
ข้อเสนอโฉนดชุมชนโดยย่อ
ข้อเสนอภาพรวมโดยสรุปโฉนดชุมชน ภาษีที่ดินก้าวหน้า กองทุนธนาคารที่ดิน
ข้อเสนอด้านโฉนดชุมชน
1.ความหมายของโฉนดชุมชน
“โฉนดชุมชน” เป็นรูปแบบการบริหารจัดการของการใช้สิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งเป็นสิทธิรวมหมู่ของชุมชนในการจัดการการครอบครองที่ดินและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินเพื่อสร้างความมั่นคงในการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชน และเป็นการรักษาพื้นที่เกษตรในการผลิตพืชอาหารในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยการเลือกรูปแบบการผลิตที่สอดคล้องกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและระบบภูมินิเวศ รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล
2.ขั้นตอนดำเนินการโฉนดชุมชน
การดำเนินการโฉนดชุมชนให้เริ่มทันทีในพื้นที่ของชุมชนที่มีความพร้อม ดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่องให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วจึงขยายผล โดยใช้มาตรการทางนโยบาย ด้วยการมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริการ จัดการโฉนดชุมชนขึ้นมา ประกาศใช้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน และเมื่อมีข้อมูล การเรียนรู้จากโครงการนำร่องระยะหนึ่ง จึงพัฒนาเป็นกฎหมายโฉนดชุมชนต่อไป
3.การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อทำโฉนดชุมชน
เนื่อง จากที่ดินแต่ละประเภทที่ชุมชนครอบครองอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายและหน่วย งานของรัฐที่แตกต่างกันกระบวนการได้มาซึ่งที่ดินย่อมมีความแตกต่างกันด้วย เช่น ที่ดินในเขตป่า ที่ดินในเขตที่สาธารณะ ที่ดินในเขตที่ราชพัสดุ ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินเอกชนทิ้งร้าง และ ที่ดินในเขตสวนป่า ควรมีการกันเขตพื้นที่เหล่านี้มาให้ชุมชนนำร่องดำเนินการจัดการด้วยชุมชนเอง ที่ดินเอกชนควรให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำเงินจากกองทุนปฏิรูป ที่ดินมาจัดซื้อ และนำมาดำเนินการร่วมกับชุมชน ซึ่งจะต้องดำเนินการเสนอทางเลือกในการได้มาซึ่งที่ดินโดยชัดเจน
ข้อเสนอด้านภาษีที่ดิน
- รัฐบาลควรดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ..... มาตรา 8 ให้ บัญญัติเพิ่มเติมโดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งรายได้จากการจัด เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืนเข้าคลังอย่างน้อยร้อยละ 2 เพื่อเป็นกองทุนสำหรับจัดตั้งและบริหารจัดการของธนาคารที่ดิน
- การ จัดเก็บภาษีที่ดิน ควรจัดเก็บภาษีกับที่ดินที่ผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ทำประโยชน์ ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานานในอัตราภาษีที่สูงกว่าอัตราภาษีที่ดินที่ มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
- ควร มีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ที่มีที่ดินถือครองในมูลค่าน้อยหรือเกษตรกรที่ยาก จน เพื่อไม่ให้ภาระภาษีตกแก่กลุ่มคนที่มีฐานะยากจนและต้องอาศัยที่ดินเป็น ปัจจัยการผลิตเพื่อดำรงชีพ
- เพื่อ ให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างแท้จริง ควรมีการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน เพื่อเป็นแรงกดดันไม่ให้เกิดการถือครองที่ดินในจำนวนมาก คือยิ่งถือครองเป็นจำนวนมากก็ต้องยิ่งมีภาระเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ควรมีการศึกษาว่าขนาดการถือครองที่ดินที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ใน แต่ละประเภทควรจะเป็นเท่าไร และควรมีการยกร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินก้าวหน้า แยกออกมาชัดเจนจาก ร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ข้อเสนอด้านกองทุนธนาคารที่ดิน
รัฐบาล จึงควรเร่งให้มีการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินขึ้น โดยให้เป็นองค์กรอิสระ บริหารงานในรูปแบบองค์กรมหาชนและไม่แสวงหากำไร เพื่อเป็นเป็นกลไกพิเศษที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงที่ดิน ที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อยรวมทั้งที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ของคนจนและชนชั้นกลางระดับล่าง
- ให้ ธนาคารที่ดินที่มีอำนาจหน้าที่ในการประกาศให้ที่ดินทำกินที่ได้มีการจัดหา ผ่านกลไกของกองทุนธนาคารที่ดิน เป็นพื้นที่คุ้มครองเพื่อเกษตรกรรม รวมถึงการสนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับ นิเวศวิทยา ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
- เกษตรกร รายย่อย คนจนและชนชั้นกลางระดับล่างที่จะขอรับการสนับสนุนในการจัดหาที่ดินจากกองทุน ธนาคารที่ดินจะต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ดินร่วมกันใน ลักษณะของกรรมสิทธิ์ร่วมหรือโฉนดชุมชน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลุดมือของที่ดินจากเกษตรกรรายย่อยและคนจน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในการถือครองที่ดิน
- ในระยะเริ่มต้นให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน โดยการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนำเงินกองทุนต่างๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและอยู่ภาย ใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นทุนตั้งต้นและดำเนินการให้เกิดโครงการนำร่องเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ดินใน พื้นที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.)
- ใน ระยะยาวให้รัฐบาลผลักดันให้มีพระราชบัญญัติกองทุนธนาคารที่ดิน เพื่อยกระดับกองทุนธนาคารที่ดินให้เป็นองค์กรมหาชน ที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นอิสระ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และยั่งยืน
เขียนโดย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย 20 เมษายน 2010