ราวปี พ.ศ.2518 ผมจบบัญชี จุฬาฯ มาหลายปีแล้ว ออกมาดูแลกิจการประมงที่บ้านเกิดแม่กลอง และร่วมกับชาวประมงระดับแนวหน้าของจังหวัดสมุทรสงคราม ก่อตั้งสหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัดโดยระดมทุนจากชาวประมงแม่กลอง
จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ ทำการเปิดตลาดขายปลาของสมาชิกที่นำเรือมาเทียบท่าสหกรณ์ริมน้ำแม่กลอง หรือขนถ่ายมาจากท่าเรือปลายทางทางรถบรรทุก มาเข้าล็อกขายปลาที่ตลาดปลาสหกรณ์
เป็นครั้งแรกที่ชาวประมงไทยเริ่มจัดตั้งสหกรณ์รวมตัวกันขายผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
ในปี พ.ศ. นั้น ศูนย์พัฒนาประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Fisheries Development SEAFDEC) ได้ส่งที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นคือ Mr.Miyake และ Dr.Yamao มาดูงานที่สหกรณ์ โดยผมเป็นผู้บรรยายสรุป
Mr.Miyake เป็นผู้เชี่ยวชาญประมงที่รัฐบาลญี่ปุ่นสปอนเซอร์ใหญ่ของ SEADEC ส่งมาช่วยบรรยายและดูแลงานที่นี่
ตอนที่เจอกันนั้น Mr.Miyake อายุใกล้ 60 ปีแล้ว เป็นผู้ใหญ่ญี่ปุ่นที่ใจดี ให้ความเมตตาและให้คำแนะนำต่างๆ เขียนจดหมายติดต่อกันหลายปี และเจอกันตอนที่ผมไปสัมมนาเรื่องสหกรณ์ประมงที่ญี่ปุ่น
ส่วน Dr.Yamao ตอนนั้นเป็นด๊อกเตอร์หนุ่มด้านประมงหล่อเฟี้ยวจากคณะประมงแห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด นักวิชาการด้านประมงต่างรู้ดีว่า ด๊อกเตอร์ด้านประมงจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดนั้นไม่ธรรมดา
Dr.Yamao มาทำงานวิจัยที่ SEAFDEC ได้ภรรยาเป็นสาวไทย อักษรศาสตรบัณฑิตจากจุฬาฯ แล้วกลับไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น ทุกวันนี้ Dr.Yamao เป็นอาจารย์ที่ Kagoshima University เกาะกิวชิวทางใต้ มีลูกสองคน
หกเดือนแรกของสหกรณ์ประมงแม่กลองที่เป็นตลาดปลาทำหน้าที่คนกลางซื้อขายปลาเองนั้น มีปัญหามากมาย เรื่องใหญ่สุดคือ แม่ค้าที่มาซื้อปลาไปด้วยบัญชีเงินติด แล้วสหกรณ์ต้องชำระค่าปลาให้สมาชิกก่อนนั้น ส่วนใหญ่จะ “ชักดาบ” ไม่ใช้หนี้ ทำให้เงินทุนสำรองของสหกรณ์เริ่มร่อยหรอลงทุกที
ผมจึงตัดสินใจยุติบทบาทสหกรณ์ประมงแม่กลองในฐานะพ่อค้าคนกลางลง แล้วเปลี่ยนมาเป็นผู้กำกับตลาดเหมือนกับองค์การสะพานปลา กำหนดให้มีแพปลา 8 แพมาเป็นคนกลางซื้อขายปลาในตลาดปลาสหกรณ์แทน สหกรณ์มีรายได้จากค่ารถบรรทุกผ่านเข้าตลาดปลาคิดล้อละ 20 บาท รถ 10 ล้อหนึ่งคันต้องจ่าย 200 บาท ปกติจะมีรถเข้าตลาดปลาเฉลี่ยวันละ 50 คัน แล้วยังมีรายได้จากรถแม่ค้าปลา และค่าน้ำแข็งในตลาดปลา
