เครือข่ายปฏิรูปที่ดินโวยรบ.บริหารนโยบายล้มเหลว-สร้างความขัดแย้ง

Created
วันอังคาร, 28 สิงหาคม 2555
Created by
มติชน
Categories
ที่ดิน
 

lrn

วันที่ 27 ส.ค. ในการเสวนา "1 ปี รัฐบาลกับการแก้ไขปัญหาที่ดินและโครงสร้างภาคเกษตร คืบหน้าหรือถอยหลัง"

 

นอกจากนี้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ยังมองอีกว่า โฉนดชุมชนไม่มีการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลควรสนใจเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น อีกทั้งปัญหาการถูกคุกคาม การทำลายทรัพย์สินทางการเกษตร เช่น ต้นยางพาราของประชาชน เนื่องจากคนที่มีอิทธิพลเข้ามาข่มขู่ ทั้งนี้ หากรัฐบาลไม่สนใจ หรือไม่ติดตามการงบอนุมัติงบให้กรมอุทยานในการปราบปราม (นายทุน) ที่บุกรุกป่า ก็เปรียบเสมือนเป็นความขัดแย้ง เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเหมารวมชาวบ้านว่าบุกรุกที่ดินบนเทือกเขาบรรทัดไปด้วย ทั้งที่เป็นพื้นที่ทำกินดั้งเดิม และบอกว่าไม่สามารถออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ ทั้งที่มีนโยบายโฉนดชุมชน

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยตั้งคำถามว่า เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจะแก้ปัญหาได้อย่างไร โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานที่เข้าไปดูแลพื้นที่ ที่เข้ามาโค่นต้นยางของประชาชนในพื้นที่จ.พัทลุง และลามมายังพื้นที่จ.ตรัง มีมากกว่า 5 พันคน ทำให้ชาวบ้านไม่เป็นอันทำมาหากิน เพราะต้องคอยเฝ้าพื้นที่ ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่รัฐ โดยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับปากว่าจะนำเรื่องเข้าครม. และยังไม่เห็นความคืบหน้า และก่อนหน้านี้เคยไม่ขอความช่วยเหลือจากทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จนไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ในทางกลับกันมองว่า นโยบายแก้ปัญหาที่ดินทำกินของรัฐบาลกลับสร้างความแตกแยกมากกว่า จนสุดท้ายชาวบ้านต้องต่อสู้เอง ต้องทำหลุมพลางเป็นกับดัก หรือต้องใช้กำลังในการต่อสู้

น.ส.กิมอัง พงษ์นารายณ์ ผู้ประสานงานสภาเครือข่ายองค์การเกษตรกรแห่งประเทศไทย มองว่า

นโยบายของรัฐบาลที่แถลง ไม่ได้แก้ปัญหาอยู่แล้ว แต่ปัญหาหนักขึ้นเรื่อยๆ ชาวนามีที่ดินทำกินก็จริง แต่วันนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้เป็นหนี้มากขึ้น ทุกวันนี้ปัญหาลามมาถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งอาชีพเกษตรกรทุกวันนี้ไม่ใช่อาชีพทางเลือกอีกแล้ว เพราะทำนาแล้วเป็นหนี้

ขณะที่นโยบายจำนำข้าวได้ราคาสูงก็จริง เมื่อเทียบกับรายจ่ายที่สูงขึ้น ของแพง จึงเท่ากับว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันในการทำการเกษตร หรือต้นทุนอื่นสูงตามมา ทั้งนี้ การให้ความหวังประชาชนด้วยโครงการจำนำข้าว แต่ไม่แก้ปัญหาพื้นฐานจริงๆ แม้แต่บัตรเครดิตเกษตรกร ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ ซึ่งรัฐบาลควรแก้ปัญหาที่เป็นวิกฤติก่อน

มติชนออนไลน์ วันที่ 27 ส.ค. 55