไม่ให้ขาดทุน โดยลดใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ใช้แรงงานตัวเอง เก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกเอง และปรับตัวเพื่อดำรงอาชีพ ด้วยความพอใจส่วนตัว รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการตลาด โดยความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ ในการผลิตและจำหน่าย
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.