มีเงินปันผลให้สมาชิกทุกปี ช่วยให้ลูกหลานชาวประมงจำนวนมากมีงานทำ และเกิดอาชีพต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์ปลาอีกมากมาย สร้างงานสร้างเงินในจังหวัดมหาศาล
เป็นผลงานที่ภาคภูมิใจในชีวิต
ผมนำโครงการตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลองที่ปรับปรุงใหม่นี้ นำเสนอในที่สัมมนานานาชาติที่กรุงโตเกียว
ในช่วงที่ประมงรุ่งเรือง เคยมีรถเข้าตลาดปลาวันละ 80-100 คัน รายได้ถึงวันละ 20,000 บาทขึ้นไป
ทุกวันนี้ ในยุคที่ประมงซบเซาสุดขีด ด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางการที่ออกมามากมาย สหกรณ์ประมงแม่กลองก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของโซลาร์ฟาร์มสหกรณ์รุ่นแรกของเมืองไทย
ปีพ.ศ.2518 ผมได้รับเชิญจากสหพันธ์สหกรณ์ประมงแห่งชาติญี่ปุ่น (National Federation of Fisheries Cooperative Association of Japan ZENGYOREN) ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง สหกรณ์ประมงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก 8 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล เกาหลี และผู้สังเกตการณ์จากบราซิล ประเทศละหนึ่งคนบ้าง สองคนบ้าง
หลายคนยังเป็นเกลอติดต่อกันทุกวันนี้ เพื่อนจากอินโดนีเซียใหญ่โตมโหฬารเป็นประธานสหกรณ์ประมงแห่งชาติอินโดนีเซีย
ผมได้รับเลือกจาก Zengyoren ให้เป็นตัวแทนของผู้เข้าสัมมนาร่วมกับด๊อกเตอร์จากอินเดีย ตอนที่เดินทาง Study Tour ที่เมืองนาโกยา และเกาะไข่มุก Essie Mikimoto มีกล้องของ NHK ติดตามถ่ายตลอดเวลา
แล้วผมกับด๊อกเตอร์อินเดียไปออกรายการสดของ NHK แสดงทัศนะเกี่ยวกับการสัมมนาครั้งนี้นานครึ่งชั่วโมง
ในอีกมุมหนึ่ง พอเสร็จจากการสัมมนาในทุกเย็น ผมกับคุณอุดมจากสหกรณ์ประมงมหาชัยก็ออกไปกินอาหารเย็นและพาคุณอุดมไปท่องราตรีแถวชินจูกุ มาเล่าให้ผู้เข้าสัมมนาคนอื่นที่ไม่มีใครกล้าออกจากโรงแรมฟัง จนได้ฉายาว่า
ชินจูกุบอย
และที่สุดของการท่องราตรีโตเกียวในครั้งนั้น ผมไปค้นพบโรงระบำเปลือยอก Nishikeki ที่ Ginza เป็นระบำเปลือยอกแบบฝรั่งเศส แสดงในโรงละครสวยงาม เวทียกขึ้นมาจากชั้นใต้ดิน
ระบำนี้แสดงมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเสียงโด่งดังมาก
ผมมาเล่าให้ผู้ชายที่เข้าร่วมสัมมนาฟัง ทุกคนอยากจะไปชมระบำเปลือยอก โดยเฉพาะด๊อกเตอร์จากอินเดีย
ผมจึงต้องกลายเป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาลูกทัวร์นานาชาติทั้งทีมไปชมระบำเปลือยอก Nishikeki
เป็นประสบการณ์ที่ยังจดจำถึงวันนี้
ทุกวันนี้ไม่ต้องไปหาโรงระบำ Nishikeki ปิดฉากไปหลายสิบปีแล้ว
ในเรื่องการสัมมนา
วันแรกหลังจากทำพิธีเปิดการสัมมนา ร่วมกินอาหารว่างกันแล้ว ชั่วโมงแรกของการบรรยายจาก Zengyoren เจ้าภาพ เขาเล่าว่า
