นาย ชาร์ลี เธมม์ ผู้เขียนกล่าวว่า รายงานฉบับนี้ได้มีการทำการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชาที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 แห่ง นั่นคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ ก่อตั้งปี 2006 ด้วยเงินลงทุน 92 ล้านดอลล่าร์ เนื้อที่ 3.5 ตร.กม. เขตเศรษฐกิจพิเศษศรีหนุวิวล์ ก่อตั้ง ปี 2012 เนื้อที่ทั้งหมด 16.8 ตร.กม. โดยมีเป้าหมายให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน
เมียนมา 3 แห่ง นั่นคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่ว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐยะไข่ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย(ใกล้กับชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี) เขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ขนาด 25 ตร.กม. ใกล้กับเมืองย่างกุ้งของประเทศเมียนมา
โดยมีการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์ การพูดคุย ผ่านแหล่งข้อมูลชั้นต้นกว่า 70 แหล่ง การค้นคว้าจากงานวิจัยอีกนับ 100 ฉบับ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และสามารถตอบโจทย์ของการวิจัยในครั้งนี้ได้
สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชา ได้มีนักลงทุนเข้าไปเปิดกิจการและมีการจ้างงาน จากการศึกษาพบว่ามีการละเมิดสิทธิของชาวบ้าน เช่น การบล็อกถนนปิดชาวบ้านไม่ให้หนีไปไหนแล้วมีการทำร้ายชาวบ้าน การถ่ายรูปชาวบ้านชาวบ้านที่อยู่ในสหภาพแรงงาน เพื่อให้การจ้างงานแรงงานคนนั้นเป็นไปได้ยากมากขึ้น มีการส่งตำรวจที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายไปปราบปรามแรงงานที่ชุมชนเรียกร้องสิทธิ จนทำให้เกิดการเสียชีวิต นายชาร์ลีกล่าว
สำหรับในประเทศเมียนมา เหมือนว่าตอนนี้เมียนมาจะให้ความสำคัญกับเขตเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้น เมียนมาเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่ได้รับอิทธิพลจากจีนและไทย เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ตั้งขึ้นที่จ้าวผิ่วหรือทวาย จะทำให้การขนส่งน้ำมัน ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา มีการพูดถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาว่ามันจะเป็นพื้นที่ที่สูญเสียให้กับต่างประเทศ เพราะจีนเข้ามาให้เงินกู้กับรัฐบาลเมียนมาในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพราะรัฐบาลไม่มีเงินที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้น นอกจากนั้นจีนยังมีความต้องการที่จะมาสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษในรัฐยะไข่ประเทศเมียนมา
นอกจากนั้น ยังมีการเชิญ Commentators เข้ามาให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับงานศึกษาในครั้งนี้ด้วย โดย นาย อาน รามา โปรเจ็ค โค-ออดิเนเตอร์ ขององค์กร CATU องค์กรที่ทำงานด้านแรงงานในประเทศกัมพูชากล่าวว่า ในขณะที่แรงงานกัมพูชาจำนวนมากได้งานทำในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปไกลบ้านแต่การจ้างงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษกลับเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ โดยแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นจะได้รับสัญญาเพียงครั้งละ 3 เดือน และด้วยค่าจ้างที่ถูกเช่นนี้ทำให้แรงงานต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ได้รายได้มากพอเพื่อเลี้ยงปากท้อง ส่วนการจ้างงานตำแหน่งใหญ่ๆนั้นโดยส่วนใหญ่ บริษัทก็จะนำคนจากตัวเองมาทำ คนกัมพูชาสามารถทำงานได้เพียงตำแหน่งเล็กๆเท่านั้น
"มันเหมือนกับว่าพวกเขา เข้ามาตั้งโรงงานที่บ้านของเรา แต่กลับเอาทุกอย่างกลับไปประเทศเขาด้วย
ขณะที่นาง ซูซู สวี สมาชิกของคณะกรรมการสหภาพแรงงานผู้หญิงในทวาย กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลสัญญาว่า จะให้ช้างเรา แต่ความเป็นจริงเขาให้วัวแก่เรา แล้วพวกเขาก็บอกว่าเราได้กำไรแล้ว แต่ในขณะเดียวกันเวลาพวกเขาจะเอากลับพวกเขาเอาช้างกลับไป เราจึงเหลือแต่แกะ”
โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งในกัมพูชาและเมียนมานั้นมีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง เช่น
การละเมิดสิทธิของประชาชน “การละเมิดสิทธิมนุษยชน ชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ในเรื่องของการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านพบว่ากระบวนเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นจากพื้นที่ โครงการสามรถเกิดขึ้นได้ลำบากมาก แต่ว่าถ้าชาวบ้านไม่สามารถที่จะมีปากมีมีเสียง ไม่สามารถที่จะมีส่วนร่วม เราได้เรียกร้องที่จะขอดู เขียนจดหมายถึงรัฐบาลกลางรัฐบาลท้องถิ่น แต่รัฐบาลกลับเห็นว่าเราเป็นผู้ขัดขวางการพัฒนา และไม่เคยมาคุยกับเรา”
การที่รัฐบาลให้ความสำคัญของนักลงทุนมากกว่าชาวบ้าน อย่างการที่นาย เท็น ซิน จากองค์กร Dawei Development Association กล่าวไว้ “แต่ก่อนเรามีรายได้เป็น 1,000 Kyats(สกุลเงินเมียนมา) ต่อวัน แต่เมื่อมีเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนั้น มีการโยกย้ายชาวบ้านถึง 30,000 กว่าคน ไม่ง่ายเลยที่จะย้ายชาวบ้านออกนอกพื้นที่ไปใหม่ ชาวบ้านยังมีการศึกษาไม่สูง มีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีแล้วก็มีความเสี่ยงในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัย สำหรับนักลงทุนเองก็ยังมีความเสี่ยง แต่พวกเขากำลังถูกบีบให้กลายมาเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย”
ที่มา landwatchthai 21/10/17
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.