โดย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
บทนำ
สืบ เนื่องจากปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดิน กรณีสวนป่าคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างชาวบ้านกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ที่ยืดเยื้อมานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา นั้น
กรณี ดังกล่าว ออป. ได้ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แล้วดำเนินการปลูกสร้างสวนป่ายูคาลิปตัส ตามเงื่อนไขการสัมปทานทำไม้ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม เนื้อที่ทั้งสิ้น 4,401 ไร่ ทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย จำนวนกว่า 277 ราย
จาก การตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานระดับพื้นที่ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 พบ ว่า สวนป่าคอนสารได้ปลูกสร้างทับที่ดินทำกินของราษฎรจริง และมีมติให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และนำพื้นที่มาจัดสรรให้กับราษฎรที่เดือดร้อน และในวันที่ 28 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีรายงานผลการละเมิดสิทธิออกมาว่า การกระทำของกรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ในการปลูกสร้างสวนป่าคอนสาร ทำให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน ไม่มีที่ดินทำกิน ทั้งที่ผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์มาก่อนสวนป่าคอนสาร ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินของผู้ร้อง ขณะที่การแก้ไขปัญหาที่ล่าช้าของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง คณะอนุกรรมการฯจึงได้กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
1. ให้รัฐบาลมีคำสั่งยกเลิกสวนป่าคอนสาร ตามมติคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสวนป่าคอนสาร เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ร้อง โดยสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกับหน่วยงานของรัฐ จัดทำแผนการจัดการและใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งการจัดเป็นป่าชุมชน ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ยกเลิกสวนป่าคอนสาร
นอก จากนี้ วันที่ 29 ธันวาคม 2551 ที่ประชุมประชาคมตำบลทุ่งพระ โดยนายวิชัย พลอยปัทมวิชิต กำนันตำบลทุ่งพระเป็นประธานการประชุม มีการพิจารณากรณีปัญหาสวนป่าคอนสาร ซึ่งผลการประชุมประชาคมตำบลทุกหมู่บ้านมีมติให้ยกเลิกสวนป่าคอนสาร และให้ดำเนินการจัดสรรที่ดินให้กับราษฎรผู้เดือดร้อน พร้อมกันนี้ ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ ให้ราษฎรผู้เดือดร้อนสามารถเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ได้ จำนวนเนื้อที่ 1,500 ไร่
อย่าง ไรก็ตาม ถึงแม้จะมีมติของหน่วยงานต่างๆดังกล่าวข้างต้น สวนป่าคอนสารยังไม่มีการยกเลิกตามมติที่กล่าวมา อีกทั้งเจ้าหน้าที่ออป.ยังคงดำเนินกิจกรรมในพื้นที่เช่นปกติ กระทั่ง วันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ชาวบ้านผู้เดือดร้อนจึงเข้าปักหลักในบริเวณพื้นที่พิพาท และถูกออป. ฟ้องขับไล่ในเวลาต่อมา
ใน การนี้ เพื่อให้เห็นอีกด้านหนึ่งของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่พิพาทสวนป่าคอนสาร จึงขอนำเสนอกรณีการสร้างวัดศูนย์ธรรมรัศมี ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินการของออป.ต่อชาวบ้านในพื้นที่อย่างไม่เป็น ธรรม กระทั่งเกิดการเดินเท้าทางไกลจากคอนสาร ถึงกรุงเทพฯ อยู่ในขณะนี้
ธรรมรัศมี : ที่มาอันคลุมเครือ
ศูนย์ธรรมรัศมีก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2541 ภายหลังการเรียกร้องต่อสู้ของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสวนป่าคอนสาร ในช่วงปี พ.ศ. 2539 –2540 โดยชาวบ้านเรียกร้องให้มีการยกเลิกสวนป่าคอนสาร แล้วนำที่ดินมาจัดสรรให้กับราษฎรผู้เดือดร้อน
ในเดือนตุลาคม 2539 นายณรงค์ สุกกรี ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้มีหนังสือมายังผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ว่าปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างออป.กับราษฎรเป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งไม่อาจแก้ไขโดยการยกที่ดินให้กับราษฎรได้ แต่คณะกรรมการออป. เห็นชอบให้ออป. ใช้แนวทางในโครงการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการพัฒนาชนบท โดยมีหลักการคือ
ต่อ มา วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2540 นาย เชาวนเลิศ ไทยานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ มีหนังสือถึงนายอำเภอคอนสาร เรื่องการพิจารณาแก้ขปัญหาราฎรเรียกร้องขอที่ดินปลูกป่าคืนจาก ออป. ตามที่อำเภอคอนสารหารือจังหวัดว่า หากอำเภอแต่งตั้งคณะทำงานระดับพื้นที่เพื่อทำการสำรวจจัดแบ่งพื้นที่ที่ดิน ตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับราษฎรแล้ว จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และขอให้จังหวัดแจ้งผลการพิจารณาให้อำเภอทราบภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2540 นั้น
ปัญหา ดังกล่าว ออป.ได้มีหนังสือแจ้งให้จังหวัดทราบตามที่คณะกรรมการ ออป. ได้ให้ความเห็นชอบ ใช้แนวทางโครงการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการพัฒนาชนบท ดังนั้น การที่อำเภอจะแต่งตั้งคณะทำงาน เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ เพื่อจัดทำข้อมูลแผนผังการแบ่งพื้นที่ตามจำนวนราษฎรที่ต้องการที่ดินทำกิน รายละ 5 ไร่ไปก่อนนั้น จังหวัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามแนวทางที่ออป.ได้แจ้งให้ทราบข้างต้น จึงให้อำเภอดำเนินการให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้จังหวัดเพื่อรายงาน ออป.พิจารณาจัดแบ่งพื้นที่ให้ราษฎรทำกินต่อไป