ญี่ปุ่นมีโอกาสเป็นประเทศก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งรถยนต์ รถไฟ และอี่นๆ แต่ก่อนที่คนญี่ปุ่นจะผลิตนวัตกรรมจากเหล็กเหล่านั้นได้ คนญี่ปุ่นต้องกิน
จึงมีนโยบายว่าผู้ผลิตอาหารจะต้องอยู่ได้เป็นคนแรกและยืนหยัดเป็นคนสุดท้าย
ดังนั้น ชาวนาญี่ปุ่นผู้ผลิตข้าวเลี้ยงคนญี่ปุ่นจึงได้รับความช่วยเหลือและปกป้องจากรัฐบาลญี่ปุ่นตลอดมาทุกยุคสมัย
รัฐบาลญี่ปุ่นรับซื้อข้าวจากชาวนาในราคาประกันและขายให้ประชาชนในราคาที่ยุติธรรม นั่นหมายความว่า รัฐบาลญี่ปุ่นต้องขาดทุนจากการซื้อข้าวจากชาวนามาขายให้ประชาชนทุกรัฐบาล
แต่ไม่มีนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนไหนโดนฟ้องให้ศาลพิพากษาจำคุกจากการช่วยชาวนา
เขาอธิบายว่า เมื่อชาวนาขายข้าวได้ราคาดี มีกำไร ก็จะมีกำลังซื้อทั้งอุปกรณ์การทำนา เสื้อผ้า รถยนต์คันเล็กๆ ฯลฯ และรัฐบาลจะมีรายได้กลับคืนจากภาษี Vat และภาษีการค้า และภาษีเงินได้จากบริษัทผู้ผลิต
นั่นคือเรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาคง่ายๆ จากของจริง
ในส่วนชาวนาญี่ปุ่นถือเป็นเกษตรกรที่มีความสุขมาก คุณคงเคยเห็นกรุ๊ปทัวร์ญี่ปุ่นท่าทางเงอะงะเดินท่องเที่ยวตามธงหัวหน้าทัวร์ในกรุงเทพฯ นั่นคือชาวนาญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลมาท่องเที่ยวนอกประเทศ
แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีมาเมืองไทยแล้ว ลืมเสียเถิดความหลัง
ทั้งชาวนาและชาวประมงญี่ปุ่นเลือกมาสิงคโปร์ ได้ทั้งท่องเที่ยวและช้อปปิ้งจุใจ
นั่นคือคุณภาพชีวิตชาวนาญี่ปุ่นเพื่อให้มีแรงจูงใจในการเป็นชาวนาในเจเนอเรชั่นต่อไป
ในการนี้เขาบรรยายว่า สหกรณ์ชาวนาและสหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นนั้น ขาดทุนทุกแห่ง เงินช่วยเหลือมาจากรัฐบาล
รวมทั้งสหกรณ์การประมงด้วย
นั่นหมายความว่า การช่วยเหลือชาวนา ชาวเกษตร และชาวประมงของรัฐบาลญี่ปุ่นนี้ขาดทุนทั้งหมด ตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมา
แต่ไม่มีนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนไหนโดนฟ้องให้ติดตะราง
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นก็มีกฎหมายปกป้องชาวนาญี่ปุ่นบางประการ เช่น ห้ามนำเข้าข้าวทุกประเภทเข้าญี่ปุ่น รวมทั้งห้ามส่งออกข้าวไปนอกปรเทศด้วย จึงเป็นเรื่องยากที่จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นไปหว่านนอกประเทศ
แต่บางครั้งก็มีเรื่องฟ้าประทานเกิดขึ้น
เพราะมีชาวนาทางภาคเหนือของไทยสั่งซื้อรถไถปลูกข้าวเซ็กกันแฮนด์จากญึ่ปุ่น และในล้อรถไถที่มีเศษดินติดมา มีเมล็ดข้าวติดมาด้วยหลายเมล็ด มากพอที่จะเริ่มต้นกำเนิดการปลูกข้าวญี่ปุ่นในเมืองไทย
