สถานการณ์ราคาข้าวไทยได้ตกต่ำอย่างต่อเนื่องในรอบเกือบ 10 กว่าปี ส่งผลให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ออกมาแสดงความเห็นกันต่างๆ นานา ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น การสร้างกลไกเทียมของนักการเมืองท้องถิ่น การกดราคาจากโรงสี พ่อค้าคนกลาง ความผันผวนของราคาตลาดโลก และคู่แข่งอย่างเวียดนาม อินเดีย อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวนั้นยังคงมีความซับซ้อนอยู่มาก
เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานการผลิตกว่าจะมาถึงผู้บริโภคนั้นมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่มีการบริโภคภายในและส่งออกมากที่สุด
ปัจจุบันแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ดีที่สุดของไทยสำคัญ ได้แก่ จังหวัดพะเยา เชียงราย บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม ตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ สามารถส่งออกไปตลาดต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ตลาดสหภาพยุโรป ตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์
ข้าวหอมมะลิอินทรีย์
ข้าวอินทรีย Organic Rice) เป็นข้าวที่ได้จ้ากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นวิธีการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนการผลิตรวมถึงระหว่าง การเก็บรักษาผลผลิต แต่เน้นการใช้สารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ในการปรับปรุงความ อุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อให้ต้นข้าวมีความสมบูรณ์และแข็งแรงตามธรรมชาติ สามารถต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูได้ดี ทั้งนี้ ต้องไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนผลผลิตในดินและน้ำ เป็นการรักษาสภาพ แวดล้อมและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ทำให้ชาวนาและผู้บริโภคมีสุขอนามัยคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน (สถาบันวิจัยข้าว, 2542)
การส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ในรูปของเกษตรอินทรีย์ แบบพึ่งพาตนเอง ในปี พ.ศ. 2552 มีจำนวนพื้นเพาะปลูกข้าวหอมมะลอินทรียท์มีาตรฐานรับรองรวม 85,689 ไร่ ผลผลิตประมาณ 36,546 ตันข้าวเปลือก พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์หลัก ประกอบด้วย พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธานี มหาสารคาม ศรีสะเกษ ขอนแก่น) และพื้นที่ภาคเหนือ (จังหวัดพะเยา เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี) ไทยยังเป็น ประเทศที่มีเนื้อที่การปลูกข้าวอินทรีย์เป็นอันดับหนึ่งของโลก (สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2552)
ด้านการตลาดและมาตรฐานข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96) จะส่งไป จำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป ส่วนที่เหลือ (ร้อยละ 4) จะวางจำหน่าย ภายในประเทศ ราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ที่เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าราคาข้าวเปลือกโดยทั่วไปประมาณ ร้อยละ 20 สำหรับข้าวสารอินทรีย์จำหน่ายในตลาดต่างประเทศจะมีราคาสงูกว่าข้าวสารทั่วไป ประมาณ ร้อยละ 25-30 ทั้งนี้ ความต้องการของตลาดขยายตัวประมาณร้อยละ 15-20 ต่อปี แต่ข้าวอินทรีย์ที่จะ จำหน่ายในตลาดต่างประเทศได้ ต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐานของผลผลิตเกษตรอินทรีย์
ข้าวอินทรีย์ ออกเป็น 3 ระดับ
ข้าวอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐานสากล
ข้าวอินทรีย์ที่ยังไม่ได้รับมาตรฐานสากล
ข้าวปลอดภัยจากสารปนเปื้อนโดยมีหน่วยงานที่ให้การรับรอง มาตรฐานอินทรีย์ 3 หน่วยงาน สถาบันพืชอินทรีย์สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท) และหน่วยงานตรวจสอบรับรองของต่างประเท เช่น IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movement)
