"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
วันที่ 2 กรกฎาคม เมื่อ 20 ปีก่อน คือ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้ ค่าเงินบาทลอยตัว จากเดิมที่ใช้นโยบายตรึงค่าบาทไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างรุนแรง จาก 25 บาท ลดลงไปต่ำสุดถึง 50 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์
นั่นคือ จุดเริ่มต้น วิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุด ในประวัติศาสตร์ วิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งลุกลามไปทั่วเอเชีย
นับจากวันนั้นถึงวันนี้ ยี่สิบปีแล้ว เสือตัวที่ห้าแห่งเอเชีย ยังไม่ตาย แต่ไม่โต อัตรากรขยายตัวทางเศรษฐกิจอยุ่ในระดับ 2-3 % เฉลี่ย ไม่เคยขึ้นไปเติบโตในอัตรา 8-9 % เหมือนก่อนหน้าเกิดวิกฤติเลย ดัชนีตลาดหุ้นที่ผ่านมา ยี่สิบปี ไม่เคยขึ้นไปถึง 1700 กว่าจุด อันเป็นจุดสุงสุดก่อนเกิดวิกฤติการณ์ ค้าส่งออก มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้านราคา ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียู มีความแข็งแกร่ง เป็นตลาดส่งออกที่ขยายตัว รวมทั้ง ความต้องการจากประเทศจีน ทำให้ ภาคส่งออก เป็นเครื่องจักรที่ฉุดให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นมาได้
ไม่เพียงแต่ประเทศไทย ชาติเอเชียอื่นๆ ที่ถูกพิษต้มยำกุ้งเล่นงาน ก็ได้อาศัยค่าเงินที่อ่อนตัว เป็นปัจจัยในการเติบโตของการส่งออก
เมื่อเครื่องจักรการส่งออกชะลอตัว เพราะเศรษฐกิจซีกโลกตะวันตก มีวิกฤติหลายระลอก อีกทั้งจีน ก็ขยายตัวลดลง เศรษฐกิจไทยก็มีแต่ทรงกับทรุด เพราะไม่มีเครื่องจักรใหม่มาทดแทน การส่งออก และถูกซ้ำเติม จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน เสือตัวที่ห้า ก็กลายเป็น คนป่วยแห่งเอเชีย
รัฐบาล คสช. พยายามนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งเสริม การลงทุนในอุตสาหกรรมแหง่อนาคต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็คทรอนิคส์ อัจริยะ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหารฯลฯ ให้เป็น เครื่องจักรตัวใหม่ ที่จะฉุดให้ประเทศไทย พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นนโยบายในระยะยาว
ขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า ด้วยนโยบายประชานิยม ลด แจกแถม เพื่อสร้างกำลังซื้อ แก้ไขปัญหาระยะสั้น แต่ก็ไม่ค่อยผลสักเท่าไร
เศรษฐกิจไทย นอกจากจะตกอยุ่ในกับดักรายได้ปานกลางแล้ว ประชาชนยังตกอยุ่ในกับดักแห่งหนี้สินด้วย ดังนั้น นอกจากจะมีรายได้ที่ต่ำ หรือรายได้ปานกลางแล้ว รายไดที่ว่านี้ ยังไม่สามารถแปรเป็นกำลังซื้อได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะภาวะหนี้ท่วมหัว ใช้หนี้ก้หมดแล้ว ไม่เหลือเงินให้ไปใช้จ่ายในเรื่องนอกเหนือจากชีวิตประจำวันได้มากนัก
งานวิจัย เรื่อง “ มุมมองใหม่หนี้ครัวเรือนไทย ผ่าน บิ๊กดาต้า ของเครดิตบูโร” ของ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อี้งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาวะหนี้สินของคนไทยว่า ณ ไตรมาส สาม ปี 2559 ไทยเป็นชาติที่เป็นหนี้สูงเป้นอันดับสาม ของอเชีย เมื่อวัดจาก สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี คือ 71.2 %
หนี้ครัวเรือนนี้ หมายถึงหนี้ในระบบเท่านั้น คือ หนี้ที่กู้จากสถาบันการเงิน ไม่รวมหนี้กองทุนการศึกษา หนี้สหกรณ์
หนี้ที่มากที่สุดเป็น หนี่สินเชื่อส่วนบุคคล 17 % สินเชื่อรถยนต์ และบัตรเครดิต 9 % และสินเชื่อบ้าน เพียง 4 % เท่านั้น
คนไทย 1 ใน 3 ของประชากร 69 ล้านคน เป็นหนี้ เฉลี่ยคนละ 1.5 แสนบาท ตั้งแต่ปี 2552 คนที่เป็นหนี้มีมากขึ้น และปริมาณหนี้ต่อหัวเพิ่มขึ้นด้วย ที่สำคัญคนไทยมีหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย 1 ใน 2 หรือ 50 % ของคนเริ่มทำงานจะเป็นหนี้แล้ว และเมื่อเลยวัยเกษียณแล้ว หนี้ก็ยังไม่หมด
วิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อยี่สิบปีก่อน เกิดจากภาคธุรกิจมีหนี้ต่างประเทศสูง เป็นหนี้ระยะสั้น เพราะมีการเปิดเสรีการเงิน โดยที่แบงกชาติ ตรึงค่าเงินบาทไว้คงที่ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นแรงจูงใจ ให้สถาบันการเงิน กู้เงินระยะสั้นจากตางประเทศซึง่มีดอกเบี้ยต่ำ มาปล่อยกู้ในประเทศ ซึ่งมีดอกเบี้ยสูง
เงินกู้ต่างประเทศที่เข้ามา ถูกนำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จนซัพพลายมาก กว่าดีมานด์ เกิดภาะฟองสบู่ นักเก็งกำไรค่าเงินอย่างจอร์จ โซโรส และกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์รู้ว่า ไทยมีหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้น มากกว่า ทุนสำรองที่แบงก์ชาติมีอยู่ จึงทำการโจมตีค่าเงินบาท จนในที่สุด แบงก์ชาติต้องยอมแพ้ ปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัว เพราะสู้จนทุนสำรองเกือบหมดบัญชี
ปัญหาหนี้ ยังคงเป็นมะเร็งร้าย กัดกิน เศรษฐกิจไทย ไม่ให้เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น แต่คราวนี้เป็นหนี้ครัวเรือน
ที่มา ผู้จัดการ online 30 มิถุนายน 2560
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.