โดย : ประภาส ปิ่นตบแต่ง
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 มกราคม 2553
วันที่ 19 มกราคม 2553 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จำนวนราว 700 คน ซึ่งประกอบด้วย สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ สหกรณ์การเช่าที่นาคลองโยงและพิชัยภูเบนทร์ และเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้มาปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง
การ ชุมนุมครั้งนี้เป็นเพราะความเชื่องช้าในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งได้เคยมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552
ตลอดเวลาราว 10 เดือน 10 วัน แม้จะมีการเจรจาเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาหลายต่อหลายครั้ง แต่กลับไม่มีความคืบหน้า บางคณะอนุกรรมการ อาทิเช่น กรณีปัญหาที่ดินสหกรณ์การเช่าที่นาคลองโยงและพิชัยภูเบนทร์ มีข้อยุติอย่างชัดเจนแต่กลับไม่มีการดำเนินการต่อ เพราะคณะกรรมการอำนวยการไม่มีการประชุมมามากกว่า 6 เดือนแล้ว
อีก ด้านหนึ่ง ชาวบ้านในพื้นที่กลับถูกข่มขู่คุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนคลองไทรพัฒนา อ.ชัยบุรี เคยถูกคุกคามจากกรณีที่มีชายฉกรรจ์นำรถแทรกเตอร์เข้าไถดันบ้านเรือนชาวบ้าน เสียหาย เป็นจำนวนถึง 60 หลัง
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา สมพร พัฒนภูมิ สมาชิก ชุมชนบ้านคลองไทรพัฒนา ได้ถูกลอบยิงจากคนร้ายที่ลอบเข้ามายิงพร้อมชาวบ้านที่ตั้งวงนั่งคุยกัน จนกลายเป็นเหยื่อการสังหารชีวิตให้กับความเชื่องช้าในการแก้ไขปัญหาของ รัฐบาล
สมพร พัฒนภูมิ เป็น เกษตรกรไร้ที่ดินเช่นเดียวกับสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ซึ่งเคยเป็นครอบครัวเกษตรกร แต่ด้วยความไร้ที่ดินจึงไปยึดอาชีพเป็นช่างเคาะ-ปะผุ รถยนต์ ก่อนจะตัดสินใจเข้ามาร่วมกับ สกต.
ที่ดินซึ่ง สมพร พัฒนภูมิ และ สมาชิก สตก. เข้าไปบุกยึด เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนำมากระจายการถือครองในรูปแบบโฉนดชุมชน เป็นพื้นที่ซึ่งบริษัทธุรกิจการเกษตรจิวกังจุ้ย เข้าไปใช้พื้นที่ของ ส.ป.ก. ปลูกสวนปาล์มตั้งแต่ปี 2524 จำนวน 1,081 ไร่
สำนักงานเขตปฏิรูปที่ดินได้ดำเนินการฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจำนวนราว 210 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ศาล ได้มีคำพิพากษาให้ ส.ป.ก. ชนะคดี โดยวินิจฉัยว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. และสั่งให้บริษัทและบริวารออกจากที่ดินแปลงนี้ แต่ได้มีการยื่นอุทธรณ์ขอทุเลาบังคับคดี โดยขออยู่เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 สมพร พัฒนภูมิ และชาวบ้านอีกประมาณ 120 ครอบ ครัว จึงได้ขอเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ตั้งเป็นชุมชน เพื่อติดตาม ตรวจสอบผลักดันให้เจ้าหน้าที่รัฐเร่งนำผืนดินแปลงนี้ กลับมาดำเนินการตามนโยบายการปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
สมพร พัฒนภูมิ ได้ประกาศกับพี่น้องที่ร่วมกันเข้าไปบุกยึดที่ดินแปลงนี้ ว่า "จะขอสู้ตายที่นี่" ซึ่งเขาได้ใช้ชีวิตตลอดเวลา 14 เดือน ในที่ดิน 1 ไร่ ที่ได้ขุดบ่อเลี้ยงปลา และปลูกกระท่อมน้อยไว้ 1 หลัง ด้วยความหวังว่า จะได้ครอบครองที่ดินแห่งนี้อย่างมั่นคง ตามแนวนโยบายโฉนดชุมชน