วิถีการตลาดข้าวเปลือกและข้าวหอมมะลิอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การสำรวจวิถีการตลาดของเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรที่ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ส่วนใหญ่จะขายข้าวให้กับกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ (ร้อยละ 52.53 )ในระดับราคาขายเฉลี่ยยตันละ 17,100 บาท รองลงมาขายให้กับสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 40.37) ในระดับราคาเฉลี่ยตันละ 16,350 บาท และขายให้กับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จำกัด (ร้อยละ 7.10) ในระดับราคาเฉลี่ย ตันละ 16,000 บาท
กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์เมื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรแล้ว ส่วนใหญ่จะส่งออกข้าวไปขาย ยังต่างประเทศ (ร้อยละ 46.23) ส่วนที่เหลือส่งขายภายในประเทศ (ร้อยละ 6.30) โดยส่วนใหญ่ขายให้ กับผู้ประกอบการข้าวบรรจุถุง (ร้อยละ 5.36) ได้แก่ สหกรณ์กรีนเนท ราคาเฉลี่ยตันละ 38,000 บาท รองลงมาขายให้แก่ร้านค้าท้องถิ่น (ร้อยละ 0.94) ตามลำดับ
สำหรับสหกรณ์การเกษตรเมื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ส่วนใหญ่จะส่งข้าวไปขายต่างประเทศ (ร้อยละ 27.25) และส่วนที่เหลือส่งขายภายในประเทศ (ร้อยละ 13.12)โดยส่วนใหญ่ขายให้ผู้ประกอบการข้าวบรรจุถุง (ร้อยละ 7.38) ได้แก่ สหกรณ์กรีนเนท และบริษัท มาบุญครอง รองลงมาขายให้พ่อค้าส่ง (ร้อยละ 5.58) และขายให้ร้านค้าท้องถิ่น (ร้อยละ 0.16)
ตามลำดับ โดยมีราคาเฉลี่ยตันละ 33,500 บาท
สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) เมื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรแล้ว จะขายข้าวในประเทศทั้งหมดให้ร้านค้าสมัยใหม่เพียงแหล่งเดียว คือ ร้านเลมอนฟาร์ม ราคาเฉลี่ย ตันละ 39,500 บาท โดยไม่มีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เมื่อพ่อค้าส่ง (ผู้รวบรวมข้าวสาร ส่งต่อ) รับซื้อข้าวจากสหกรณ์การเกษตร ได้ขายข้าวให้ผู้ประกอบการข้าวบรรจุถุง (ร้อยละ 5.58) ในส่วนของผู้ประกอบการข้าวบรรจุถุงเมื่อรับซื้อข้าวสารจากกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์สหกรณ์ การเกษตร และพ่อค้าส่ง (ผู้รวบรวมข้าวสารส่งต่อ) จะส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศ (ร้อยละ 16.49)
และส่วนที่เหลือ (ร้อยละ 1.83) ส่งขายภายในประเทศให้ร้านค้าสมัยใหม่ การจำหน่ายในตลาดขายปลีกเมื่อร้านค้าปลีกรับซื้อข้าวจากกลุ่มเกษตรกรอนิทรยีและสหกรณ์ การเกษตรจะขายข้าวให้ผู้บริโภคภายในประเทศ (ร้อยละ 1.10) ส่วนร้านค้าสมัยใหม่ เมื่อรับซื้อข้าว จากผู้ประกอบการข้าวบรรจุถุง และ สกต. แล้วจะขายข้าวให้ผู้บริโภค (ร้อยละ 8.93) โดยมีปริมาณ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ขายในประเทศ (ร้อยละ 10.03) และส่งขายยังต่างประเทศ (ร้อยละ 89.97)
จากห่วงโซ่การผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้องกับการผลิต SIU ได้สัมภาษณ์คุณชุติมา ม่วงมั่น ผู้จัดการกลุ่มเกษตรกรทำนา นาโส่ จ.ยโสธร กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีโรงสีเป็นของตัวเอง ก่อตั้งมา 40 ปี มีสมาชิกกลุ่มถึง 942 คน ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนาและการเตรียมรับมือของกลุ่ม
การแก้ไขปัญหาจากนโยบายรัฐเป็นเรื่องปลายเหตุ
จากที่ตนสังเกตมาไม่ว่าจะเป็น การจำนำยุ้งฉาง ประกันราคา หรือจำนำข้าว ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ รัฐพยายามจะแก้ปัญหาเพื่อให้ราคาข้าวสูง แต่ไม่ได้ดูความจริงว่า ต้นทุนที่ผลิตควรเป็นและราคาที่ควรเป็นจริงอยู่เท่าไหร่ การที่ไปให้ราคาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและนั้นทำให้ชาวนาไม่คิดพึ่งตนเอง รอแต่การแก้ไขปัญหาจากรัฐ ดังนั้นหากจะแก้ไขปัญหาต้องทำให้ชาวนาสามารถพึ่งตนเองได้ ตั้งแต่ต้นนำกลางน้ำและปลายน้ำ มิเช่นนั้นสุดท้ายก็ต้องมาแก้ไขที่ราคาเหมือนเดิม และการให้ราคาแต่ละปีของรัฐก็ไม่เท่ากัน และไม่บอกเหตุผลว่าทำไมบางปีราคาถึงต่ำ
