หนี้สาธารณะ (Public debt) หรือ หนี้ของรัฐบาล (Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ
ประเทศไทยพยายามจัดทำงบประมาณให้สมดุลมานาน แต่ก็ไม่เคยทำสำเร็จ ปัจจุบันหนี้สาธารณะของประเทศเข้าใกล้ระดับ 50 % ของ GDP เข้าไปทุกทีแล้วอนาคตอันใกล้ยังมีอภิโครงการที่รัฐต้องกู้ยืมเงินอีกมหาศาล พลเมืองไทยจะต้องเป็นหนี้มหาศาลแน่นอน ไม่มีทางที่จะไปหยุดยั้งรัฐบาลได้จะทำได้ก็เพียงช่วยหันหาวิธีบรรเทาทุกข์ แก้ไขปัญหาหนี้สินในอนาคตทางราชการมีแผนบริหารจัดการหนี้เป็นระบบเหมือนกัน แต่เป็นการคิดในกรอบ ซึ่ง “ล้างหนี้” ไม่สำเร็จหรอก
มาลองพิจารณาแนวคิดนอกกรอบกันดูบ้าง ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินชาติต่อไปนี้ เสนอโดยสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ต่อ “กรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ” ของรัฐสภา เมื่อ ปี 2557 มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
-รัฐบาลควรจัดตั้ง “สถาบันซื้อหนี้แห่งชาติ” จากประชาชนทั่วไปและเกษตรกร ซื้อหนี้ที่ถูกฟ้องและขายทอดตลาด จัดหาที่ดินให้ประชาชนที่ต้องการที่ดินทำกินอย่างน้อยคนละ 5 ไร่ โดยจัดเป็นระบบ
“นิคมเกษตรกร” หรือ “ธนาคารที่ดิน” โดยผ่อนส่ง 20 ปีและออกเป็นโฉนดที่ดินให้
- ให้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างในทุกพื้นที่ทำกิน 1600 ต้นต่อไร่ เพื่อค้ำประกันหนี้
“เป็นธนาคารบำนาญชีวิต” ให้ประชาชน “ธนาคารป่า 3 อย่าง” ให้ประชาชนสามารถแปรรูปไม้ได้เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้ ให้สถาบันบริหารงานแก๊สเรือนกระจก “รับขายคาร์บอนเครดิตจากต้นไม้”ให้ได้
-สร้างธนาคารน้ำ “แก้มลิง” ในพื้นที่เกษตรกรรมโดยการขุดเป็นบ่อ 1 ใน 3 ของพื้นที่
-ส่งเสริมให้ชาวนาสามารถมี “ฉางเก็บข้าว” และ “โรงสีข้าว” เพื่อแปรรูปข้าวจากการขายข้าวเปลือกเป็นขายข้าวสาร ควรมีห้องเย็นให้เกษตรกรปลูกผัก,ผลไม้ทั่วถึง สร้างตลาดริมทางทั่วประเทศโดยประสานกับทางหลวงแผ่นดิน
-จัดตั้งกระทรวงข้าวไทยเพื่อพัฒนาข้าวอย่างครบวงจรส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์ข้าว และพันธุ์สัตว์ให้มีคุณภาพสูง ผลผลิตสูง ต้านทานโรค อย่างจริงจัง ยกระดับเรื่องข้าว ให้เป็นความมั่นคงของชาติและเป็นพลังงานชีวิตที่สำคัญของชาติและของ “AEC” ให้สถาบันการศึกษาวิจัย เรื่องข้าวว่าแปรรูปได้เป็นอาหารหรืออื่นๆกี่ชนิด มีการลงทุนเท่าไรต่อหน่วย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
-ให้กระทรวงศึกษาทบทวนหลักสูตรการเกษตรของสถาบันการศึกษาด่วน เพราะเป็นหลักสูตรเชิงเดี่ยวและการซื้อเคมีเป็นหลัก
-การจัดงบประมาณแผ่นดิน ต้องแก้ไขอีกมาก สมควรจัดงบประมาณแผ่นดินใหม่ให้มีงบพัฒนาคนและกองทุนภาคเกษตรประมาณ 50% ของงบประมาณแผ่นดิน GDP ภายในประเทศของเกษตรจึงเพิ่มขึ้น รายได้เกษตรดีขึ้น GDP ของประเทศจะดีขึ้นเพราะเป็นความหวังใหม่ของประเทศ
-สร้างยุทธศาสตร์ “เรื่องปลูกป่าใช้หนี้”ทั้งแผ่นดิน โดยให้ประชาชนรวมกลุ่มอย่างน้อย 50 คนในจังหวัดเดียว ปลูกต้นไม้อย่างน้อย 9 ต้น จำนวนการปลูก 1 ไร่ ปลูก 1600 ต้น(1 ตารางเมตรละ 1 ต้น)แก้กฎหมายป่าไม้ ให้ต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินประชาชนต้องเป็นของประชาชนทุกต้น แต่ต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินของรัฐต้องเป็นของรัฐประชาชนจึงจะปลูกต้นไม้เพราะเป็นทรัพย์สินของตัวเอง ตัดได้และแปรรูปได้
-ทำการประกันภัยพืชผลการเกษตรเพราะปัจจุบันภัยจากธรรมชาติมีมาก ทำให้พืชผลมีความเสี่ยง
-ส่งเสริมให้เกษตรทำการผลิต “ระบบเกษตรทฤษฎีใหม่” คือการทำแบบผสมผสานในแปลงเพราะจะได้เกื้อกูลกันหลายชนิด ไม่เสี่ยงกับราคาตลาด ไม่เสี่ยงกับการเกิดโรคระบาดและได้ผลผลิตสูง
- นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการพึ่งพาตนเองทุกด้าน ในการพัฒนาเกษตรกรอย่างจริงจัง(ด้านการผลิต-การแปรรูป-การตลาด-การจัดทรัพยากร) ฯลฯ
ที่มา : สยามรัฐ วันที่ 17 ส.ค. 2559
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.