ตลอดระยะเวลา10ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้กระจายการถือครองที่ดินเพื่อแก้ปัญหาการกระจุกตัวที่ดินได้มีมาโดยตลอด เนื่องจากกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 และพ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่พ.ศ.2508ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นล้าสมัย ไม่สอดรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศก.)กระทรวงการคลังได้ออกมาให้ข้อว่า โครงสร้างรายรับของรัฐบาลมาจาก 1)ฐานรายได้ภาษีเงินได้บุคคลและนิติบุคคล 2)ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 3)ฐานภาษีทรัพย์สิน โดยสัดส่วนรายได้จากฐานภาษีทรัพย์สินมีเพียง1%
แม้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยต้องการให้มีระบบภาษีที่ดินที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่เรื่องนี้ได้คาราคาซังมาหลายรัฐบาลจนล่าสุดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่ประชุมครม.มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ...ที่เสนอโดยกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและพ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีได้มีประสิทธิภาพรวมทั้งมีรายได้เพียงพอมาใช้ในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ของตนเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี กระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพผลักดันให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สิน
และทันทีที่ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของครม.มีการตั้งข้อสังเกตและมุมมองจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ข้าราชการ มองว่าผู้เสียภาษีได้ประโยชน์จากการได้รับบริการและการที่กฎหมายให้การยกเว้นที่ดินเพื่อการเกษตรและบ้านหลังแรกที่มีมูลค่าเกิน50 ล้านบาท อาจทำให้เจ้าของที่ดินนำที่ดินออกมาขาย ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีโอกาสเลือกมากขึ้น ส่งผลที่ดินชะลอการขึ้นราคา ผลของกฎหมายฉบับนี้ยังทำให้เจ้าของที่ดินวางเปล่าต้องคิดแล้วว่าจะทำประโยชน์อะไรบนที่ดินของตน
ในขณะที่มุมมองของภาคประชาชนและนักวิชาการที่ได้ร่วมขับเคลื่อนเรื่องภาษีที่ดินจัดเวทีสัมมนา “จับตา ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างVS ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าฉบับประชาชน”เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 ได้มีคำถามสำคัญจากเวทีใน3 ประเด็น 1)จะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่นจริงหรือ? เพราะในระดับท้องถิ่นแต่ล่ะที่ จะมีจำนวนคนกี่มากน้อยที่มีที่ดินและที่บ้านมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท เพราะทั้งประเทศมีบ้านที่มูลค่าเกิน50 ล้านประมาณ 80,000 กว่าหลัง 2)จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินจริงหรือ?เนื่องจากอัตราการจัดเก็บภาษีค่อนข้างต่ำในขณะที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ7%3)จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินได้หรือ?เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เก็บจากผู้ที่มีดินและสิ่งปลกสร้างที่มูลค่ามากกว่า 50 ล้านถือว่ามีการลดหย่อนค่อนข้างเยอะทำให้ฐานการเก็บภาษีค่อนข้างแคบแม้ว่าความจริงควรดูแลเฉพาะคนที่ไม่สามารถชำระภาษีได้จริงๆ
อย่างไรก็ตามมุมมองที่เหมือนกันคือผลพลอยได้หากร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ประกาศใช้เช่น มีฐานข้อมูลการถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในแต่ละตำบล อำเภอ จังหวัดเนื่องจากการจะเก็บภาษีที่ดินฯได้ต้องประเมินที่ดินและทรัพย์สินรายแปลง และทำให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะใช้ฐานการประเมินที่ดินใหม่ที่ได้จัดทำขึ้นทุก 4 ปีนอกจากนี้ยังครอบคลุมกับที่ดินทุกประเภททั้งที่อยู่อาศัย ที่ดินเกษตรกรรม พาณิชย์กรรม อุตสาหกรรมที่ดินทิ้งร้างจึงสามารถตั้งเป้าได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำงบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้น
ซึ่งหากนำสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 และพ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่พ.ศ.2508สามารถเห็นถึงประสิทธิภาพความแตกต่างในด้านฐานภาษี อัตราการจัดเก็บและการยกเว้นต่างๆของกฎหมายทั้ง3ฉบับตามตารางด้านล่างนี้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน |
ภาษีบำรุงท้องที่ |
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง |
|
ฐานภาษี |
เน้นจัดเก็บจากทรัพย์สินที่เป็นค่าเช่ารายปี |
เก็บจากมูลค่าที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างใช้ฐานราคาประเมินของที่ดินปี2521-2524 |
เก็บจากเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องชุด ตามราคาประเมินกรมธนารักษ์ (ปรับปรุงทุก 4 ปี) |
อัตราภาษี |
จัดเก็บอัตราสูง12.5%ของรายได้ค่าเช่า |
|
จำแนกตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน
|
การยกเว้นภาษี |
โรงเรือนที่อยู่อาศัยเองและโรงเรือนที่ปล่อยว่าง |
ลดหย่อนตามเขตพื้นที่เช่น
|
|
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ออกมาให้ข้อมูลว่า รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองในปี 2558 เป็นรายได้จากภาษีโรงเรือนและที่ดินมากที่สุด 2.5 หมื่นล้านบาทและจากภาษีบำรุงท้องที่ 1,000 ล้านบาท ซึ่งทางกระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า ถ้าหากร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯมีผลบังคับใช้ในปี 2560 จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีในปีแรกเพิ่มขึ้น 38,318 ล้านบาท
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีเป้าหมาย สร้างรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่หากมีการยกเว้นมาก รายได้ที่เข้ามาก็มีน้อยลง จึงไม่สามารถนำไปพัฒนาท้องถิ่นเพื่อตอบสนองผู้เสียภาษี และเพื่อให้ พ.ร.บฉบับนี้คุ้มค่ากับเวลาที่ทุกคนรอคอยก็ควรมีการปรับแก้ฐานภาษีในการจัดเก็บให้ต่ำลงกว่า 50 ล้านบาทเพื่อสร้างความเหลื่อมล้ำในการถือครองได้จริง
พิมพ์ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ วันที่ 8 กรกฎาคม 2559
มูลนิธิชีวิตไท (Local Act)
129/250 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส รัตนาธิเบศร์ ถนนไทรม้า ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-048-5465 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.