ต่อ มา นายโกมล รื่นจิตร ประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลทุ่งพระ ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายคือ การขอใช้พื้นที่สวนป่าสร้างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต
ศูนย์ ปฏิบัติธรรม การจัดสรรที่ดินให้กับครอบครัวที่ไม่มีที่ดินรายละ 1 ไร่ การจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์ตลาดพานิชย์ของเกษตรกรในท้องถิ่น
นับ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ผู้รับผิดชอบโครงการ เช่น นายโกมล รื่นจิตร และนายประเทือง บังประไพ ก็ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม แผนการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชนที่เดือดร้อนจากการปลูกสร้างสวนป่าของ ออป. กลับไม่มีการดำเนินการกระทั่งปัจจุบัน
สถานภาพธรรมรัศมีในปัจจุบัน
สถานภาพของศูนย์ธรรมรัศมีในปัจจุบัน สามารถพิจารณาได้ในหลายมิติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการที่ดินสวนป่าของออป. และผลประโยชน์ของคนในชุมชน ท้องถิ่น โดยในด้านกายภาพ ศูนย์ธรรมรัศมีในปัจจุบันได้ยกระดับเป็น “วัดธรรมรัศมี” มีพระสงฆ์และชีจากต่างจังหวัดเข้ามาอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างศาลาวัด ซึ่งเป็นถาวรวัตถุขนาดใหญ่ พร้อมกับกุฏิ และบ้านพักรับรอง จำนวนประมาณ 15 หลัง มีเนื้อที่ประมาณ 240 ไร่ สภาพโดยทั่วไปในบริเวณวัดจะเป็นไม้ธรรมชาติ จำพวกประดู่ แดง ตะแบก ผสมกับต้นยูคาลิปตัสที่ออป.ปลูกสร้างในแปลงปลูกปี พ.ศ. 2523
ด้าน สถานภาพในทางกฎหมายนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ที่มีการก่อสร้างวัดธรรมรัศมี ยังไม่พบว่ามีการตกลงหรืออนุญาตใช้พื้นที่ดังกล่าว กระทั่งในวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ได้มีคำขอเข้าร่วมโครงการการแก้ไขปัญหาที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ โดยพระอาจารย์อนรรม คุณวุฑโฒ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 6 ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ขอยื่นคำขอ เนื้อที่ 50 ไร่ โดยอาณาเขตแต่ละด้านกำหนดพิกัด GPS อย่างชัดเจน แต่จากการคำนวณพิกัดดังกล่าวพบว่ามีเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่ ในขณะที่ทำประโยชน์จริง กว่า 240 ไร่ ทั้งนี้ ยังไม่พบว่าได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้แต่อย่างใด
หาก นับเวลาย้อนหลังจากปีพ.ศ. 2552 กลับไปถึงช่วงปี พ.ศ. 2541 ที่วัดธรรมรัศมีเข้าใช้พื้นที่สวนป่าคอนสาร จะเห็นว่า กว่า 12 ปีผ่านมา เป็นการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างผิดเงื่อนไขทุกประการ พร้อมกับมีการทำลายต้นไม้ธรรมชาติ และสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีการก่อสร้างบ้านพักรับรองขนาดใหญ่จำนวนหลายหลัง พร้อมกับติดป้ายหน้าบ้าน เช่น บ้านศรชัย เป็นต้น บางหลังมีการก่อสร้างคล้ายอาคารพานิชย์ขนาด 2 ชั้น ทั้งนี้ หากนำมาพิจารณาเทียบเคียงกับระเบียบในการขอใช้ประโยชน์เพื่อก่อสร้างวัดหรือ ที่พักสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จะพบว่า สามารถขอใช้ประโยชน์ได้ไม่เกิน 15 ไร่ ระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 ปี รวมทั้ง ข้อตกลงในการทำไร่ในเขตสวนป่าของออป. ที่กำหนดเงื่อนไขไว้จำนวน 11 ข้อ เช่น ต้องปลูกพืชไร่ ต้องไม่ปลูกสิ่งก่อสร้างถาวร เป็นต้น แต่สิ่งที่ธรรมรัศมีดำเนินการตลอดช่วงที่ผ่านมา กลับเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม และไม่มีใครสามารถทำอะไรได้ นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงพิจารณาถึงสภาพการีมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่น จะพบว่า ชาวบ้านในละแวกตำบลทุ่งพระ มีส่วนในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถานที่แห่งนี้น้อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างจังหวัดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อ ประกอบกิจกรรมต่างๆ
สรุป
กล่าว โดยสรุป ปรากฏการณ์ และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีวัดธรรมรัศมี หากนำมาเทียบเคียงกับปัญหาพิพาทที่ดินระหว่าง ออป. กับชาวบ้านผู้เดือดร้อนในกรณีสวนป่าคอนสาร ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่
มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ กระบวนการแก้ไขปัญหากรณีนี้ มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงครบถ้วนสมบูรณ์แล้วว่า ออป.ปลูกสร้างสวนป่าทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎรจริง ให้ยกเลิกสวนป่า แล้วนำที่ดินมาจัดสรรแก่ราษฎรผู้เดือดร้อนต่อไป แต่จนถึงขณะนี้ ออป.ยังไม่ดำเนินการใดๆทั้งสิ้น มิหนำซ้ำ ยังฟ้องขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ภายหลังการเข้าพื้นที่ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ในขณะที่วัดธรรมรัศมีกลับไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งๆที่บริเวณวัดทั้งหมด ก็คือที่ดินทำกินเดิมของชาวบ้านมาก่อน และการใช้ประโยชน์ผิดเงื่อนไขทุกประการ
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.