ต้นทุนในการผลิตและความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันนั้นวิถีการผลิตได้เปลี่ยนไป เพราะเป็นการผลิตเพื่อการค้าซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่เป็นการผลิตเพื่อยังชีพ ต้นทุนจึงเพิ่มสูง การทำนาส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมาเป็นนาหว่าน ถ้าไม่มีการลงทุนอย่างจริงจังผลผลิตต่อไร่จะไม่ค่อยได้ ขณะเดียวกันชาวนาก็ไม่ได้มีการบันทึกเป็นหลักฐานว่าสรุปแล้วต้นทุนในการผลิตของตัวเองนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ ควรขายราคาใดถึงจะได้คุ้มทุน และยังเผชิญกับความเสี่ยงจากที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ระบบชลประทานก็ไม่มีโดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ถ้าไม่มีระบบน้ำทีดี ผลผลิตจะได้น้อย การแก้ปัญหาความเสี่ยงต่างๆ อย่างการรวมกลุ่มสามารถทำให้สามารถต่อรองราคา ทั้งกำลังในการรับซื้อกันเองในกลุ่มและราคาที่จะขาย
เกษตรกรต้องวางแผนการผลิต
การแก้ปัญหาการระบายข้าวของกลุ่มเพื่อให้เกิดความสุมดุลกันนั้น ทางกลุ่มได้มีการวางแผน เช่นแผนการตลาดต้องสอดคล้องกับแผนการผลิต หากจะส่งเสริมการผลิตข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ต้องมองหาตลาดและราคาที่จะได้ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งจะมีการประชุมวางแผนกันทุกปี และในกลุ่มเองจะมีการทำระบบบัญชีของสมาชิก หากใครจะผลิตอะไรต้องมีการบันทึกต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด และส่งเสริมการผลิตของกลุ่มให้มีความหลากหลาย คำตอบสุดท้ายของการทำเกษตรไม่ใช่เรื่องการปลูกข้าว เพราะการปลูกข้าวไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของรายได้หลัก ทางกลุ่มจึงส่งเสริมให้ปลูกพืชผักชนิดอื่น และทำปศุสัตว์ หรือประมงด้วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายผสมผสานกันไป ขณะเดียวกันก็หาช่องทางตลาดรองรับไว้ เช่นการไปทำตลาดนัดพืชสีเขียวในจังหวัดยโสธร
การลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้ดี
ส่วนตัวตนเห็นด้วยกับการการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพราะยอมรับว่าพื้นที่และผลผลิตข้าวนั้นล้นจริง แต่ต้องดูความเป็นไปได้ของพื้นที่ตัวเองด้วยว่าทำอะไรได้อีกบ้าง ความเข้าใจของเกษตรกรอาจรู้สึกว่าการที่รัฐเสนอให้ลดพื้นที่ปลูกนั้นคือการเลิกอาชีพทำนา ข้อดีของกลุ่มคือมีการประชุมรายงานสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องราคา ตลาดภายในภายนอกและนโยบายจากรัฐ และร่วมกันประเมินสถานการณ์เพื่อให้เกษตรปรับตัว เพราะหากไม่ปรับตัวจะอยู่ลำบาก เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายของเกษตรกรค่อนข้างสูง ทุกครัวเรือนเข้าสู่วิถีการบริโภคแบบใหม่เกือบทั้งหมด และนี้คือสิ่งที่เปลี่ยนไปจากอดีต
ชาวนาขายข้าวโดยตรงต้องมองสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
จากกระแสที่ชาวนาเริ่มนำขายข้าวเองโดยตรงถือว่าดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวควรมองให้รอบคอบว่าจะส่งผลอะไรบ้างในกลุ่มอาชีพชาวนา เพราะอาจจะมีการแข่งขันกันภายใน ตัดราคากันเอง และอาจตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อมาและนำไปขาย ในอีกมุมหนึ่งชาวนาบางส่วนไม่รู้ว่าต้นทุนการผลิตของตนเอง ว่าควรจะขายราคาเท่าไหร่ ชาวนาทุกคนจะสามารถออกไปขายเองแบบนั้นได้หมดหรือไม่ เพาะต้นทุนของแต่ละครัวเรือนก็ไม่เท่ากัน
Sources : งานวิจัย"การวิเคาะห์ห่วงโซ่อุปทานข้าวของไทย: กรณีศึกษาข้าวหอมมะลิบรรจุถุง" ดร.รวิสาข์ ดร.บุญญะศิริ ดร.กุลภา ดุลดิลก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่มา : Siam Intelligence วันที่ 22 พ.ย. 2559
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.