แต่ใครจะรู้ว่ากลุ่มบริษัท ในเครือไทยเบฟฯมีธุรกิจอื่นๆ มากกว่าการขายแค่เบียร์ช้าง มีสินค้าอุปโภค-บริการทั่วไปอย่าง ผลิตภัณฑ์จำพวกถังไม้โอ๊ค,ผลิตภัณฑ์จำพวกปุ๋ย(ตรานกกระเรียนและตรานกพิราบ) ผลิตภัณฑ์ จำพวกอิฐมวลเบา,ธุรกิจร้านอาหาร โออิชิกรุ๊ป,ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี,สินค้าอุปโภคบริหารอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ เบียร์อาชา เบียร์เฟเดอร์บรอย,สุรา อย่างแสงโสม พญานาค เชียงชุน และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอร์ฮอร์อย่างน้ำดื่มตราช้าง เครื่องดื่มเครือเสริมสุข(est),โออิชิ,F&N นอกจากนี้เสี่ยเจริญยังมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมในเครืออิมพีเรียล โรงแรมพลาซ่า แอททินี เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์,กลุ่มธุรกิจประกันภัาย อาคเนย์ประกันภัย และล่าสุดซื้อสาขา KFC ในประเทศไทยทั้งหมด 240 แห่ง มูลค่า 11,300 ล้านบาท
ด้วยสภาวะการเป็นแลนด์ลอร์ดในประเทศไทยของเสี่ยเจริญในการผูกขาดที่ดิน และการผูกขาดธุรกิจมากมายตามข้อมูลข้างตน และยังไม่มีวี่แววว่าจะลดการซื้อ ซื้อ และก็ซื้อได้เลย เพราะตัวเลขธุรกิจของเสี่ยเจริญ มีตัวเลขกำไรสุทธิที่เป็นบวกทุกปี อย่างเช่น ปี 2559 มีรายได้กว่า 139,153 ล้านบาท มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 19,036 ล้านบาท เพิ่มจากเวลาเดียวกันของปี 2558 กว่า 14.3%
การเข้าเทคโอเวอร์ซื้อธุรกิจต่างๆและการผูกขาดที่ดินของเสี่ยเจริญเชื่อมโยงกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างไร? แน่นอนว่าธุรกิจน้ำเมาของเสี่ยเจริญเป็นธุรกิจหลักที่ทำกำไรมหาศาลให้กับไทยเบฟ และตัวเลขกำไรนี้ ไม่มีทางโตได้มากกว่านี้ในสังคมไทยเพราะตัวเลขนี้ถือว่าอยู่ในจุดสูงสุดมาตลอดจนมาตลอดระยะเวลาหลายปีและได้ทำกำไรแซงกลุ่มบุญรอดคู่แข่งจนทำให้เครือไทยเบพฯเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจน้ำเมาเรื่อยมา ดังนั้น การหาทางออกผ่านการผูกขาดธุรกิจสินค้าและบริการอื่นๆ จึงน่าจะเป็นทางออกของการแสวงหากำไรต่อไปของกลุ่มบริษัทไทยเบฟฯ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการค่อยๆซื้อธุรกิจและบริการ สู่การผูกขาดสินค้าและบริการในที่สุด พร้อมทั้งการสะสมที่ดิน สู่การผูกขาดที่ดิน จนเป็นแลนด์ลอร์ดเบอร์หนึ่งในประเทศไทย
ในอนาคต น่าสนใจว่าการพยายามดำเนินธุรกิจเช่นนี้ เราอาจจะได้เห็น เสี่ยเจริญเป็นผู้รับสัมปทานในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัยพ์ต่างๆ ของรัฐ อย่างเช่นที่เป็นข่าวในการสัมปทานทำรถไฟความเร็วสูง ร่วมกับเสี่ยธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของธุรกิจเครือ CP เจ้าพ่อธุรกิจผูกขาดอีกรายหนึ่ง และเป็นมหาเศรษฐีเบอร์หนึ่งประเทศไทย และเป็นเจ้าของที่ดินเบอร์สองของประเทศไทยกว่า 200,000 ไร่ เพื่อพัฒนาอหังสาริมทรัพย์ร่วมกับรัฐ เสร็จแล้วก็เอาสินค้าและธุรกิจที่ตัวเองเป็นเจ้าของเข้าไปขายในพื้นที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ห้างร้านของตนเอง ซึ่งมหาเศรษฐีทั้งคู่ดำเนินธุรกิจเหมือนกัน เป็นทุนนิยมผูกขาด ผ่านความสัมพันธ์อันดีร่วมกับรัฐบาลในทุกๆยุค
ต่อไปเราอาจจะได้เห็นไทยเบฟ เอาร้านอาหารเหล่านี้ ทั้ง KFC ที่เพิ่งซื้อมา โออิชิ ราเมง และสินค้าบริการอื่นๆ เข้าไปอยู่ในโครงการพัฒนาริมทางรถไฟที่ได้สัมปทาน เอาเข้าไปอยู่ใน Big C ที่ไทยเบจเป็นเจ้าของอยู่แล้ว หรือพูดง่ายๆ เป็นเจ้าของต้ังแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ ตั้งแต่ผลิตยันขายส่ง ยันขายปลีก และรูปแบบของทุนนิยมที่กล่าวว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” จะเกิดขึ้นให้เราได้เห็น สุดท้ายเราก็จะได้เห็นการผูกขาดสินค้าและบริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย ด้วย 2 มหาเศรษฐี ผู้มีเครือข่ายสินค้าและบริการมากที่สุด และการสะสมที่ดินก็จะไม่หยุดยั้ง รัฐบาลก็จะเอื้อประโยชน์ให้กับทุน กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็จะไม่ออกเพราะมีแลนด์ลอร์ดใหญ่ๆอยู่ ไม่มีคู่แข่งเพราะตายกันหมด ประชาชนไม่มีทางเลือก วนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยไปในอนาคต…
ที่มา Land whit Thai 16 Aug 2017