นั่นคือเรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาคง่ายๆ จากของจริง
ในส่วนชาวนาญี่ปุ่นถือเป็นเกษตรกรที่มีความสุขมาก คุณคงเคยเห็นกรุ๊ปทัวร์ญี่ปุ่นท่าทางเงอะงะเดินท่องเที่ยวตามธงหัวหน้าทัวร์ในกรุงเทพฯ นั่นคือชาวนาญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลมาท่องเที่ยวนอกประเทศ
แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีมาเมืองไทยแล้ว ลืมเสียเถิดความหลัง
ทั้งชาวนาและชาวประมงญี่ปุ่นเลือกมาสิงคโปร์ ได้ทั้งท่องเที่ยวและช้อปปิ้งจุใจ
นั่นคือคุณภาพชีวิตชาวนาญี่ปุ่นเพื่อให้มีแรงจูงใจในการเป็นชาวนาในเจเนอเรชั่นต่อไป
ในการนี้เขาบรรยายว่า สหกรณ์ชาวนาและสหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นนั้น ขาดทุนทุกแห่ง เงินช่วยเหลือมาจากรัฐบาล
รวมทั้งสหกรณ์การประมงด้วย
นั่นหมายความว่า การช่วยเหลือชาวนา ชาวเกษตร และชาวประมงของรัฐบาลญี่ปุ่นนี้ขาดทุนทั้งหมด ตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมา
แต่ไม่มีนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนไหนโดนฟ้องให้ติดตะราง
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นก็มีกฎหมายปกป้องชาวนาญี่ปุ่นบางประการ เช่น ห้ามนำเข้าข้าวทุกประเภทเข้าญี่ปุ่น รวมทั้งห้ามส่งออกข้าวไปนอกปรเทศด้วย จึงเป็นเรื่องยากที่จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นไปหว่านนอกประเทศ
แต่บางครั้งก็มีเรื่องฟ้าประทานเกิดขึ้น
เพราะมีชาวนาทางภาคเหนือของไทยสั่งซื้อรถไถปลูกข้าวเซ็กกันแฮนด์จากญึ่ปุ่น และในล้อรถไถที่มีเศษดินติดมา มีเมล็ดข้าวติดมาด้วยหลายเมล็ด มากพอที่จะเริ่มต้นกำเนิดการปลูกข้าวญี่ปุ่นในเมืองไทย
รัฐบาลน่าจะนำพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นชุดนี้มาส่งเสริมการปลูกในเมืองไทย แล้วส่งออกไปขายทั่วโลก (ยกเว้นญี่ปุ่น)
เรื่องการซื้อข้าวจากชาวนาของรัฐบาลญี่ปุ่นนี้ ผมได้นำมาเขียนนำเสนอใน มติชนรายวัน และมติชนสุดสัปดาห์ตั้งแต่เมื่อสี่สิบปีที่แล้ว
ขอเพิ่มเติมว่าในรัฐอาร์คันซอร์และแคลิฟอร์เนียของอเมริกาที่มีการปลูกข้าวเจ้าจำนวนมากส่งออกมาตีตลาดโลก รัฐบาลของรัฐและรัฐบาลกลางก็มีนโยบายให้ความช่วยเหลือชาวนาด้วยมาตรการต่างๆ
นโยบายช่วยเหลือชาวนาจึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั้งโลก
รัฐบาลที่ช่วยเหลือชาวนาก็ขาดทุนทุกรัฐบาล ทั้งโลก
ยังไม่มีนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีคนไหนต้องติดตะรางเพราะการขาดทุนจากการให้ความช่วยเหลือชาวนา
เว้นแต่?
ที่มา มติชน 29 กันยายน 2560
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.