ภาย หลังจากกรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ได้นำ “แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการหลังการทำลาย ป่าไม้” เป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณเรียกค่าเสียหายจากการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับประชาชนที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่อื่นในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวนั้น
“แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน” ที่ถูกชาวบ้านขนานนามสั้นๆ กลายเป็น “มรดกบาป” ทางกฎหมาย ที่ถูกประทับตราโดยหน่วยงานรัฐ บังคับใช้กับเกษตรกรยากจนของประเทศไปในทันที เพราะแบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อวิถีการอยู่อาศัยและทำกินของเกษตรกรที่ผลิตอาหาร เลี้ยงดูครอบครัว สังคม และการดำรงสืบทอดวิถีเกษตรชุมชนท้องถิ่นอย่างร้ายแรง เนื่องจากขาดกระบวนการมีส่วนร่วมและการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย เป็นแบบจำลองที่สร้างขึ้น มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อน และไม่ได้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดต่อสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
ไม่เว้นแต่ละวันที่ชาวบ้านต้องถูกคดีรายวัน ในขณะที่มีความพยายามอย่างต่อ เนื่องในการเดินหน้าแก้ไขกฎหมายบาปดังกล่าว ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และกลุ่มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น จนล่าสุด ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินได้ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ดำเนินการฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ เพิกถอนคำสั่งการใช้แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบาง ประการหลังการทำลายป่าไม้ (แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน) มาเรียกค่าเสียหายจากประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้คำสั่งและกระบวนการบังคับใช้คำสั่งและระเบียบของหน่วยงานราชการที่ ขาดความละเอียดรอบคอบและไม่เป็นธรรมดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นบรรทัดฐาน ถูกนำไปบังคับใช้กับประชาชนและคนยากจนอื่นๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรณีปัญหาที่เกษตรกรสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่ง ประเทศไทย (คปท.) รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ประกอบอาชีพ ทำการเกษตรและอยู่อาศัยในพื้นที่ของตนเองมาช้านาน แต่ต่อมาภาครัฐได้ประกาศให้พื้นที่ชุมชนเหล่านั้นของพวกเขาเป็นเขตอุทยาน แห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมถึงเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อื่นๆ โดยมิได้ทำการสำรวจในพื้นที่ที่ประกาศเสียก่อนว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ ก่อน ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมต่างๆ กลายเป็นผู้บุกรุกพื้นที่ของรัฐไปทันที การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบให้ เกษตรกรทั่วประเทศไม่มีความมั่นคงในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อ การดำรงชีวิตโดยปกติสุข และถูกเจ้าหน้าที่คุกคามดำเนินคดีตลอดมา
โดยปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิก คปท. ที่ถูกกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ ฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่ง ด้วยข้อหาทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม (คดีโลกร้อน) ตามมาตรา 97 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ.2535 จำนวนทั้งสิ้น 34 ราย ค่าเสียหายรวมกว่า 13 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมเกษตรกรอื่นๆ ทั่วประเทศที่ถูกดำเนินคดีแบบเดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 2,000 รายกว่า 2 ปี ที่ผ่านมา คปท.ได้ดำเนินการต่อสู้ และผลักดันเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องคดีโลกร้อน ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับนโยบายและสาธารณะ อาทิเช่น การดำเนินการศึกษาวิจัยโดยชุมชน ร่วมกับสถาบันวิชาการเพื่อไขข้อกล่าวหาเรื่องความสัมพันธ์ของวิถีเกษตรท้อง ถิ่นกับภาวะโลกร้อน การยื่นหนังสือถึงกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ เพื่อขอให้ยุติการใช้แบบจำลองฯ และฟ้องร้องชาวบ้าน การร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้มีการพิจารณาและตรวจสอบในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิ ชุมชน รวมถึงการผลักดันข้อเสนอไปยังรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนปรากฏเป็นนโยบายรัฐบาลในข้อ 5.4 ให้ “แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคน จน” ถึงกระนั้นผลสำเร็จจากการดำเนินการดังกล่าวยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมมากนัก
การฟ้องร้องศาลปกครองของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จึงเป็นการหาช่องทาง “หยุด” กฎหมาย ที่ทำร้ายเกษตรกรบนพื้นดินที่เขาก่อร่างสร้างตัวมาช้านาน และเดินหน้าอธิบาย กับสาธารณะว่า “เกษตรกร คือกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติมายาวนาน คือกลุ่มคนผู้สืบทอดวิถีเกษตรท้องถิ่น คนที่ทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว สังคม ไม่ใช่ต้นเหตุความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก แต่กำลังตกอยู่ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบ” นั้นเอง.
ไทยโพสต์ 5 ก.พ.55
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.