การ เข้าบุกเข้าไปถือครองที่ดินสวนปาล์มของชาวบ้านดังกล่าว จึงเป็นไปเพื่อให้รัฐได้เร่งดำเนินการปฏิบัติตามนโยบายการกระจายการถือครอง ที่ดิน นำเอาที่ดินที่รัฐเคยส่งเสริมให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่เข้าไปใช้ประโยชน์ ที่ดินป่าสงวน โซน E ในรูปแบบการเช่าเพื่อทำสวนป่าเศรษฐกิจ ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้กำหนดพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเอาไว้ ร้อยละ 15 บริษัทธุรกิจปลูกไม้โตเร็วได้แห่กันขอสัมปทานจากรัฐ ซึ่งคิดค่าเช่าเพียงไร่ละ 10 บาท โดยมีสัญญาเช่าได้ถึง 30 ปี ดังเช่นท่านรัฐมนตรีป่าลั่นได้อนุมัติให้สวนป่าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ซึ่งมักจะมีการอนุมัติกันแปลงละ 1,999 ไร่ เพราะ พ.ร.บ.ป่าสงวน มาตรา 20 ระบุเอาไว้ว่า หากเกินกว่านี้ต้องเข้า ครม.
การ ใช้พื้นที่ป่าโดยเอกชนด้วยการเช่าสัมปทานปลูกสวนป่า ซึ่งควรจะเรียกว่าไร่ต้นไม้ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งชาวบ้านเรื่อยมา เพราะพื้นที่เหล่านี้มักมีชาวบ้านอยู่มาก่อน แต่ผิดกฎหมายเหมือนท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
บริษัท สวนป่าไม้โตยังมักขยายพื้นที่ป่าออกไปมากกว่าพื้นที่สัมปทานจริงๆ แต่ชาวบ้านมักถูกผลักดันออกไปด้วยการใช้อิทธิพล ข่มขู่ และ/หรือบังคับซื้อในราคาถูก ซึ่งพื้นที่เช่นนี้มีอยู่มากมายในเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน
เมื่อ อายุสัมปทานได้หมดลง หรือพื้นที่ใดที่พบว่ามีการบุกรุกใช้พื้นที่เกินกว่าที่บริษัทเหล่านี้ได้ เช่า ชาวบ้านที่เคยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ รวมทั้งชาวบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินที่ตื่นตัว จึงมองเห็นว่า ควรเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พวกเขาควรจะได้ถือครอง และใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกิน
แต่ สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ มักจะมีการอนุมัติให้บริษัทเอกชนเช่าปลูกป่าด้วยการต่อสัมปทาน กรณีที่มีการทำผิดต่อกฎหมายก็ไม่มีการดำเนินการ ปล่อยให้นายทุนใช้ประโยชน์โดยไม่มีการดำเนินขับไล่
ที่ สำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รัฐกลับช่วยบริษัทรักษาผลประโยชน์ โดยนำกำลังเข้าไปกดดันชาวบ้านให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งจะต้องนำมาปฏิรูปที่ดินดังเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 40 คันรถปิกอัพเข้าไปค้นอาวุธชาวบ้าน และหลังจากนั้น ก็มีกลุ่มชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธ เข้าไปทำลายบ้านเรือนของชาวบ้านราว 60 หลัง
ปัญหา ที่ดินของรัฐเหล่านี้ ต้องมีการสะสางและเปลี่ยนวิธีคิดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยการให้สัมปทานแก่บริษัทไม้โตเร็ว รวมทั้งที่ดินในเขตป่าซึ่งคนรวยได้เข้าไปครอบครองด้วยวิธีที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย มาสู่การจัดการตามนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกร คนยากจน
การตายของ สมพร พัฒนภูมิ เป็น บทเรียน ว่า ชาวบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินได้ต่อสู้เพื่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ใน การครอบครองและใช้ประโยชน์บนผืนดิน แต่สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายปฏิบัติต่อเขา ด้วยความแตกต่างไปจากคนอีกพวกหนึ่งที่เข้าไปละเมิดครอบครองป่าสงวนเหลือเกิน
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.