จากเหตุผลที่กล่าวมา การอนุมัติพื้นที่ดังกล่าวจึงกระทบต่อทั้งที่ดินป่าไม้และธรรมชาติ ชุมชนในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์จากที่ดิน และธรรมาภิบาลในการอนุมัติของรัฐ ที่ตลอดการบริหารงานของรัฐบาลทหาร เราจะเห็นได้ว่าหนึ่งในนโยบายที่รัฐให้ความสำคัญคือ "ทวงคืนผืนป่า" เพื่อคืนสภาพป่าในประเทศไทยให้ได้ร้อยละ 40 ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่รัฐบาลทหารบริหารประเทศ การทวงคืนผืนป่าได้ดำเนินนโยบายในเชิงรุกอย่างหนัก ตั้งแต่ตัดโค่นพืชผลทางการเกษตรของประชาชนเพื่อให้ออกจากพื้นที่ที่รัฐมองว่าบุกรุก โดยยึดที่ดินกว่า 151,386 ไร่ มีชาวบ้านถูกดำเนินกระบวนการทางกฎหมายกว่า 1,785 คน และปัจจุบันนโยบายดังกล่าวยังดำเนินการอยู่ จนผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนของสถาบันพระปกเกล้า สำรวจว่านโยบายหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจสูงและได้รับคะแนนลำดับที่ 4 กว่า 91.4% ซึ่งแม้ว่านโยบายทวงคืนผืนป่าจะได้รับคำชมจากประชาชนทั่วไป แต่ภายในเบื้องลึกก็มีการเลือกปฏิบัติ เพราะมีแต่ที่ดินของชาวบ้านเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบมากกว่าที่ดินของนายทุน คนรวย ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้มากเท่าที่ควร
ซึ่งกลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน ที่ได้ติดตามปัญหาที่ดินในประเทศไทยมาตลอด พบว่า การเซ็นต์อนุมัติยกที่ดินของรัฐ ตั้งแต่ที่ดินป่าอุทยานแห่งชาติ ที่ดินป่าไม้ ที่ดินป่าสงวน ให้เอกชนของรัฐนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ครั้งนี้เพียงครั้งแรก เพียงแต่มาเกิดในรัฐบาลชุดนี้มากกว่ารัฐบาลชุดอื่น ด้วยอำนาจที่เบ็ดเสร็จและมีมาตรา 44 อยู่ในมือ จึงทำให้การกระทำเช่นนี้เป็นไปได้ง่ายกว่ารัฐบาลชุดอื่น
เอาเพียงแค่นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลระดับเมกะโปรเจค โดยการสร้างพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วทุกภาคในประเทศไทย จำนวนกว่า 10 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดตาก สงขลา มุกดาหาร สระแก้ว ตราด หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี เป็นครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนากว่า 3.9 ล้านไร่ ซึ่งการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 จังหวัด ให้เป็นรูปธรรมนั้น มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีการจัดหาที่ดินเพื่อให้เอกชนเช่าในการดำเนินการทำธุรกิจในพื้นที่นั้นๆ สู่การใช้อำนาจของรัฐในการจัดหาที่ดินให้เอกชน ซึ่งรูปแบบการจัดการที่ดินของรัฐในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วล้วนใช้อำนาจเบ็ดเสร็จผ่านมาตรา 44 แทบทั้งสิ้น และส่วนมากล้วนเป็นพื้นที่ป่าสงวน ป่าไม้ถาวร และที่สาธารณะประโยชน์ เช่น
พื้นที่จังหวัดตาก(ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด) ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ป่าไม้ถาวร ที่สาธารณประโยชน์ จำนวนกว่า 2,998 ไร่ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปลี่ยนให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้เอกชนสามารถเช่าดำเนินธุรกิจ
พื้นที่จังหวัดมุกดาหาร(ต.ตาฮวน อ.เมือง) ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า สปก. ป่าไม้ถาวร ที่สาธารณประโยชน์ จำนวนกว่า 2,149 ไร่ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปลี่ยนให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้เอกชนสามารถเช่าดำเนินธุรกิจ
พื้นที่จังหวัดสระแก้ว(ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ) ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ป่าไม้ถาวร ที่สาธารณประโยชน์ จำนวนกว่า 1,726 ไร่ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปลี่ยนให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้เอกชนสามารถเช่าดำเนินธุรกิจ
พื้นที่จังหวัดตราด(ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สาธารณประโยชน์ จำนวนกว่า 887 ไร่ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปลี่ยนให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้เอกชนสามารถเช่าดำเนินธุรกิจ
พื้นที่จังหวัดสงขลา(ต.สำนักขาม อ.สะเดา) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปปง.ยึดทรัพย์ จำนวนกว่า 1,095 ไร่ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ยกเว้นกฎหมายผังเมือง เพื่อให้เอกชนสามารถเช่าดำเนินธุรกิจ
พื้นที่จังหวัดหนองคาย(ต.สระใคร อ.สระใคร) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สาธารณประโยชน์ จำนวนกว่า 718 ไร่ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เปลี่ยนให้เป็นที่ราชพัสดุและกฎหมายยกเว้นผังเมือง เพื่อให้เอกชนสามารถเช่าดำเนินธุรกิจ
รวมพื้นที่เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเอื้อให้เอกชนทั้งไทยและเทศเข้ามาเช่ารัฐในการทำธูรกิจกว่า 23,955 ไร่ ซึ่งเป็นจำนวนที่ดินมหาศาลนการอนุมัติให้เอกชน เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการเซนต์ยกที่ดินให้กับบริษัทลูกกระทิงแดง และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยการสร้างพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ต้องสูญเสียที่ดินป่าสงวน ป่าไม้ถาวร และที่สาธารณประโยชน์ เหล่านี้กลับสวนทางกับนโยบายทวงคืนผืนป่าที่รัฐบาลขะมักเขม้นจะปฏิบัติอย่างสิ้นเชิง
และแน่นอนว่าประชาชนก็ไม่ได้ยี่หร่ะกับประเด็นการยกที่ดินของรัฐให้กับเอกชนในประเด็นนี้ เมื่อเราถูกรัฐกล่าวอ้างว่าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจะทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวไกล มีเศรษฐกิจที่ดี ดังเช่นคำกล่าวอ้างในหนังสือเซ็นต์อนุมัติของพล.อ.อนุพงษ์ ยกที่ดินให้กระทิงแดง แต่การกระทำของดังกล่าวได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ว่ารัฐบาลชุดนี้เอื้อนายทุนมากกว่าประชาชน แม้จะต้องผิดหลักธรรมาภิบาลก็ตาม และตัวอย่างกระทิงแดง คงทำให้ประชาชนตาสว่างขึ้นต่อประเด็นการยกที่ดินของรัฐให้กับเอกชน และร่วมกันต่อต้านการนำที่ดินรัฐไปให้เอกชน
ที่มา Land watch Thai 12 กันยายน 2560
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.